เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การควบคุมหนอนชอนใบส้ม
   
ปัญหา :
 
 
    ผมปลูกส้มและมะนาวไว้ในสวน ต่อมาพบว่า ที่ใบมีรอยคดเคี้ยวเป็นมันวาว คล้ายทางรถยนต์ มีผู้รู้บอกว่า เป็นการทำลายของหนอนชอนใบ ผมจึงขอถามว่า วงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้เป็นอย่างไรและวิธีป้องกันกำจัดทำอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    หนอนชอนใบส้ม เป็นแมลงศัตรูที่ทำความเสียหายกับส้มและมะนาวอย่างรุนแรง โดยหนอนจะเข้าเจาะชอนไช เข้ากินเนื้อเยื่อภายในใบ บริเวณที่ถูกทำลายเป็นฝ้าขาว วกวนไปมา คล้ายทางรถยนต์ รอยแผลที่เกิดขึ้น เป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายซ้ำเติมของการเกิดโรคสะเก็ดแห้ง การระบาดรุนแรงจะทำลายกิ่งอ่อนและผลอ่อน ส่งผลให้ต้นแคระแกร็นตามไปด้วย วงจรชีวิตของหนอนชอนใบ ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก เมื่อกางปีกออกวัดได้ 6.0-8.0 มิลลิเมตร ลำตัวและปีกสีขาวนวล แวววาว ปีกหน้าเล็กเรียว ส่วนปลายมีขนยาว มีจุดดำปีกละจุด ตอนปลายมีแถบขวางสีน้ำตาลเข้ม ปีกคู่หลังเล็กเรียวคล้ายกัน หลังผสมพันธุ์ระหว่างเพศผู้และเพศเมียแล้ว 24 ชั่วโมง ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ใกล้เส้นกลางใบ ส่วนใหญ่วางไว้ส่วนใต้ใบ ไข่ ลักษณะคล้ายหยดน้ำ สีเหลืองอมเขียวใส ขนาดเล็กมากจะฟักออกเป็นตัวภายใน 3 วัน หลังจากฟักออกเป็นตัวจะเจาะเข้าในใบส้มทันที เพื่อกัดกินเนื้อเยื่อระหว่างใบด้านล่างและด้านบน ตัวหนอนวัยอ่อนมีสีเหลืองอ่อน หนอนแก่มีสีเหลืองเข้ม เมื่อมีอายุ 7-10 วัน จะเริ่มชักใยเข้าดักแด้ โดยยึดริมขอบใบพับเข้ามาคลุมทั้งตัว ดักแด้สีเหลืองเข้ม มีหนามแหลมที่ส่วนหัว ระยะเข้าดักแด้ 5-10 วัน ต่อมาจะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ตามทรงพุ่มของต้นส้ม หรืออาจหลบซ่อนอยู่ตามพงหญ้าใกล้เคียงกับสวนส้ม หนอนชอนใบจะระบาดรุนแรงในระยะที่ส้มแตกใบอ่อน โดยเฉพาะระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายนจะพบการทำลายของหนอนชอนใบสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ในทางตรงกันข้ามในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ การระบาดกลับลดลงเหลือเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ศัตรูธรรมชาติ ที่ทำหน้าที่ควบคุมหนอนชอนใบ ได้แก่ แตนเบียน เข้าทำลายดักแด้ถึงตายภายใน 3-4 วัน ดังนั้น การใช้สารเคมีใดๆ ให้ระวังการทำลายแตนเบียนดังกล่าว การป้องกันกำจัดหนอนชอนใบส้ม ให้เก็บใบส้มที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้น ที่เกิดจากการทำลายของหนอนชอนใบเผาทำลายทิ้ง และหมั่นสำรวจในแปลงส้ม เมื่อพบการเข้าทำลายจากหนอนชอนใบ จำนวน 10-20 ต้น ต่อสวน คำนวณได้ว่ายอดอ่อนถูกทำลายประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับว่าการระบาดอยู่ในขั้นรุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น ฟลูเฟนออกเซอรอน อัตรา 6 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือใช้อิมิดาโคลปิด อัตรา 8 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 2 ครั้ง อาทิตย์เว้นอาทิตย์ เมื่อพบว่าการระบาดหมดไป ให้เลิกใช้สารเคมีทันที
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
5
ตำบล / แขวง :
บ้านกล้วย
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ชัยนาท
รหัสไปรษณีย์ :
17000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 361
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM