เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สนใจปลูกพืชอาหารสัตว์
   
ปัญหา :
 
 
  1. ถ้าหากผมมีโค 100 ตัว ผมจะต้องปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ประมาณกี่ไร่
  2. ระหว่างหญ้ากับถั่วอาหารสัตว์ ผมควรปลูกชนิดไหนดีกว่ากัน
  3. หญ้ารูซี่ และกินนีสีม่วง ควรขายอย่างไร
  4. ถั่วฮามาต้า และสไตโล ควรขายอย่างไร
  5. ผลตอบแทนต่อไร่ของหญ้ากับถั่วเลี้ยงสัตว์ ชนิดใดให้ผลตอบแทนดีกว่ากัน
  6. ไร่ของผมเป็นที่ดอน มีน้ำเพียงพอ จะปลูกพืชอาหารสัตว์แซมพืชอื่นๆ ได้หรือไม่
  7. รอบของการตัดหญ้ามีกี่วัน
  8. ต้นถั่วเก็บไว้เพื่อเลี้ยงสัตว์ หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วและเมล็ดพันธุ์ถั่วเก็บไว้ทำพันธุ์ในรุ่นต่อไปได้หรือไม่ครับ
วิธีแก้ไข :
 
  1. การเลี้ยงโค ชนิดปล่อยเลี้ยงและทำหญ้าแห้งต้องใช้พื้นที่ 3 ไร่ ต่อหนึ่งตัว ฉะนั้นคุณเลี้ยงโค 100 ตัว ต้องมีแปลงปลูกหญ้า 300 ไร่ ขึ้นไป ส่วนการตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์แบบหญ้าสวนครัว ต้องใช้แปลงปลูกหญ้า 1-2 ไร่ ต่อหนึ่งตัว โค 100 ตัว ต้องมีแปลงปลูกหญ้า 100-200 ไร่ ขึ้นไป
  2. การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ควรปลูกทั้ง 2 ชนิด พืชตระกูลถั่วจะให้คุณค่าทางอาหาร โปรตีน ในอัตราสูงกว่าพืชตระกูลหญ้า แต่หากใช้พืชตระกูลถั่วเลี้ยงโคในปริมาณมากเกินไป จะทำให้โคเกิดอาการท้องอืด อาการที่รุนแรงรักษาไม่ทันอาจถึงตายได้ วิธีรักษาที่ได้ผลดีที่สุดด้วยการใช้วัสดุแหลมคม และแทงด้านข้างลำตัวเข้าไปถึงกระเพาะอาหารโคเพื่อไล่ลมออกจากกระเพาะ ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวค่อยๆ หมดไป เนื่องจากหลักการโภชนาหารของการปศุสัตว์ของเราพัฒนาไปมาก จึงมีการผลิตสูตรอาหารที่ดีเผยแพร่ให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง จึงขอแนะนำให้ปลูกพืชทั้งสองตระกูลควบคู่กันไป
  3. หญ้ารูซี่และกินนีสีม่วง ราคาจำหน่ายทั่วไป ชนิดสด กิโลกรัมละ 2 บาท ชนิดแห้ง กิโลกรัมละ 3 บาท
  4. ถั่วฮามาต้า และสไตโล ราคาจำหน่าย ชนิดสด กิโลกรัมละ 3 บาท ชนิดแห้ง กิโลกรัมละ 4-5 บาท
  5. ผลตอบแทนต่อไร่ พืชตระกูลหญ้าให้ผลตอบแทนสูงกว่า เพราะว่าผลผลิตต่อไร่ของพืชตระกูลหญ้าสูงกว่าพืชตระกูลถั่วประมาณ 2-2.5 เท่า
  6. สภาพที่ของคุณเป็นที่ดอน มีน้ำพอเพียง และหากระหว่างพืชหลักมีแสงแดดส่องถึงพื้นดิน ปลูกพืชอาหารสัตว์แซมได้ครับ
  7. รอบตัดหญ้า หากมีน้ำพอเพียง รอบตัดหญ้าอยู่ระหว่าง 45-60 วัน
  8. อาหารสัตว์ตระกูลถั่วตัดแล้ว เก็บในอุณหภูมิปกติไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง ส่วนเมล็ดเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อได้ และเก็บไว้ไม่ควรเกิน 3 เดือน ต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชอาหารสัตว์สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. (077) 292-094 ในวันเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สุราษฎร์ธานี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 360
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM