เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มีอะไรในน้ำหมักชีวภาพ สูตรอาหารสุกรผสมเอง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเคยใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นให้กับต้นไม้ที่ปลูกไว้ในสวน ต่อมาพบว่ามีการแตกใบอ่อนขึ้นจำนวนมาก จึงขอเรียนถามว่าในน้ำหมักชีวภาพมีอะไรที่สามารถกระตุ้นให้แตกใบอ่อนได้และมีการบอกเล่าว่า ในน้ำหมักชีวภาพใช้รักษาโรคพืชได้จริงหรือไม่ ขอเรียนถามเท่านี้ก่อน ขอขอบคุณ
วิธีแก้ไข :
 
    จากผลการวิเคราะห์ น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 11 ตัวอย่าง โดยวิธีหมักเศษพืชผัก 3 ส่วน และกากน้ำตาล 1 ส่วน เป็นเวลา 3-6 เดือน พบว่า มีความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 3.3-4.0 มีธาตุอาหารพืชสำคัญ ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ในปริมาณ 0.05-1.65, 0.01-0.59 และ 0.02-1.89 เปอร์เซ็นต์ ส่วนธาตุรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม และ กำมะถัน ปริมาณ 0.008-0.95, 0.001-0.23 และ 0.006-0.38 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก จนไม่เกิดประโยชน์กับพืช แต่จะพบ สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช หรือ ฮอร์โมน 3 กลุ่ม ได้แก่ คือ ออกซิน มีบทบาทในการควบคุมการขยายตัวของเซลล์ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เร่งการเกิดราก ส่งเสริมการออกดอก และการสุก แก่ จิบเบอเรลลิน มีบทบาทในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ในทางยาว ยืดช่อดอก และทำลายระยะพักตัวของเมล็ดและ ไซโทไคนิน ทำหน้าที่กระตุ้นการแตกตาด้านข้างให้พัฒนาเป็นกิ่งก้านและใบ ช่วยทำให้คลอโรฟิลล์มีสีเขียวอยู่ได้นาน สารไล่แมลง พบว่ามีอยู่ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแอลกอฮอล์ กลุ่มเบนซีนไดออน กลุ่มฟีนอล และ กลุ่มเอสเทอร์ ทั้ง 4 กลุ่ม ล้วนมีคุณสมบัติในการไล่แมลงทั้งสิ้น แม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม คุณสมบัติอีกประการหนึ่งคือ สามารถยับยั้งการเข้าทำลายจากโรครากเน่า โคนเน่าของทุเรียน ได้ในระดับหนึ่ง ข้อเสนอแนะการใช้น้ำหมักชีวภาพของนักวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร มีดังนี้ ไม่ควรใช้น้ำหมักอย่างเดียวทดแทนปุ๋ย เนื่องจากมีปริมาณธาตุอาหารต่ำมาก จึงควรใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกทางดิน สำหรับประโยชน์ของน้ำหมักจะช่วยส่งเสริมให้พืชผลสมบูรณ์ดีขึ้น น้ำหมักชีวภาพไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน และไม่ควรนำสมุนไพรหมักด้วยกากน้ำตาล แต่ควรหมักในน้ำสะอาดเพียงข้ามคืนแล้วนำมาใช้ประโยชน์ทันที และไม่ควรฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากอาจมีจุลินทรีย์บางชนิดเข้าทำลายผลไม้ขณะนำไปบ่ม มีผลต่อการเน่าเสียของผลไม้ดังกล่าว มักมีคำถามเสมอว่า การทำน้ำหมักชีวภาพนั้นจำเป็นต้องใส่จุลินทรีย์ทุกครั้งหรือไม่ ขอตอบว่าไม่จำเป็น เนื่องจากประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้นจึงทำให้มีจุลินทรีย์อยู่ในดิน น้ำ และอากาศ พอเพียงที่จะช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ จนเกิดเป็นปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพดังกล่าวได้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ท่าโรงช้าง
อำเภอ / เขต :
พุนพิน
จังหวัด :
สุราษฎร์ธานี
รหัสไปรษณีย์ :
84130
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 375
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM