เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ยางชำถุงกับยางตาสอยต่างกันอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีข้อสงสัยว่า ยางชำถุงกับยางตาสอยนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร และหากนำตายางจากต้นที่ให้น้ำยางมาติดตาแล้วจะให้น้ำยางแตกต่างกันหรือไม่ ขอเรียนถามเพียงเท่านี้ก่อนครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ต้นยางชำถุง หมายถึงกล้ายางพารา ที่ได้จากการเพาะต้นกล้าด้วยเมล็ดลงในถุงเพาะชำ หรือเพาะในแปลงเพาะกล้าก็ได้ แต่วิธีเพาะในแปลงกลับเป็นที่นิยมปฏิบัติกันมากกว่า เพราะว่าเนื่องจากอัตราการงอกของเมล็ดยางสูงสุดเพียง 70 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น หากเพาะในถุงดำ จะต้องเสียเวลาซ่อมใหม่อีก 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นอย่างน้อย ส่วนตายางพันธุ์ดีจะได้จากแปลงต้นตอตายางพันธุ์ดี ที่พบเห็นได้ตามศูนย์วิจัยยาง ของกรมวิชาการเกษตรทุกแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ของประเทศ สังเกตได้จากแปลงที่มีต้นตอขนาดใหญ่ที่ถูกตัดให้ต่ำเหลือความสูงเพียง 70 เซนติเมตร และบังคับให้แตกกิ่งที่เป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่เสมอ และต้นตอจะทาด้วยปูนขาวเพื่อป้องกันการถูกเผาไหม้จากแสงแดด หากมิเช่นนั้นแล้วจะทำให้ผิวเปลือกแตกเป็นแผล โรคและแมลงศัตรูสามารถเข้าทำอันตรายได้ง่าย ในหนึ่งกิ่งหนุ่มสาวจากแปลงต้นยางพันธุ์ดีมีตาอย่างน้อย 4-5 ตา เลือกตาที่สมบูรณ์ไปติดกับต้นกล้าที่เพาะไว้ในแปลงที่มีอายุ 4-5 เดือน หากแผลสนิทดี ครบ 21 วัน ตาจะเริ่มพัฒนาเป็นกิ่ง ปล่อยไว้จนมั่นใจว่าตาแข็งแรงดี ให้ถอนไปปลูกลงในถุงเพาะชำ ขนาด 11.5x35.0 เซนติเมตร พร้อมกับตัดยอดต้นกล้าทิ้ง ปล่อยให้กิ่งจากตาพัฒนาต่อไปอีก 3 เดือน จะได้ต้นยางชำถุงที่มียอด 1 ฉัตร หรือหนึ่งชั้น เมื่อสมบูรณ์เต็มที่จึงนำไปปลูกหรือจำหน่ายได้ตามต้องการ มาตรฐานของต้นยางชำถุง กำหนดโดยสถาบันวิจัยยาง มีรายละเอียดต่อไปนี้ ต้องใช้ถุงเพาะชำขนาด 11.5x35 เซนติเมตร พร้อมบรรจุวัสดุเพาะชำ ที่มีส่วนผสมของดินเหนียว 3 ส่วน ขุยมะพร้าวหรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน และหินฟอสเฟต อัตรา 10 กรัม ต่อถุง ต้นยางชำถุงต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงศัตรูเข้าทำลาย ตายางต้องเป็นตายางพันธุ์ดี ตรงตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ต้นกล้าต้องมียอด 1 ฉัตร แต่ไม่เกิน 2 ฉัตร ขึ้นไป ส่วน ยางตาสอย ก็คือการทำยางชำถุงที่นำตาจากต้นยางที่เติบโตจนสามารถกรีดยางได้แล้ว เนื่องจากต้นยางที่ให้น้ำยางจะมีความสูง 3-4 เมตร วิธีการนำกิ่งตามาใช้เป็นตาพันธุ์ ต้องสอยลงมาจึงเรียกว่า ยางตาสอย ตามวิธีนำตายางมาใช้ประโยชน์ดังกล่าว และมักมีคำถามตามมาอยู่เสมอว่า ต้นยางที่ได้จากตาสอยกับแปลงต้นตาพันธุ์ยาง จะให้น้ำยางแตกกันหรือไม่ ทั้งนี้ผมได้สอบถามไปที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร แล้วได้รับคำตอบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการให้น้ำยาง แต่มีเงื่อนไขว่า ต้นตอที่ใช้ติดตาต้องแข็งแรงสมบูรณ์อยู่ในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ การสร้างแปลงตายางพันธุ์ดีไว้ในศูนย์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกในการนำตาไปใช้ประโยชน์เป็นสำคัญ และเพื่อแยกแปลงเฉพาะพันธุ์ไม่ให้เกิดการสับสนและผิดพลาดเกิดขึ้น ดังนั้น ขอให้สบายใจได้ครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
3
ตำบล / แขวง :
บางพูด
อำเภอ / เขต :
ปากเกร็ด
จังหวัด :
นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
11120
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 18 ฉบับที่ 372
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM