เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีลดความเสียหายในการลำเลียงขนส่งพันธุ์ปลานิล
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีปัญหาในการลำเลียงพันธุ์ปลานิล เมื่อมีการขนส่งในระยะไกล เพราะมีเปอร์เซ็นต์การตายสูง จึงขอเรียนถามว่าจะมีวิธีใดบ้างที่เมื่อขนส่งพันธุ์ปลาแล้วเปอร์เซ็นต์รอดตายสูง นอกจากนี้ ปลานิลที่ผมเลี้ยงไว้มีอาการเป็นตุ่มบวมแดงตามตัวและมีแผลเป็นหลุม เกิดจากอะไรและจะรักษาอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    การลำเลียงขนส่งพันธุ์ปลา ระยะไกล มักทำให้ลูกปลาอ่อนแอ อาจถึงตายได้คราวละเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นนอกจากเป็นการสูญเสียทุนทรัพย์แล้ว ยังเสียเวลาเป็นอย่างมาก ประการสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนการลำเลียงพันธุ์ปลาไม่ว่าขนาดเล็กหรือขนาดกลางก็ตาม จะต้องงดการให้อาหารล่วงหน้าเป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง เพื่อให้ปลาขับถ่ายอาหารออกจากลำไส้จนหมด จะช่วยบรรเทาให้น้ำเน่าเสียช้าลง วิธีการลำเลียงขนส่งพันธุ์ปลาทำได้สองวิธี วิธีแรก ลำเลียงขนส่งด้วยภาชนะปิดที่นิยมมากที่สุด การบรรจุพันธุ์ปลาลงในถุงพลาสติกใส มีน้ำสะอาด พร้อมอัดก๊าซออกซิเจน ผูกรัดปากถุงให้แน่น วิธีนี้เป็นวิธีปฏิบัติได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำ วิธีที่สอง ลำเลียงขนส่งด้วยภาชนะเปิด เช่น ถังพลาสติก หรือถังสังกะสีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า การลำเลียงขนส่งระยะไกลและปลาจำนวนมากจำเป็นต้องมีเครื่องให้ออกซิเจนลงในน้ำตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังนิยมใช้ลำเลียงปลาที่มีขนาดใหญ่อีกด้วย ปัจจัยอื่นที่สนับสนุนให้การลำเลียงขนส่งพันธุ์ปลาให้ได้ผลดี ได้แก่ ในตอนเช้ามืดหรือตอนกลางคืน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีอากาศเย็นหรือใช้พาหนะที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ระหว่างลำเลียงควรหว่านเกลือลงในน้ำเล็กน้อย จะช่วยอัตราการตายให้ต่ำลงเพราะว่าเกลือเป็นตัวช่วยลดความเป็นกรดในน้ำ ให้หยดยาเหลืองลงในน้ำช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค จากทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย น้ำที่สะอาดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราการรอดตายของปลาสูงขึ้น อาการของโรคที่เล่ามา คือมีการตกเลือด ท้องบวมมีเลือดปะปนออกมา มีน้ำเหลืองในช่องท้องหรือมีแผลเป็นหลุมเกิดขึ้นตามลำตัว เนื่องจากการติดเชื้อ แอโรโมแนสที่เป็นที่เป็นเชื้อแบคทีเรีย วิธีป้องกันและรักษา ทำได้โดยหมั่นดูแลน้ำในบ่อเลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ ด้วยวิธีถ่ายน้ำและให้อาหารปริมาณที่เหมาะสมระหว่าง 3-5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักปลาโดยรวม และไม่ควรปล่อยปลาในบ่อให้หนาแน่นเกินไป เมื่อนำพันธุ์ปลาจากแหล่งอื่นมาเลี้ยงให้แช่ปลาลงในน้ำผสมฟอร์มาลินที่ความเข้มข้น 25-30 พีพีเอ็ม และเมื่อนำผักตบชวาหรือพืชลอยน้ำจากแหล่งอื่นมาเลี้ยงในบ่อปลา แนะนำให้แช่พืชเหล่านี้ลงในน้ำด่างทับทิมเข้มข้น 5 พีพีเอ็ม เป็นเวลา 10-15 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคและพยาธิต่างๆ แล้วล้างน้ำให้สะอาดก่อนนำลงเลี้ยงในบ่อปลา หากคุณปฏิบัติได้ตามคำแนะนำเบื้องต้นการลำเลียงขนส่งพันธุ์ปลาและวิธีป้องกันกำจัดโรคปลาจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
ดอนทอง
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
พิษณุโลก
รหัสไปรษณีย์ :
65000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 361
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM