เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีปลูกกล้วยไข่ให้ได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจจะปลูกกล้วยไข่ไว้บริโภค แต่ยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอ จึงขอรบกวนเรียนถามรายละเอียดจากคุณหมอเกษตรว่า ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง ส่วนแหล่งพันธุ์นั้นผมพอหาได้ และหวังว่าคงจะได้รับความรู้จากคุณหมอเกษตรจนสามารถนำไปปฏิบัติได้
วิธีแก้ไข :
 
    กล้วยไข่ เจริญเติบโตได้ในดินร่วนไปจนถึงดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก 40-50 เซนติเมตร ระบายน้ำได้ดี และมีระดับน้ำใต้ดินลึกเกิน 75 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดและด่างอยู่ระหว่าง 5.0-7.0 เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ต้องการปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 มิลลิเมตร ต่อปี เป็นแหล่งที่ลมพัดไม่แรงเกินไป เพราะทำให้ใบกล้วยฉีกขาด ประการสำคัญคือต้องมีแหล่งน้ำอย่างพอเพียงและต้องเป็นน้ำที่สะอาด ปัจจุบันแหล่งปลูกกล้วยไข่มีมากที่จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ สุโขทัย และตาก ลักษณะเด่นของกล้วยไข่ คือ ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง ใบสีเขียว ผลแก่จะโค้งเล็กน้อย ปลายผลทู่ การเตรียมดิน ทำด้วยวิธีไถดะและไถแปร ลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 15-30 วัน แล้วจึงย่อยดินให้ละเอียด เก็บวัชพืชออกจากแปลงจนหมด ขุดหลุมกว้างและลึก 50 เซนติเมตรเท่ากัน ใช้ระยะปลูก 2.50x2.50 เมตร หรือ 3.00x3.00 เมตร คลุกดินที่ขุดจากหลุมกับปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 1-2 ปุ้งกี๋ ต่อหนึ่งหลุม ให้เข้ากันดี รองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าว อัดพอแน่น ปริมาณครึ่งหนึ่งของหลุม เกลี่ยดินกลับลงหลุม นำหน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรู ขนาดยาว 30-50 เซนติเมตร วางลงกลางหลุมลึก 20-25 เซนติเมตร พร้อมกลบดินพอแน่นเป็นรูปหลังเต่า โดยวางด้านมีรอยแผลที่ถูกตัดแยกจากต้นแม่ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นกล้วยตกเครือไปในทิศทางเดียวกัน รดน้ำพอชุ่ม ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น 2 ครั้ง หลังปลูก 1 เดือน และ 3 เดือน โรยรอบต้นห่างออกมา 25 เซนติเมตร พร้อมรดน้ำตามทันที และใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-24 หรือ 14-14-21 อัตรา 2-3 ช้อนโต๊ะ หลังปลูก 5 และ 7 เดือน ด้วยวิธีเดียวกัน พร้อมรดน้ำตาม หากดินที่อุดมสมบูรณ์เพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี ช่วงปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ต้นฤดูฝน ระหว่างปลายเดือนเมษายนไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม การให้น้ำ ที่ทำได้ง่ายและประหยัดด้วยวิธีปล่อยน้ำให้ไหลไปตามร่องทางเดินจนดินชื้น จึงหยุดให้น้ำ ครบ 5 เดือน ตัดแต่งหน่อให้เหลือไว้ 2-3 ต้น ต่อกอ ระยะที่ต้นกล้วยกำลังเจริญเติบโต ตัดแต่งใบเหลือไว้เพียง 12 ใบ ระยะกล้วยเริ่มตกเครือจึงตัดแต่งให้เหลือเพียง 9 ใบ ต่อต้น พร้อมลอกกาบใบแห้งหรือเป็นโรคออกเผาทำลายทิ้ง ต้นกล้วยอายุ 8 เดือน จะเริ่มแทงปลีหรือดอก ระยะการบานของดอกจากดอกชุดแรก หรือหวีแรก จนถึงหวีสุดท้าย ใช้เวลาประมาณ 7 วัน เมื่อเห็นว่าได้หวีกล้วยอ่อนครบสมบูรณ์แล้ว ให้ตัดปลีออกจากเครือ หมั่นบำรุงต้นให้แข็งแรง อย่าให้มีวัชพืชเจริญเติบโตแย่งอาหารต้นกล้วย เมื่อเครือมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรค้ำยันป้องกันไม่ให้ต้นหักล้ม ให้ใช้ไม้ไผ่ทั้งลำ ค้ำลำต้น ส่วนใต้เครือต่ำลงมาเล็กน้อย ส่วนโคนปักลงดินยึดให้แน่น ทำมุมกับพื้นประมาณ 60 องศา หลังจากติดปลีออกแล้วจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 45 วัน แต่หากตกเครือในช่วงมีอากาศหนาวเย็น การเก็บเกี่ยวอาจยืดออกไปเป็น 50-55 วัน วิธีเก็บเกี่ยว ให้ใช้มีดคมและสะอาดตัดก้านเครือ มือซ้ายจับก้านเครือให้แน่น วางลงพื้นที่ปูพื้นด้วยผ้าพลาสติคหรือใบตองที่สะอาด เมื่อเก็บเกี่ยวได้ตามจำนวนที่ต้องการ ให้ขนย้ายไปยังโรงคัดแยก ล้างกล้วยทั้งเครือด้วยน้ำให้สะอาด ตัดแยกหวีออกจากเครือ ระวังอย่าให้ผลช้ำ ดึงกลีบดอกที่แห้งติดอยู่กับผลออกจนหมด แช่หวีกล้วยในสารละลายไทอะเบนดาโซล ความเข้มข้น 0.10 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันเชื้อรา นำขึ้นผึ่งลมจนแห้ง ก่อนบรรจุลงในกล่องกระดาษลูกฟูก ระวังอย่าวางซ้อนกันเกิน 2 ชั้น พร้อมส่งจำหน่ายหรือบริโภค โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของกล้วยไข่ ได้แก่ โรคผลจุด เกิดจากการเข้าทำลายจากเชื้อราชนิดหนึ่ง อาการเริ่มแรกมีแผลเป็นจุดขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดที่ผล ตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนถึงผลแก่ ต่อมาจึงขยายใหญ่ขึ้น เป็นแผลสะเก็ดนูนสีน้ำตาลแดง ทำให้มีตำหนิขายไม่ได้ราคา การระบาดจะรุนแรงมากในช่วงที่มีฝนตกชุก วิธีป้องกันกำจัด หลังจากตัดปลีออกแล้วให้ห่อผลด้วยถุงพลาสติคโพลีเอทิลีน ก่อนห่อผลควรพ่นสารเคมี คาร์เบนดาซิม 50 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพีอัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หนึ่งครั้ง จะช่วยลดการระบาดของโรคผลจุดลงได้ แมลงศัตรูที่อันตราย ได้แก่ ด้วงงวงกล้วย ระยะของแมลงที่ทำลายกล้วยได้รุนแรงอยู่ในระยะเป็นตัวหนอน หลังจากฟักออกเป็นตัวจะเข้ากัดกินโคนต้นระดับผิวดิน การทำลายที่รุนแรงสามารถทำให้ต้นกล้วยแห้งตายในที่สุด หากระบาดไม่รุนแรงจะมีผลทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ ผลผลิตไม่ได้คุณภาพตามไปด้วย การระบาดเกิดได้ในทุกฤดูกาล วิธีป้องกันกำจัด เริ่มจากการคัดเลือกหน่อพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของงวงมาก่อน หมั่นรักษาแปลงปลูกกล้วยให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ให้มีแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์ของแมลง ควรปลูกพืชหมุนเวียนในแปลงทุกๆ 3 ปี เว้น 1 ปี เป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลงศัตรูดังกล่าว หากพบว่ามีการระบาดให้ดักจับตัวเต็มวัยไปทำลายด้วยวิธีตัดต้นกล้วยให้เป็นท่อนยาวท่อนละ 30 เซนติเมตร ผ่าครึ่งตามความยาวกองสุมกันไว้ในสวนกล้วย ห่างกันทุกๆ 10 เมตร อีก 1-2 วัน จึงนำไปฝังหรือเผาทำลายแมลงศัตรูดังกล่าว จะช่วยลดการระบาดลง ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ในบริเวณเกษตรกลางบางเขน ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
8
ตำบล / แขวง :
แก่งเสี้ยน
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
กาญจนบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 18 ฉบับที่ 372
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM