เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
โรคใบด่าง หรือโรคไวรัสจุดวงแหวน ศัตรูร้ายในมะละกอ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเป็นคนชอบรับประทานมะละกอมาก ผมได้ปลูกมะละกอไว้จำนวนหนึ่ง ปีแรกๆ ได้ผลดี ต่อมาเกิดปัญหาเป็นโรคใบด่างรุนแรงมากจนแทบเก็บผลไม่ได้เลย ขอเรียนถามว่า จะมีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
วิธีแก้ไข :
 
    โรคใบด่าง หรือโรคจุดวงแหวนของมะละกอ หรือปาปาย่า ริงสปอท ไวรัส เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อไวรัส โดยมีแปลงชนิดหนึ่งคือ เพลี้ยอ่อน เป็นพาหะนำโรคเมื่อเพลี้ยอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงต้นมะละกอที่เป็นโรคไวรัสจุดวงแหวนแล้วเคลื่อนย้ายโดยมดพาไป ดูดกินน้ำเลี้ยงพร้อมถ่ายเชื้อให้กับต้นอื่น หรือแม้แต่เกษตรกรใช้เครื่องมือ อาจจะเป็นมีดหรือกรรไกรตัดกิ่งหรือต้นที่เป็นโรค และนำไปตัดฟันต้นอื่น การแพร่เชื้อโรคก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน อาการเริ่มต้นของโรคไวรัสจุดวงแหวน ใบมีสีเหลืองโปร่งใส ต่อมามีสีเขียวด่าง หากอาการรุนแรงใบจะบิดมีพื้นที่ใบแคบลง ในที่สุดจะเหลือแต่เส้นกลางใบ คล้ายเส้นด้าย ก้านใบและลำต้นส่วนบนปรากฏรอยช้ำเป็นขีดและเป็นจุดหรือเป็นวง ลักษณะคล้ายวงแหวนเป็นจำนวนมาก หากการระบาดในระยะกล้ามีผลทำให้ต้นแคระแกร็น ส่วนการระบาดในระยะต้นกำลังติดผลจะทำให้ผลผลิตลดลง ผลมีเนื้อแข็งกระด้าง เมื่อสุกจะเป็นไตแข็งและมีรสขม ขายไม่ได้ราคา บางแห่งการระบาดที่รุนแรงต้นทรุดโทรมและไม่ติดผล โรคไวรัสจุดวงแหวน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักระบาดรุนแรงทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และในทวีปเอเชีย ส่วนในประเทศไทยพบการระบาดครั้งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อ ปี พ.ศ. 2518 และนับวันมีแนวโน้มว่าจะระบาดรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2529 พบมีการระบาดรุนแรงที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม และราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 พบการระบาดที่จังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานี วิธีการป้องกันกำจัด เนื่องจากโรคชนิดนี้มีไวรัสเป็นเชื้อสาเหตุ จึงไม่มีวิธีรักษาโรคได้อย่างเบ็ดเสร็จ จำเป็นต้องหาวิธีหลบเลี่ยงหรือป้องกัน หรือลดความรุนแรงลงเท่านั้น โดยปฏิบัติได้ดังนี้ ให้ตัดต้นมะละกอที่มีอายุเกิน 2 ปี ขึ้นไป หรือต้นที่เป็นโรคเผาทิ้งทำลาย ไม่ปล่อยให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค แล้วหว่านปูนขาวลงบริเวณหลุมปลูกและปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 3 เดือน ก่อนปลูกแทนหรืออาจปลูกพืชชนิดอื่นเพื่อตัดวงจรของเชื้อโรค บำรุงต้นที่ไม่เป็นโรคให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นกำจัดวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยอ่อน ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น พันธุ์ฟลอริด้า ทอเลอแรนท์ ส่วนในระยะกล้าป้องกันด้วยวิธีกระตุ้นให้ต้นมะละกอเพิ่มความต้านทานโรคไวรัสจุดวงแหวน โดยวิธีใช้เชื้อที่ทำให้อ่อนแอลงในรูปของเหลว ละลายในน้ำสะอาดฉีดพ่นลงบนต้นกล้ามะละกออายุ 1-2 สัปดาห์ เมื่อนำต้นกล้าลงปลูกในแปลงจะมีความสามารถต้านทานโรคชนิดนี้ได้ในระดับที่น่าพอใจ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
บางมะกอก
อำเภอ / เขต :
ราษฎร์บูรณะ
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10140
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 364
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM