เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
หม้อข้าวหม้อแกงลิง พืชน่าสน
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจจะปลูกต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงไว้เพื่อความสวยงามในบ้าน แต่ผมยังไม่รู้จักพืชชนิดนี้ดีพอ จึงเขียน จ.ม. มาเรียนถาม คุณหมอเกษตร ทองกวาว ว่า หม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้นมีวิธีปลูก ขยายพันธุ์ และดูแลอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือพืชกินแมลง บางแห่งเรียกว่าไก่ฟ้าพญาลอ อย่างไรก็ตาม ชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง ยังเป็นชื่อที่นิยมใช้เรียกกันทั่วไป พืชชนิดนี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เจริญเติบโตในเขตร้อนชื้น ซึ่งมีมากถึง 80 ชนิด และประเทศไทยเป็นหนึ่งในถิ่นกำเนิดของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง แหล่งที่ชุกชุมที่สุดอยู่ที่เกาะบอร์เนียว มีประมาณ 30 ชนิด อีกกลุ่มหนึ่งพบได้ตามเขตอบอุ่นหรือบนภูเขาสูง เมื่อเทียบกันแล้วในเขตร้อนชื้นมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากกว่าในเขตอบอุ่นหลายเท่า ผมจึงขออนุญาตท่านผู้อ่านนำเอาเฉพาะข้อมูลของหม้อข้าวหม้อแกงลิงในเขตร้อนชื้นมาเล่าให้ท่านได้รับทราบ จากข้อสันนิษฐานของนักพฤกษศาสตร์ สรุปไว้ว่าการที่พืชชนิดนี้พัฒนาขึ้นมาโดยวิธีปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เนื่องจากมักพบว่ามีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งขาดแคลนธาตุอาหารสำหรับการเจริญเติบโตและสืบเผ่าพันธุ์ ด้วยการยืดส่วนของปลายใบยาวออกเป็นสายยาว 20-50 เซนติเมตร ที่กลมและแข็งแรงคล้ายเส้นลวด ส่วนปลายสุดเปลี่ยนเป็นกระเปาะ รูปทรงคล้ายแจกันพร้อมมีฝาที่เปิดและปิดได้ ขอบปากกระเปาะเป็นมันลื่น ภายในมีน้ำหวานสำหรับล่อแมลงให้เข้ามาดูดกิน เมื่อแมลงปีนป่ายหรือพลัดตกลงในกระเปาะ ฝาของกระเปาะจะปิดพับลงป้องกันไม่ให้แมลงบินออกมาได้ ในที่สุดแมลงจะตาย จากนั้นกระเปาะจะขับน้ำย่อยออกมาย่อยตัวแมลง นำแร่ธาตุที่ต้องการไปหล่อเลี้ยงตนเองต่อไป ในประเทศไทยมีหม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ เขนงนาย พราน น้ำเต้าฤๅษี 2 ชนิด น้ำเต้าลม และหม้อข้าวหม้อแกงลิง ทั้งนี้ในอดีตประเทศไทยไม่ให้ความสนใจพืชชนิดนี้มาก่อน ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศเพื่อนบ้านที่เคยถูกยึดครองโดยประเทศมหาอำนาจจากตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย พม่า ลาว เวียดนาม หรือกัมพูชาก็ตาม ได้มีการรวบรวมพันธุ์และจำแนกพันธุ์ไว้อย่างละเอียด จึงทำให้ประเทศผู้เข้าครองมีข้อมูลมากกว่าประเทศไทยหลายเท่าทวีคูณ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบ้านเรามีผู้ให้ความนิยมมากขึ้นจนก้าวไปถึงการผสมพันธุ์จนได้พันธุ์ลูกผสมแล้วก็มี นิสัย ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง จะเจริญเติบโตได้ดีในที่มีความชื้นสูง ต้องการแสงเพียง 70-50 เปอร์เซ็นต์ ก็พอ ดินปลูกมีส่วนผสมของดินละเอียดสะอาด 2 ส่วน มอสแห้ง 1 ส่วน เศษใบไม้แห้ง 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน การขยายพันธุ์ทำได้ทั้งปักชำ แยกต้นและเพาะเมล็ด หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชที่ขึ้นเป็นกอแน่น ในระยะต้นอายุน้อยจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวและมักเลื้อยไปกับพื้นดิน หรือเกาะอยู่กับต้นไม้ใบยาว 12-18 เซนติเมตร ปลายใบพัฒนาไปเป็นกระเปาะมีหลายสี เช่น สีเขียว เขียวอมแดง สีน้ำตาล และสีเขียว ส่วนปากแตรสีแดง ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร พร้อมมีฝาเปิดปิดได้ ภายในกระเปาะมีขนกันแมลงจำนวนมาก และมีต่อมขับน้ำย่อยเพื่อย่อยซากแมลงที่ตายอยู่ภายในกระเปาะหม้อข้าวหม้อแกงลิง จะออกดอกเป็นช่อที่บริเวณส่วนยอด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น เมื่อผสมเกสรแล้วดอกเพศเมียจะพัฒนาเป็นฝัก ภายในฝักจะมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดที่สุกแก่ใช้ขยายพันธุ์ได้ ข้อควรระวังคือ ต้องรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอ หากขาดน้ำจะทำให้กระเปาะมีขนาดเล็กลง อีกทั้งสีสันไม่สวยงามเท่าที่ควร วัสดุปลูกต้องระบายน้ำได้ดี รดน้ำที่สะอาด หากน้ำประปาต้องเปิดน้ำเก็บในโอ่งหรือในถังน้ำ ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ ให้คลอรีนระเหยออกจนหมด ไม่จำเป็นไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี เพราะจะทำให้ต้นอวบน้ำเปราะหักง่าย โรค ยังไม่พบการระบาดรุนแรง อาจมีโรครากเน่า บางครั้งที่ปลูกในวัสดุปลูกระบายน้ำได้ไม่ดี ส่วน แมลงศัตรู เคยพบเพลี้ยแป้งและเพลี้ยไฟ การป้องกันกำจัดใช้วิธีเดียวกับพืชอื่นๆ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ลาดพร้าว
อำเภอ / เขต :
วังทองหลาง
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10310
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 18 ฉบับที่ 371
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM