เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548
   
ปัญหา :
 
 
    ผมทราบจากเพื่อนๆ ว่า กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดมาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ไว้ แต่ผมไม่สามารถหารายละเอียดได้ ผมเป็นผู้หนึ่งที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้จำหน่ายในละแวกบ้านผม หากผมผลิตได้ตามมาตรฐานกำหนดของทางราชการ ผมจะขอใบรับรองได้จากที่ไหนครับ ผมจึงขอความกรุณาจากคุณหมอเกษตรให้คำแนะนำด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง
วิธีแก้ไข :
 
    รายละเอียดมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2548 ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดไว้ เพื่อนำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มคุณค่าธาตุอาหารพืชและมีความจำเป็นต้องควบคุมมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรมาก มีการซื้อขายในเชิงธุรกิจ มีรายละเอียดดังนี้ ขนาดเมล็ดปุ๋ยอินทรีย์ มีขนาดไม่เกิน 12.5x12.5 มิลลิเมตร ปริมาณความชื้น มีไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ปริมาณหินและกรวด มีไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5 มิลลิเมตร พลาสติก แก้ว วัสดุมีคม และโลหะอื่นๆ ต้องไม่มี ปริมาณอินทรียวัตถุ ต้องมีไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ค่าความเป็นกรด เป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.8-8.5 อัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน หรือ C/N ไม่เกิน 20 : 1 ค่าการนำไฟฟ้า ไม่เกิน 6 เดซิซีเมน ต่อเมตร ค่าการนำไฟฟ้าถ้าเกิน 10 จะเค็มมาก ระดับนี้ถ้าใช้ปลูกต้นไม้จะไม่เจริญเติบโต และอาจตายได้ ปริมาณธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ฟอสฟอรัส ทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก โพแทสเซียม ทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก การย่อยสลายของปุ๋ยอินทรีย์ มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โลหะหนักที่เป็นอันตรายกับมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ได้แก่ สารหนู ต้องมีไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม แคดเมียม ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม โครเมียม ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ทองแดง ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ตะกั่ว ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และ ปรอท ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม เมื่อผลิตได้มาตรฐานแล้ว ต้องมีฉลากและบรรจุภัณฑ์ของปุ๋ยอินทรีย์ดังนี้ ชื่อการค้าและเครื่องหมายการค้า ชนิดของผลิตภัณฑ์ ปริมาณบรรจุเป็นน้ำหนักบริสุทธิ์ในระบบเมตริก ชื่อผู้ผลิตและสถานผู้ผลิต ระบุวัสดุที่ใช้ผลิตและอัตราส่วนที่ใช้ กำหนดวันผลิตและวันหมดอายุ และระบุวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา ตลอดทั้งข้อควรระวัง รายละเอียดอื่นๆ สอบถามได้ที่ฝ่ายปุ๋ยเคมี สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร หรือในส่วนภูมิภาค ติดต่อที่ศูนย์ต่างๆ ของกรมวิชาการเกษตรทุกแห่ง ใกล้บ้าน ในวันและเวลาทำการ เรื่องนี้สำคัญมาก อยากให้พี่น้องเกษตรกรไทยได้รับทราบทั่วกัน ท่านที่ทราบแล้วโปรดบอกกันต่อๆ ไปด้วยครับ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
แม่ข่า
อำเภอ / เขต :
ฝาง
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
50320
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 363
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM