เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วงจรชีวิตของปลาสลิด
   
ปัญหา :
 
 
    ผมสนใจจะเลี้ยงปลาสลิด จึงต้องการทราบข้อมูลเบื้องต้นของปลาสลิดก่อนลงมือปฏิบัติของจริงต่อไป จึงขอเรียนถามว่า วงจรชีวิตของปลาสลิดนั้นมีมาเป็นอย่างไร ตลอดการดูแลลูกปลาวัยอ่อน ควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ลูกปลามีอัตราการอยู่รอดสูง ผมจึงขออนุเคราะห์ขอความรู้จากคุณหมอเกษตรมาในครั้งนี้
วิธีแก้ไข :
 
    ปลาสลิด หรือ ปลาใบไม้ เป็นปลาพื้นบ้านของไทยโดยแท้ โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลางของเรานี่เอง อาจมีพบบ้างในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ ซึ่งล้วนนำไปจากประเทศไทยทั้งสิ้น เมื่อประมาณ 80-90 ปีมาแล้ว ปลาสลิดถือว่าดีที่สุด อร่อยที่สุด ต้องที่ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ แต่เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคมากขึ้น จึงมีผู้นำไปเลี้ยงในจังหวัดอื่น ๆ เช่น สุพรรณบุรี ปทุมธานี และจังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น นิสัยของปลาสลิดชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำนิ่ง ตามหนอง บึง ที่มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นอยู่ เพื่อใช้เป็นเครื่องพรางตัวให้พ้นภัยจากศัตรู และเพื่อสำหรับใช้เป็นแหล่งก่อหวอดวางไข่ของแม่ปลาอีกด้วย ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ ลำตัวแบน มีครีบด้านข้าง ส่วนครีบท้องจะยาวและมีเพียงครีบเดียว สีลำตัวมีสีเขียวอมเทา หรือสีคล้ำ มีริ้วดำพาดขวางลำตัวจากส่วนหัวไปจนถึงโคนหาง เกล็ดข้างลำตัวมีจำนวน 42-47 อัน ปากมีขนาดเล็กยืดหดได้ ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร อาหาร ได้แก่ สาหร่าย พืช และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาสลิดเพศผู้ ลำตัวยาวเรียว สันหลังและสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน ครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหาง มีลำตัวเข้มและสวยงามกว่าเพศเมีย ส่วนเพศเมีย สันท้องจะยาวมนไม่ขนานกับสันหลัง ครีบหลังมนยาวไม่ถึงโคนหาง สีของลำตัวอ่อนกว่าเพศผู้เล็กน้อย ในฤดูวางไข่ท้องจะอวบและพองออกทางด้านข้างทั้ง 2 ด้าน จะเริ่มผสมพันธุ์เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขึ้นไป มีความยาวลำตัวประมาณ 6-7 นิ้ว มีน้ำหนัก 130-400 กรัม และจะวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน การวางไข่แต่ละครั้ง ประมาณ 4,000-10,000 ฟอง ก่อนเพศเมียจะวางไข่ ปลาสลิดเพศผู้จะเป็นฝ่ายเตรียมเลือกสถานที่และก่อหวอดโดยพ่นฟองน้ำลายไว้ตามพุ่มไม้น้ำ จากนั้นปลาทั้งสองเพศจะเริ่มผสมพันธุ์กันโดยปลาเพศผู้จะไล่ต้อนเพศเมียให้เข้าบริเวณใต้หวอด พร้อมเคล้าคลอให้เพศเมียวางไข่ ขณะเดียวกันปลาเพศผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ ต่อมาปลาเพศผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วพ่นเข้าบริเวณที่มีหวอดเพื่อไม่ให้ไข่จมลงใต้น้ำ ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 24 ชั่วโมง หากให้มีการผสมพันธุ์ในถัง หรือบ่อซีเมนต์ ระยะนี้ให้ช้อนพ่อ-แม่ปลาออกจากบ่อ ส่วนไข่ที่ผสมไม่ติดจะมีสีขาว ลูกปลาที่ฟักออกจากไข่สัปดาห์แรกยังมีอาหารสำรองเหลืออยู่ในตัว เมื่อใช้อาหารหมดแล้วลูกปลาจะเริ่มกินอาหารได้ อาหารของปลาสลิด ได้แก่ ตะไคร่น้ำ รำละเอียด ปลายข้าวต้มสุก คลุกกับผักบุ้งต้มเปื่อย แหนสด หรือปลวก ลูกปลาสลิดวัยอ่อน 7-12 วัน จะกินตะไคร่น้ำและไรน้ำเป็นอาหาร เมื่อมีอายุครบ 21 วัน จนถึง 1 เดือน ต้มรำละเอียดคลุกกับผักบุ้งต้มสุกหั่นละเอียดให้กินเช้าและเย็น หากเลี้ยงลูกปลาตั้งแต่ฟักออกเป็นตัวจะใช้เวลา 10-11 เดือน จึงจะได้ขนาดจับขายได้ อาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์นับว่ามีส่วนสำคัญมาก ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การผสมพันธุ์เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ลูกที่ฟักออกจากไข่จะมีสุขภาพแข็งแรง ควรมีส่วนผสมของวัตถุดิบดังนี้ ปลาป่น 56 กิโลกรัม รำละเอียด 12 กิโลกรัม กากถั่วเหลือง 12 กิโลกรัม ปลายข้าวต้ม 14 กิโลกรัม น้ำมันปลาสลิด 4 กิโลกรัม และวิตามินแร่ธาตุอีก 2 กิโลกรัม หากต้องการอาหารเพิ่มขึ้นหรือลดลงให้ปรับได้ตามสัดส่วนที่ต้องการ ปลาสลิดเป็นปลาที่ทนทานต่อโรคจึงไม่พบการระบาดของโรคที่ร้ายแรง สิ่งที่ทำร้ายปลาสลิดก็คือ น้ำเสียเท่านั้น จึงควรระวังโดยถ่ายน้ำในบ่อให้สะอาดอยู่เสมอ ให้อาหารอย่างพอเพียงและมีคุณภาพ การเลี้ยงปลาสลิดก็จะประสบความสำเร็จตามประสงค์ทุกประการครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
1
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
สามโคก
จังหวัด :
ปทุมธานี
รหัสไปรษณีย์ :
12160
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 291
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM