เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการทำสวนฝรั่งให้ได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
    ขอทราบรายละเอียดการทำสวนฝรั่ง ที่คนใต้เรียกว่า ชมพู่ ปัจจุบันทางภาคใต้ยังไม่มีคนทำสวนฝรั่งอย่างจริงจัง ผมมีปัญหาเรื่องพันธุ์ วิธีปลูกและการดูแลรักษาต้นฝรั่ง
วิธีแก้ไข :
 
    การทำสวนฝรั่ง พันธุ์ฝรั่ง ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบันคือ พันธุ์กลมสาลี่ และแป้นสีทอง ฝรั่งทั้ง 2 พันธุ์ มีผลขนาดใหญ่ ผิวเรียบ เนื้อหนา กรอบ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย การขยายพันธุ์นิยมวิธีตอนกิ่งและการปักชำ เพราะจะให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด การเตรียมดิน ในที่ดอน ให้ปรับระดับด้วยวิธีไถดะและตากดินไว้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เก็บซากวัชพืชออกจนหมด ไถแปรอีก 2 ครั้ง หว่านปูนขาว อัตรา 150-250 กิโลกรัม ต่อไร่ ขุดหลุม ขนาด 30x30x30 หรือ 50x50x50 เซนติเมตร ระยะปลูก 2x4 หรือ 4x4 เมตร สภาพที่ลุ่ม ต้องยกร่องแบบร่องจีนขนาดผิวแปลงกว้าง 2.5-3.0 เมตร ร่องน้ำกว้าง 100 เซนติเมตร และลึก 100 เซนติเมตร ส่วนก้นร่องให้แคบลง มีความกว้างเพียง 50 เซนติเมตร ก็พอ การปลูก รองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า หรือฟางข้าว 1 ใน 3 ส่วน ของหลุม พร้อมใส่ปุ๋ยคอกเก่าครึ่งปุ้งกี๋ เกลี่ยดินกลับลงหลุมบางส่วน ส่วนสุดท้าย คลุกกับปุ๋ยคอกอีก 1 ปุ้งกี๋ ให้เข้ากันดี และเกลี่ยกลับลงหลุมจนหมด ขุดดินตอนกลางหลุม เปิดพื้นที่ให้ใหญ่กว่าถุงเพาะชำกิ่งเล็กน้อย ฉีกถุงพลาสติกอย่าให้รากฉีกขาด วางลงหลุมที่เตรียมไว้ กลบหลุมพอแน่นปักหลักไม้ผูกเชือกกับกิ่งพันธุ์ป้องกันลมพัดโยก รดน้ำพอชุ่ม ระยะแรกควรพรางแสงด้วยทางมะพร้าว หรือล้อมด้วยตาข่ายไนลอนสีดำก็ได้เช่นเดียวกัน ช่วงปลูกที่ดีที่สุดควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน อัตราการรอดตายจะสูง การให้น้ำในระยะแรกหากไม่มีฝน หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน จำเป็นต้องให้น้ำทุก 2-3 วัน ต่อครั้ง หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อต้นฝรั่งตั้งตัวได้ดีแล้วคือ มีอายุ 6 เดือน ขึ้นไป ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกเก่าทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ต้นฤดูฝน กับปลายฤดูฝน รอบทรงพุ่มห่างจากโคนต้นเล็กน้อย หากใสปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะยิ่งให้ผลดีขึ้น ฝรั่งที่อายุ 7-12 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา 75 กรัม ต่อต้น ทุก 2 เดือน เมื่อมีอายุ 2-3 ปี ขึ้นไป ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม อัตรา 150 กรัม ต่อต้น ทุก 2-3 เดือน ในระยะเดียวกันให้พยุงกิ่งด้วยวิธีทำคอกสี่เหลี่ยม ขนาด 3x3 เมตร ล้อมต้นฝรั่ง สูงจากพื้นดิน 1.0-1.20 เมตร เพื่อช่วยรับน้ำหนักขณะกิ่งติดผลดกและไม่ให้กิ่งลู่ลงต่ำ เพราะจะเกิดการบังร่มเงาทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของใบลดง การตัดแต่งกิ่ง เพื่อรักษารูปทรงให้สวยงาม สะดวกในการเข้าปฏิบัติงาน โดยตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งกระโดงและกิ่งที่แตกจากส่วนล่างอยู่ชิดพื้น เมื่อทรงพุ่มโปร่งแสง แดดส่องเข้าภายในทรงพุ่มได้ดี ลมก็จะพัดผ่านสะดวก ป้องกันการระบาดของโรคอีกด้วย และควรใส่ปุ๋ยหลังการตัดแต่งกิ่งทันที เพื่อช่วยให้ต้นฝรั่งแตกกิ่งก้านใหม่ การปลิดดอกและผลทิ้ง ไม่ควรปล่อยให้มีผลดกมากเกินไป โดยปกติผลฝรั่งจะตัดเป็นช่อ ช่อละ 3 ผล ให้เด็ดผลด้านข้าง 2 ผลออก เหลือเฉพาะผลตอนกลางเท่านั้น การห่อผล ต้นฝรั่งเมื่อมีอายุ 5-6 เดือน จะเริ่มออกดอกชุดแรกและใช้เวลาอีก 5 เดือน จึงจะเก็บผลผลิตได้ เพื่อให้ผิวของผลฝรั่งสวยงาม น่ารับประทาน และป้องกันไม่ให้แมลงวันทองเข้าทำลาย การห่อผลเริ่มตั้งแต่ผลมีขนาดเล็กกว่าผลมะนาวเล็กน้อย ด้วยถุงพลาสติกใส ขนาด 10x20 เซนติเมตร เจาะรูด้านใต้ถุง 3 รู ป้องกันน้ำขังขณะฝนตก ผูกปลายถุงที่ขั้วผลในช่วงที่แดดจัดอาจห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่ง สามารถเก็บผลได้หลังออกดอกแล้ว 4-5 เดือน การตัดผลควรใช้มีดคม หรือกรรไกรตัดที่ขั้วไม่ต้องแกะถุงพลาสติกออก เพียงแต่ดึงหรือฉีกกระดาษชั้นนอกออกก็พอ จากนั้นคัดขนาดผลและส่งจำหน่ายให้เร็วที่สุดยิ่งดี โรคสำคัญของฝรั่งที่มักพบอยู่เสมอ คือ โรคผลเน่า เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักพบการระบาดกับผลฝรั่งที่โตเต็มที่แล้ว ระยะแรกมีจุดสีดำเล็ก ๆ ปรากฏขึ้นบนผล ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น ตอนกลางของแผลยุบลงเล็กน้อย ต่อมาจะเน่าและร่วงหล่นลงพื้นในที่สุด วิธีป้องกันควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เจาะก้นถุง 3 รู ป้องกันน้ำขัง หากเกิดการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วย เบนเลท หรือคาร์เบนดาซิม อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือฉีดพ่นก่อนห่อผลจะยิ่งได้ผลดี ผลที่เป็นโรครุนแรงให้นำไปฝังลงดินหรือเผาทำลาย การระบาดของโรคจะหมดไป โรคใบจุด เกิดจากเชื้อราอีกชนิดหนึ่ง เริ่มจากผิวใบด้านล่างมีจุดสีดำขนาดเท่าเข็มหมุด ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น มีรูปร่างไม่แน่นอน ส่วนใหญ่เกิดแผลขึ้นระหว่างเส้นใบและที่ก้านใบจะมีแผลฉ่ำน้ำ หากระบาดรุนแรง ใบร่วง ปลายกิ่งแห้งตาย ผลผลิตลดลง การป้องกันกำจัดเมื่อพบการระบาดระยะแรกให้ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรคเผาทำลาย ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค แต่เมื่อระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยคาร์เบนดาซิม อัตรา 16 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือออกซี่บอกซิน อัตรา 80 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม 2-3 ครั้ง ทุกสัปดาห์ ประการสำคัญควรงดการใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยวผลอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
หาดใหญ่
จังหวัด :
สงขลา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 290
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM