เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สนใจปลูกหน่อไม้ไผ่ตง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมปลูกไผ่ตงไว้หลายไร่ ขณะนี้มีอายุ 2-3 ปี แล้ว แต่พบว่า ต้นไผ่มีลักษณะแตกต่างกันไปบ้าง จึงเกิดความสงสัยว่า หน่อไม้ไผ่ตงมีกี่สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะอย่างไร ในแถบภาคเหนือจะปลูกได้ผลดีหรือไม่ อย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ไผ่ตง เป็นไผ่ที่นำมาจากประเทศจีน เมื่อประมาณ 80-90 ปี มาแล้ว แห่งแรกที่ปลูกคือ ที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันแพร่ขยายไปหลายจังหวัด เช่น จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ขอนแก่น สกลนคร บุรีรัมย์ นครราชสีมา เลย สระบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ลำปาง และเชียงใหม่ เนื่องจากไผ่ตงปลูกมานาน บางช่วงมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด จึงทำให้กลายพันธุ์จากเดิมไปบ้าง จนปัจจุบันจำแนกได้ 4 ชนิด ชนิดแรก คือ ไผ่ตงใหญ่ หรือตงหม้อ มีลำต้นขนาดใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12-16 เซนติเมตร สูงตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป ส่วนที่ต่ำกว่า 2 เมตร ลงมาจะมีกิ่งแขนงน้อยมาก หรืออาจไม่มีเลย ใบมีขนาดเล็ก ทรงพุ่มโปร่ง ใบสีเขียว เส้นกลางใบนูนมาก มีหน่อขนาดใหญ่ น้ำหนักระหว่าง 5-10 กิโลกรัม หน่อมีสีน้ำตาลอมม่วง หรือน้ำตาลดำอมม่วง กาบที่หุ้มหน่อมีขนละเอียด รอยต่อของกาบหุ้มแต่ละอันมีสีเปลือกมังคุด เนื้อหน่อไม้มีสีขาว หยาบ และแข็งกว่าไผ่ตงชนิดอื่น รสหวาน จะให้หน่อระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เนื่องจากมีกิ่งแขนงน้อย การขยายพันธุ์จึงทำได้ช้ากว่าไผ่ตงอื่น นอกจากนี้ยังให้หน่อไม่ดก จึงไม่นิยมปลูกเพื่อเก็บหน่อ ชนิดที่สอง ตงดำ ตงจีน หรือ ตงกลาง เป็นไผ่ที่มีขนาดเล็กกว่าตงหม้อ มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 9-12 เซนติเมตร ลำต้นก็เตี้ยกว่า กิ่งแขนงสีเขียวเข้มแต่จะมีนวลสีขาวคล้ายแป้งจับอยู่ ใบมีขนาดใหญ่ และมีร่องใบชัดเจนกว่าตงชนิดอื่น ๆ หน่อมีรสหวานกรอบ เนื้อขาวเนียน ละเอียด ไม่มีเส้น จึงนิยมเรียกว่า ไผ่ตงหวาน หน่อมีน้ำหนักระหว่าง 3-6 กิโลกรัม สีของกาบหน่อมีสีน้ำตาลปนดำหรือดำออกนวล ระยะที่ให้หน่อระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ไผ่ตงชนิดนี้เกษตรกรนิยมใช้ทำ หน่อตงหมก เพื่อให้มีหน่อสีขาวมากขึ้นและขายได้ราคา เกษตรกรจึงนิยมปลูกพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ชนิดที่ 3 ไผ่ตงเขียว เป็นไผ่ที่มีขนาดเล็กกว่าไผ่ตงดำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-12 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน ลื่นไม่สากมือ ทรงพุ่มหนาทึบ มีแขนงมาก เนื้อไม้บางไม่แข็งแรง เมื่อลมพัดแรงมักหักพับลงมาได้ง่าย ใบมีสีเขียวเข้มกว่าไผ่ตงอื่น ๆ น้ำหนักของหน่อประมาณ 1-4 กิโลกรัม ให้หน่อได้ 2 ช่วง ช่วงแรกระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ช่วงที่สองระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เกษตรกรจึงกลับมานิยมปลูกพันธุ์ตงเขียวกันมากขึ้นและทำตงหมกได้ดี ก็ด้วยเหตุผลที่ให้หน่อเก่งนั่นเอง และชนิดที่ 4 คือ ตงหนู หรือ ตงเล็ก เป็นพันธุ์ขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่เพียง 3-6 เซนติเมตร ไผ่ตงชนิดนี้ยังปลูกกันน้อย เนื่องจากให้ผลผลิตต่ำกว่าไผ่ตงอื่น ๆ แหล่งปลูกภาคเหนือที่ได้ผลดีคือ ที่จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ยังมีปลูกกันไม่มากครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
12
ตำบล / แขวง :
นครสวรรค์
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
นครสวรรค์
รหัสไปรษณีย์ :
60000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 291
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM