เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปุ๋ยหมักทำได้ง่ายและมีประโยชน์
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเคยให้ความสำคัญกับปุ๋ยเคมีกับการบำรุงต้นไม้มาก่อน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ผมจึงหันกลับมาให้ความสนใจการทำปุ๋ยหมักใช้ในไร่นาด้วยตนเอง ขอเรียนถามว่าวิธีทำปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพนั้นจะต้องทำอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ปุ๋ยหมัก วัสดุเหลือใช้ที่นำมาทำปุ๋ยหมัก มีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเศษพืชผัก ผักตบชวา จอกแหน ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว กากปาล์ม กากอ้อย ฟางข้าว และมูลสัตว์ ทั้งนี้การจะใช้วัสดุใดๆ นั้นย่อมขึ้นอยู่กับแหล่งของวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นไม้อย่างช้าๆ ช่วยรักษาความชื้นในดินไว้นานขึ้น ทำให้ดินร่วนซุย ทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี และประการสำคัญปุ๋ยหมักยังเป็นแหล่งอาหารให้กับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินอีกด้วย ปัจจัยที่จะทำให้ปุ๋ยหมักได้คุณภาพ ควรมีการถ่ายเท อากาศ ภายในกองปุ๋ยได้ เพื่อลดอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินไป ความชื้น ต้องมีอย่างพอเหมาะ ช่วยให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ย่อยสลายเศษซากพืชได้ดีขึ้น อุณหภูมิ ที่พอเหมาะควรรักษาไว้ที่ระดับ 50-60 องศาเซลเซียส อุณหภูมิระดับนี้จะส่งเสริมให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดี ปุ๋ยหมักที่ดี ต้องได้จากวัสดุที่ดีและมีการหมักที่สมบูรณ์ มีส่วนประกอบของอินทรียวัตถุ 35-60 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก มีความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 5.5-8.5 มีธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ไม่น้อยกว่า 1-0.5-0.5 โดยน้ำหนักความชื้นมีไม่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ต้องมีส่วนผสมของ หิน กรวด ทราย และพลาสติค ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ และต้องไม่มีเศษแก้ว วัสดุแหลมคม โลหะหนัก และเชื้อโรคเจือปน วิธีทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย ขนาดกองปุ๋ยที่นิยมปฏิบัติกัน มีขนาดกว้าง ยาว และสูง 1, 2 และ 1 เมตร ตามลำดับ วัสดุที่ใช้อาจเป็นฟางข้าว หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ปรับพื้นให้เรียบ วางวัสดุที่เตรียมไว้ กองกับพื้นชั้นแรกสูง 25 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร และยาว 2 เมตร เกลี่ยวัสดุให้กระจายอย่างสม่ำเสมอ แล้วโรยทับหลังด้วยมูลสัตว์แห้งและสะอาดให้ทั่วจำนวน 1 ปี๊บ แล้วรดน้ำสะอาดพอชุ่ม แต่อย่าให้แฉะ ทำที่ระบายอากาศ โดยวางไม้ไผ่ 2 ลำ ในแนวยาวของกอง ห่างกัน 50 เซนติเมตร ความยาว 2.50 เมตร และวางตามแนวขวางอีก 3 ลำ ยาว 1.50 เมตร ทับลงลำไผ่ที่วางไว้ก่อน จากนั้นใส่วัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมักทับลงบนไม้ไผ่เพิ่มขึ้นอีก 25 เซนติเมตร พร้อมหว่านปุ๋ยคอกทับอีกชั้น และรดน้ำสะอาดตาม ทำเช่นเดียวกันจนกองปุ๋ยสูง 1 เมตร แล้วให้ปักไม้ไผ่ จากสันกองปุ๋ยอีก 6 อัน ตามแนวดิ่งและทับหลังด้วยดินเลนให้ทั่ว คลุมทับด้วยพลาสติคสีดำ ครบ 5 วัน ให้ถอดไม้ไผ่ออก เกิดช่องว่างจะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ จึงไม่จำเป็นต้องกลับกองปุ๋ย ใช้เวลา 35-60 วัน การย่อยสลายของกองปุ๋ยจะเกิดขึ้นค่อนข้างสมบูรณ์ จากนั้นเปิดผ้าพลาสติคออก คลุกเคล้าไล่ก๊าซมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกองปุ๋ย ก่อนนำไปใช้ประโยชน์ในไร่นาต่อไป ข้อสังเกต ที่บ่งบอกว่าปุ๋ยหมักสลายตัวดี ดังนั้น สีของปุ๋ยหมักมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักแตกต่างกับอากาศภายนอกเพียงเล็กน้อย เมื่อบีบเนื้อปุ๋ยด้วยมือจะยุ่ย ไม่หยาบกระด้าง กลิ่นปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นเฉพาะตัว ไม่เหม็น บูด หรือเหม็นเน่า การดูแลกองปุ๋ยหมัก ระหว่างการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ควรป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงหรือนกหนูเข้าไปขุดหรือคุ้ยเขี่ยกองปุ๋ย ระวังอย่าให้กองปุ๋ยมีอุณหภูมิสูงเกินไป เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ได้รับอันตราย หากกองปุ๋ยแห้งเกินไปให้โรยน้ำสะอาดเป็นครั้งคราว เพื่อช่วยให้การย่อยสลายของปุ๋ยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิธีใช้ปุ๋ยหมัก สำหรับนาข้าวหรือพืชไร่ ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 15-30 กิโลกรัม ต่อไร่ การใช้ปุ๋ยหมักกับไม้ยืนต้น อาจใช้รองก้นหลุมปลูก 1-2 ปุ้งกี๋ ต่อหลุม หรือใส่หลังปลูกด้วยวิธีเซาะร่องตื้นๆ เป็นวงกลม ล้อมทรงพุ่ม แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงร่องอัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัม ต่อไร่ จะมีผลทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
5
ตำบล / แขวง :
คลองม่วง
อำเภอ / เขต :
ปากช่อง
จังหวัด :
นครราชสีมา
รหัสไปรษณีย์ :
30130
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 18 ฉบับที่ 373
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM