เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน
   
ปัญหา :
 
 
  1. ไส้เดือนดินสามารถเพาะเลี้ยงได้จริงหรือไม่ หากเลี้ยงได้ผมจะนำไปขายที่ไหน ผมจะหาแหล่งพันธุ์ได้จากที่ไหน ที่สำคัญวิธีเพาะเลี้ยงทำอย่างไรจึงได้ผลดี
  2. ผมเลี้ยงปลาสวยงามไว้ หากผมจะใช้ไส้เดือนดินเลี้ยงปลามีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
  1. ไส้เดือนดินสามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้ มีอยู่หลายแห่งที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่ส่วนใหญ่มักเลี้ยงไว้ใช้เลี้ยงปลาของตนเอง บางแห่งมีการนำไส้เดือนดินมาเป็นตัวย่อยสลายขยะมูลฝอยก็มี ไส้เดือนดิน ทั้งหมดในโลกมีประมาณ 1,800 ชนิด หรือสายพันธุ์ ทั้งนี้ ในยุโรปและอเมริกาจะแตกต่างกับสายพันธุ์ในแถบเอเชีย ไส้เดือนดินมีรูปร่างทรงกระบอกยาวเรียว ลำตัวมีความยาวอยู่ระหว่าง 10-20 เซนติเมตร ตัวโตเต็มวัยมีจำนวนปล้อง 120 ปล้อง ไม่มีดวงตาและหนวด ไส้เดือนดินจะกินเศษหญ้า เศษพืชผักและตัวอ่อนของแมลงที่มีขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในดิน ทุกปล้องของไส้เดือนจะมีเดือยขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายขน จำนวน 56 อัน ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนที่และขุดรูในดิน ทั้งนี้ เดือยดังกล่าวจะไม่มีปรากฏที่ปล้องแรกและปล้องสุดท้าย ที่บริเวณรอยต่อของปล้องที่ 12 กับปล้องที่ 13 ที่ด้านสันหลังจะมีรูเปิดทำหน้าที่ขับของเหลวออกมาทำให้ร่างกายชุ่มชื้น เมื่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง รูขับถ่ายของเสียมีปล้องละหนึ่งคู่อยู่ส่วนด้านท้อง แต่จะไม่มีที่ปล้อง 1-3 เนื่องจากไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มี 2 เพศ ในตัวเดียวกัน แต่การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นได้ต้องได้รับเชื้อตัวผู้จากไส้เดือนตัวอื่น รูเปิดของเพศผู้ สำหรับปล่อยน้ำเชื้อมีอยู่หนึ่งคู่ที่ส่วนท้องของปล้องที่ 18 พร้อมมีตุ่มยึด 2 คู่ ที่ปล้องที่ 17 และ 18 สำหรับยึดเกาะกันระหว่างการผสมพันธุ์ รูเปิดเพศเมีย มีเพียงรูเดียวที่ด้านท้องของปล้องที่ 14 รูรับเชื้อตัวผู้ หรือ รูสเปอร์มาติกา มีอยู่ 3 คู่ ที่ปล้องที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ส่วน ทวารหนัก เป็นรูแคบๆ อยู่ที่ปล้องสุดท้าย ระบบทางเดินอาหาร เริ่มที่ ปาก อยู่ใต้ริมฝีปากยาวไปถึงปล้องที่ 3 คอหอย ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง อยู่ระหว่างปล้องที่ 3 ไปถึงปล้องที่ 6 พร้อมมีต่อมน้ำลายช่วยหล่อลื่นขณะกลืนอาหาร หลอดอาหาร อยู่ระหว่างปล้องที่ 6 จนถึงปล้องที่ 14 ทำหน้าที่พักอาหาร และบดอาหารอีกด้วย และ ลำไส้ เริ่มจากปล้องที่ 14 ยาวไปจนถึงทวารหนัก ส่วนปล้องที่ 22 จะมีช่องเปิดให้น้ำย่อยไหลเข้าสู่ลำไส้ได้ ไส้เดือนดินหายใจทางผิวหนัง การผสมพันธุ์ เริ่มจากไส้เดือนดินสองตัว จับคู่กัน ด้วยวิธีกลับหัวกลับหางแล้วใช้ส่วนท้องประกบกันให้รูเปิดของตัวผู้ของตัวหนึ่ง ตรงกับตำแหน่งรูสเปอร์มาติกาของอีกตัวหนึ่ง เพื่อแลกน้ำเชื้อตัวผู้ระหว่างกันแล้วเก็บไว้ในถุงเก็บน้ำเชื้อ และแยกออกจากกัน ต่อมาไข่สุกพร้อมที่จะผสมพันธุ์ ไส้เดือนแต่ละตัวจะสร้าง ไคลเทลลั่ม ลักษณะคล้ายวงแหวน สวมลำตัวของไส้เดือนไว้ โดยทั่วไปจะมองเห็นเป็นแหวนสีชมพู ภายใต้ไคลเทลลั่มจะมีถุงไข่ 2 อัน ไคลเทลลั่มพร้อมถุงไข่จะเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ คล้ายกับการถอดแหวนออกจากนิ้วมือ เพื่อไปรับไข่ที่ตกจากช่องเปิดของเพศเมีย ตำแหน่งปล้องที่ 14 แล้วเคลื่อนไปรับน้ำเชื้อตัวผู้ที่รูสเปอร์มาติกาที่ปล้อง 7 ที่ 8 และที่ 9 เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้ว วงแหวนไคลเทลลั่ม จะเคลื่อนที่ไปทางส่วนหัว ในที่สุดจะหลุดออกจากลำตัวตกลงอยู่ในดิน ในถุงไข่ 2 อัน แต่ละอันจะมีลูกอ่อนประมาณ 45 ตัว แต่ละเหลือรอดเพียง 2-25 ตัวเท่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมที่ไส้เดือนดินอาศัยอยู่ การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ทำได้ทั้งในลิ้นชักพลาสติก ในถังพลาสติก ในกระบะไม้ และในถังซีเมนต์ หรือท่อส้วม ปัจจุบันนิยมเพาะเลี้ยงด้วยวิธีสุดท้ายมากที่สุด เพราะทำได้ง่าย และใช้เลี้ยงไส้เดือนได้จำนวนมาก วิธีเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินในถังซีเมนต์ ใช้ถังซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 80 เซนติเมตร พื้นถังฉาบด้วยปูนซีเมนต์พร้อมทำรูเปิดเพื่อระบายน้ำขณะล้างทำความสะอาดถัง รองก้นถังด้วยอิฐหัก หรือกรวดขนาดเล็กอย่างใดอย่างหนึ่ง สูงจากพื้นถัง 10-15 เซนติเมตร วางทับด้วยตาข่ายพลาสติกหรือลวดตาข่าย นำฟางข้าวแห้งหรือเศษหญ้าแห้งที่สะอาดชุบน้ำให้ชุ่ม คลุกเคล้ากับมูลสัตว์แห้งอัตราส่วน 1 ต่อ 1 วางทับลงบนตาข่าย สูงขึ้นอีก 30 เซนติเมตร ปล่อยไส้เดือน 20 ตัว พร้อมเพิ่มเศษพืชผักและผลไม้ กระจายให้ทั่วบางๆ ปิดฝาถังด้วยตาข่ายไนลอนป้องกันนกและสัตว์อื่นเข้ามาทำลายไส้เดือน จากนั้นต้องเติมอาหารให้ทุกๆ 3-4 วัน ใช้เวลา 2-3 เดือน ก็สามารถเก็บแยกไส้เดือนดินนำมาใช้ประโยชน์ได้ สภาพแวดล้อมที่ไส้เดือนชอบ คือ ต้องอยู่ในที่มืด ที่อยู่อาศัยไม่แห้งหรือชื้นแฉะจนเกินไป และต้องการอุณหภูมิระหว่าง 12-25 องศาเซลเซียส เมื่อเพาะเลี้ยงแล้วจะนำไปจำหน่ายที่ไหน ลองให้ติดต่อแหล่งเลี้ยงปลาตู้ใกล้บ้านของคุณก่อนเป็นเบื้องต้น เพราะว่าแหล่งดังกล่าวต้องการปริมาณไส้เดือนดินที่ผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ ผมได้สอบถามไปหลายแห่งว่า มีแหล่งรับซื้อที่ใดบ้าง แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน สำหรับพันธุ์ไส้เดือนดินแนะนำให้รวบรวมจากท้องถิ่นมาเพาะเลี้ยงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องใช้พันธุ์ต่างประเทศ
  2. การใช้ไส้เดือนดินเลี้ยงปลาสวยงามนั้น ปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง แต่ต้องให้กินในปริมาณที่พอเหมาะ จึงจะให้ปลามีสีสดใสสวยงาม
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
6
ตำบล / แขวง :
สะพลี
อำเภอ / เขต :
ปะทิว
จังหวัด :
ชุมพร
รหัสไปรษณีย์ :
86230
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 365
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM