เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ต้องการปลูกมะพร้าวกะทิ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความต้องการปลูกมะพร้าวกะทิไว้บริโภคในครอบครัว หากได้ผลดีอาจทำเป็นการค้าต่อไป ผมจึงขอเรียนถามว่า มะพร้าวกะทิต่างกับมะพร้าวทั่วไปอย่างไร หากต้องการต้นพันธุ์ผมจะหาซื้อได้จากที่ไหนครับ ขอความอนุเคราะห์ให้คำแนะนำด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    มะพร้าวกะทิ เป็นมะพร้าวที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมานาน เนื่องจากมีรสชาติดี ไม่ว่าจะรับประทานจากเนื้อมะพร้าวโรยด้วยน้ำตาลทราย หรือนำไปเป็นส่วนประกอบของไอศกรีม หรือขนมหวานแบบไทยๆ ก็นิยมกัน เนื้อมะพร้าวกะทิ แตกต่างจากเนื้อมะพร้าวธรรมดาทั่วไปคือ การพัฒนาเนื้อมะพร้าวปกติระยะแรกเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีชื่อว่า กาแลคโตแมนแนน ต่อมาจะถูกเปลี่ยนรูปด้วย เอนไซม์ แอลฟ่า กาแลคโตซิเดส ให้เป็นคาร์โบไฮเดรต ที่เรียกว่า แมนแนน หรือ แมนนัน แต่ในมะพร้าวกะทิจะไม่มีเอนไซม์ชนิดดังกล่าว จึงทำให้เนื้อมะพร้าวกะทิคงสภาพของกาแลคโตแมนแนนไว้เช่นเดิม ซึ่งมีลักษณะนุ่ม เหนียวหนืด สีขาวขุ่น คล้ายวุ้น ทำให้นิยมเรียกมะพร้าวชนิดนี้ว่า มะพร้าวกะทิ ทั้งนี้มีการจำแนกมะพร้าวกะทิออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเนื้อบาง กลุ่มเนื้อหนาปานกลาง และกลุ่มเนื้อหนาหรือเนื้อฟูเต็มกะลา การกระจายตัวของมะพร้าวกะทิในประเทศไทยพบเห็นได้ตามแหล่งปลูกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สมุทรสงคราม และนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีมะพร้าวกะทิเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในประเทศผู้ผลิตมะพร้าว โดยเฉพาะในแถบเอเชียและแปซิฟิก ฟิลิปปินส์ เป็นชาติแรกที่เริ่มปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวชนิดดังกล่าวและพบว่า ลักษณะของเนื้อมะพร้าวกะทิถูกควบคุมด้วย ยีนเพียงคู่เดียว นอกจากผลมะพร้าวกะทิ เมื่อนำมาเพาะจะไม่งอกเจริญเติบโตเป็นต้นมะพร้าวได้ การขยายพันธุ์จึงนิยมใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี 2537 สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เริ่มวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิขึ้นที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ขณะนี้มีแนวโน้มที่จะได้ลูกผสมที่ดี ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบขั้นสุดท้ายก่อนนำออกส่งเสริม กรณีที่จะผลิตเป็นการค้า จำเป็นต้องมีแปลงปลูกพันธุ์มะพร้าวกะทิห่างจากมะพร้าวพันธุ์อื่นๆ ไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากละอองเกสรมะพร้าวพันธุ์ทั่วไป ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันนั้น บริษัท บางกอกฟลาวเวอร์ ได้ซื้อพื้นที่หลังเขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี และได้รวบรวมผลมะพร้าวกะทิจำนวน 60,000 ผล จากแหล่งต่างๆ มาคัดเลือกลักษณะดีเด่น แล้วนำไปขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในสภาพปลอดเชื้อจนได้ต้นพันธุ์จำนวน 6,000 ต้น และคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีตามต้องการปลูก คาดว่าจะให้ผลผลิตรุ่นแรกในปี 2549 และปี 2550 นี้ หากท่านสนใจรายละเอียด ลองแวะมาพบ ดร.สมชาย วัฒนโยธิน สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กทม. 10900 ในวันเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
3
ตำบล / แขวง :
ทรงธรรม
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
กำแพงเพชร
รหัสไปรษณีย์ :
62000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 361
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM