เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การปลูกหน้าวัว
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจจะปลูกหน้าวัวจำหน่าย แต่ยังขาดข้อมูลรายละเอียดอยู่หลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับหน้าวัว การขยายพันธุ์และวัสดุปลูก จึงขอคำแนะนำจากหมอเกษตร-ทองกวาว เพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป
วิธีแก้ไข :
 
    หน้าวัว แบ่งได้ 3 ประเภท 1. ประเภทมาตรฐาน เป็นหน้าวัวที่พบเห็นทั่วไป ส่วนมากดอกจะมีสีเพียงสีเดียว 2. เปลวเทียน มีจานรองดอกชูตั้งขึ้นแนวเดียวกับปลี และมีขนาดเล็กกว่าชนิดแรก 3. โอบาเกะ เป็นประเภทที่มีขนาด สี และรูปทรงหลากหลาย จานรองดอกมักมีสองสี คือส่วนกลางของจานรองดอกจะมีสีเข้ม แต่ส่วนขอบนอกจะมีสีขาว หรือสีเขียว เป็นแผ่นบางคล้ายกระดาษชุบไข หรือพลาสติก พันธุ์หน้าวัว แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม 1. หน้าวัวสายพันธุ์ไทย มีจานรองดอกสีแดงสดใส รูปทรงสวยงาม ให้ดอกดก แต่มีข้อด้อยคือ จานรองดอกฉีกขาดง่ายในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน พันธุ์ที่นิยมปลูก เช่น ผกามาศ และขาวนายหวาน 2. สายพันธุ์ฮาวาย เป็นหน้าวัวที่มีสีสดใส มีทั้งชนิดดอกเล็ก และดอกใหญ่ จุดเด่นคือ มีความต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสที่ปลีดีกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และ 3. สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ มักเป็นสายพันธุ์ที่มีดอกสีสดใสและรูปร่างแปลกตา เช่น พันธุ์แซมบา แฟนตาเซีย อะครอโปลิส มิดอริ โซเนต และอะแวนติ แหล่งที่เหมาะสำหรับปลูกหน้าวัว ควรมีแหล่งน้ำสะอาดพอเพียงตลอดปีและน้ำไม่ท่วมขัง อุณหภูมิกลางวันอยู่ระหว่าง 26-32 องศาเซลเซียส ส่วนกลางคืนมีอุณหภูมิ 21-24 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 เปอร์เซ็นต์ โรงเรือนเพาะเลี้ยงหน้าวัว ต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดี หลังคาโรงเรือนสูง 3.5-4.0 เมตร คลุมด้วยซาแรนพรางแสง 50-70 เปอร์เซ็นต์ อาจทำหลังคาอีกหนึ่งชั้นด้วยพลาสติกใสป้องกันน้ำฝนทำให้ดอกช้ำหรือเกิดโรคไหม้ได้ ด้านข้างทั้ง 4 ควรล้อมด้วยซาแรนสีดำเพื่อช่วยรักษาความชื้นในโรงเรือนตามความต้องการ การขยายพันธุ์ การตัดยอดเป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันมากที่สุด เนื่องจากทำได้ง่าย เลือกตัดยอดที่มีความยาว 60 เซนติเมตร มีใบติดมา 4-5 ใบ พร้อมราก ชำในวัสดุเพาะชำจนแทงรากใหม่และแตกยอดจึงย้ายลงปลูก การปลูก ปลูกในกระถางขนาด 8-12 นิ้ว ที่บรรจุเครื่องปลูก ปัจจุบันนิยมใช้กะลาปาล์มน้ำมันผสมกับถ่านกะลาปาล์มน้ำมัน อัตรา 2:1 หากหากะลาปาล์มน้ำมันไม่ได้ให้ใช้ถ่านไม้หรือถ่านแกนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน ในปริมาณ 1 ใน 3 ของกระถาง ปลูกยอดที่ชำไว้ลงบนวัสดุเพาะ ให้รากแผ่กระจายโดยรอบ กลบด้วยวัสดุปลูกเพื่อให้ยอดพันธุ์ตั้งอยู่ได้ นำเข้าไปเพาะเลี้ยงในโรงเรือนต่อไป การปลูกในแปลง อาจปลูกกับพื้น หรือกระบะที่ยกสูงจากพื้น 50 เซนติเมตร ขนาดแปลงปลูกกว้าง 1.2 เมตร ใช้ซีเมนต์บล็อกเป็นขอบแปลง เว้นทางเดินกว้าง 80 เซนติเมตร ส่วนความยาวของแปลง พิจารณาให้เหมาะสมกับขนาดโรงเรือน ใส่วัสดุปลูก แต่งให้มีลักษณะเป็นหลังเต่าเพื่อไม่ให้น้ำขังในแปลง วิธีป้องกันการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยให้ปูพื้นแปลงก่อนใส่วัสดุปลูกด้วยพลาสติกใส จากนั้นใส่วัสดุปลูกลึก 20 เซนติเมตร ปลูกแปลงละ 4 แถว ใช้ระยะปลูก 30x30 เซนติเมตร กลบรากให้มิด ราดด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราเข้าทำลาย เมื่อวัสดุเพาะยุบตัวหลังรดน้ำให้เติมวัสดุเพาะเพิ่มให้ผิวเรียบสม่ำเสมอ การให้น้ำ หน้าวัวเป็นพืชต้องการความชื้นสูง ต้องให้น้ำวันละ 2 ครั้ง ในช่วงฤดูแล้งอาจให้น้ำถึง 3 ครั้ง วิธีให้น้ำนิยมให้แบบพ่นเป็นละออง อัตรา 1.5 ลิตร ต่อตารางเมตร ต่อครั้ง ปัจจุบันกำลังศึกษาวิธีการให้น้ำแบบน้ำหยดเพื่อลดปัญหาการเข้าทำลายของโรคเนื่องจากใบและต้นเปียกชื้นเกินไป การให้ปุ๋ย ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 20 กรัม ต่อต้น ทุกเดือน ระยะใกล้ออกดอก ให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ สูตร 15-30-15 หรือ 16-21-27 อัตรา 20-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลงทุก ๆ 15 วัน การแต่งหน่อ เมื่อพบว่าหน้าวัวแตกหน่อมากขึ้น ควรตัดแต่งให้เหลือเพียง 2-3 ยอด ก็พอ ขณะเดียวกันใบที่เกิดใหม่หากหนาแน่นเกินไปควรตัดแต่งให้เหลือหน่อละ 3 ใบ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี และไม่ควรตัดแต่งใบขณะดอกยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จะมีผลทำให้ดอกมีขนาดเล็กลง นอกจากนี้ใบที่ตัดแต่งออกไปยังจำหน่ายเป็นไม้ใบได้อีกด้วย หน้าวัวเริ่มให้ดอกหลังแยกหน่อแล้ว 6-8 เดือน และต้องรื้อแปลง หรือรื้อกระถางปลูกใหม่ทุก 4 ปี เนื่องจากคุณภาพของวัสดุปลูกเสื่อมคุณภาพ และการสะสมโรคมากขึ้น โรคสำคัญของหน้าวัว เช่น โรคใบไหม้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาการของโรคจะเกิดจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ทำให้ก้านใบและก้านดอกหลุดร่วงในเวลาต่อมา การระบาดรุนแรงมักเกิดขึ้นในช่วงฝนตกชุก วิธีป้องกันกำจัดเมื่อพบการระบาดระยะแรกให้ตัดใบที่เกิดโรคเผาทำลาย หากเกิดการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมี ฟอสเอ็ทธิลอลูมิเนียม ตามอัตราแนะนำในฉลาก โรคแอนแทรกโนส เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งมักเข้าทำลายส่วนของปลี อาการเริ่มแรกจะเกิดจุดสีเข้มขนาดเล็ก ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น หากไม่ป้องกัน ส่วนของปลีจะเน่าเสียหาย วิธีป้องกันที่ดีที่สุด เมื่อพบการระบาดเริ่มแรกให้ตัดดอกเผาทำลาย ลดการใช้ปุ๋ยลง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการให้น้ำที่ชื้นเกินไป หากปฏิบัติได้ตามข้างต้นอาการของโรคจะหมดไปในที่สุด ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงหน้าวัว ติดต่อสอบถามที่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนกระบี่ หมู่ที่ 1 ถ.เพชรเกษม ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ 81000 โทร. (075) 612-913 ในวันเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
รือเสาะ
จังหวัด :
นราธิวาส
รหัสไปรษณีย์ :
96150
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 265
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM