เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
พันธุ์ลำไยในประเทศไทย
   
ปัญหา :
 
 
    พันธุ์ลำไยในประเทศไทยที่มีปลูกอยู่ในปัจจุบันมีกี่พันธุ์ มีชื่อเรียกอย่างไร และมีพันธุ์ใดบ้างที่ปลูกได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หวังว่าคงได้รับคำแนะนำจากคุณหมอเกษตร-ทองกวาว ผมถือโอกาสขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
วิธีแก้ไข :
 
    ลำไยที่ปลูกในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรก คือ ลำไยเครือหรือลำไยเถา ลักษณะลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์ และไม่มีแก่น ใบมีขนาดเล็กและสั้น ผลขนาดเล็ก มีผิวสีชมพูอมน้ำตาล เมล็ดกลมโต เนื้อผลบาง มีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นกำมะถัน มีผู้นิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทานผล ลำไยชนิดที่ 2 คือ ลำไยต้น แบ่งได้ 2 ชนิด 1. ลำไยพื้นเมือง หรือลำไยกระดูก เป็นลำไยชนิดที่ให้ผลดกแต่มีขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลม ผิวเปลือกผลมีสีน้ำตาล เปลือกหนา เนื้อบางสีขาวใส เมล็ดมีขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 20-30 เมตร ใบมีขนาดเล็ก เปลือกลำต้นขรุขระ พบได้ตามชายป่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ลำไยชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมปลูกกัน ส่วน ชนิดที่ 2 ลำไยกะโหลก เป็นชนิดที่มีผลขนาดใหญ่ เนื้อหนา รสหวาน มีปริมาณน้ำตาลสูง พันธุ์ลำไยกระโหลกที่นิยมปลูกกันในปัจจุบันมีอยู่หลายพันธุ์ เช่น พันธุ์อีดอ ความหมายของคำว่า ดอ แถบภาคเหนือหมายความว่า เบา พันธุ์อีดอยังจำแนกได้เป็น อีดอยอดแดง เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ลำต้นแข็งไม่ฉีกหรือหักง่าย เปลือกมีสีน้ำตาลอมแดง พันธุ์นี้เกษตรกรปลูกกันน้อยเนื่องจากผลร่วงหล่นง่าย ส่วนอีดอยอดเขียว เป็นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลง่าย แต่ให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ มีผลขนาดใหญ่ ทรงกลมแป้น เปลือกผลสีน้ำตาล เนื้อค่อนข้างเหนียว สีขาวขุ่น เมล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง ลำไยพันธุ์ดังกล่าวเหมาะสำหรับใช้ผลิตลำไยกระป๋อง และลำไยอบแห้ง เนื่องจากมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ จะให้ผลก่อนพันธุ์อื่น ๆ สามารถเก็บผลได้ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม พันธุ์สีชมพู เป็นลำไยพันธุ์กลาง มีทรงพุ่มโปร่ง กิ่งเปราะและหักง่าย การเจริญเติบโตดี แต่ไม่ทนต่อสภาพแห้งแล้ง มีช่อผลยาวมักติดผลไม่สม่ำเสมอ ผลขนาดใหญ่ปานกลาง ทรงผลค่อนข้างกลม และเบี้ยวเล็กน้อย ผิวเปลือกมีสีน้ำตาลแดงเรียบ เนื้อล่อน รสหวานจัด กลิ่นหอม เมล็ดมีขนาดค่อนข้างเล็ก เนื้อหนาปานปลางและมีสีชมพูเรื่อ ๆ เก็บเกี่ยวผลได้ปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พันธุ์อีแห้ว ลำต้นเปราะฉีกหักง่าย เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลแดงเหลือบเขียว ทนต่อสภาพแล้งได้ดี มีผลขนาดใหญ่ปานกลาง ทรงผลกลมและเบี้ยว ผิวเปลือกมีสีน้ำตาล มีกระสีคล้ำกระจายทั่วทั้งผล เปลือกหนา เนื้อหนา แน่นและแห้งกรอบ สีขาวขุ่น รสหวานจัด กลิ่นหอม ขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็ก พันธุ์เบี้ยวเขียว เป็นชนิดพันธุ์หนัก ทนแล้งดีแต่อ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด มักติดผลปีเว้นปี ช่อดอกห่าง ให้ผลขนาดใหญ่แต่ไม่ดก จึงปลูกกันน้อยกว่าพันธุ์อื่น ทรงผลกลมแบนและเบี้ยวเห็นชัด ผิวเปลือกมีสีเขียวอมน้ำตาล เนื้อหนาแห้งกรอบ และล่อนง่าย เนื้อมีสีขาว รสหวานแหลม กลิ่นหอมและเมล็ดค่อนข้างเล็ก เก็บเกี่ยวผลได้ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม-กันยายน พันธุ์เพชรสาครทะวาย เป็นพันธุ์ที่ให้ผลมากกว่าปีละหนึ่งครั้ง ลักษณะของใบมีขนาดเล็ก เรียวแหลม ออกดอกติดผลปีละ 2 ครั้ง รุ่นแรก ออกดอกในเดือนธันวาคม-มกราคม เก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ส่วนรุ่นที่ 2 ออกดอกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และเก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนธันวาคม-มกราคม ลักษณะของผลกลม เปลือกบาง เนื้อสีขาวฉ่ำน้ำ ปัจจุบันนิยมนำไปปลูกเกือบทุกภาคของประเทศ พันธุ์ปิงปอง เป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากเวียดนาม ผลมีขนาดใหญ่มากและฉ่ำน้ำ แต่ยังขาดข้อมูลรายละเอียดทางวิชาการ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากที่ใดมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์จะสามารถปลูกได้ทุกพันธุ์ เนื่องจากปัจจุบันมีวิธีบังคับให้ลำไยออกดอกติดผลด้วย โพแทสเซียมคลอเรต หรือ โซเดียมคลอเรต อย่างไรก็ตาม โอกาสประสบความสำเร็จสูงหากปลูกพันธุ์เพชรสาครทะวาย เนื่องจากง่ายต่อการบังคับให้ออกดอกและติดผล ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สถาบันวิจัยพืชสวน อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โทร. 0-4561-2403 ในวันเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
4
ตำบล / แขวง :
ดงสมบูรณ์
อำเภอ / เขต :
ทาคันโท
จังหวัด :
กาฬสินธุ์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 293
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM