เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการเลี้ยงครั่ง
   
ปัญหา :
 
 
    ในละแวกบ้านผมมีต้นจามจุรีเป็นจำนวนมาก จึงสนใจอยากจะเลี้ยงครั่ง เพื่อผลิตเป็นรายได้เสริม ขอเรียนถามว่า ควรเริ่มต้นอย่างไร และเก็บผลผลิตในช่วงใดจึงจะได้ผลดี
วิธีแก้ไข :
 
    ครั่ง คือสิ่งขับถ่ายออกจากตัว แมลงครั่ง ที่อาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ ทางวิชาการจัดว่าแมลงครั่งเป็น ตัวเบียน หรือ เพลี้ย ชนิดหนึ่ง ใช้ปากที่มีลักษณะเป็นงวงดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เป็นอาหาร แมลงครั่ง เพศเมีย มีลำตัวสีแดงรูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็กแต่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปค่อนข้างกลมรี มีช่องเปิด 3 ช่อง ด้านบนมี 2 ช่อง สำหรับใช้หายใจส่วนด้านล่าง 1 ช่อง สำหรับใช้ขับถ่ายและผสมพันธุ์ ตามลำตัวจะมีขนสีขาวสำหรับใช้ป้องกันฝุ่นเข้าไปอุดตันรูช่องเปิดทั้ง 3 ช่อง ส่วนครั่ง เพศผู้ ลำตัวยาวรี มองเห็นชัดเจนเมื่อมีอายุ 40 วัน และจะเป็นตัวเต็มวัยอีก 15 วันต่อมา ลำตัวมีสีแดง มี 2 ตา และหนวด 2 เส้น มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก หลังจากผสมพันธุ์แล้วแมลงครั่งเพศผู้จะตาย ส่วนครั่งเพศเมียจะขยายพันธุ์ต่อไปได้อีกหลายครั้ง ครั่งเพศเมียจะไม่มีขา ลำตัวเป็นถุงนิ่ม ๆ อยู่นิ่งกับที่ ทำหน้าที่ผลิต เรซิน หรือ ครั่ง ออกมาตลอดเวลา พร้อมกับขับน้ำหวานที่เป็นอาหารของเชื้อรา จึงทำให้ต้นไม้ที่มีการเลี้ยงครั่งจะพบว่าใบมีสีดำ เนื่องจากราสีดำอาศัยและแพร่พันธุ์เมื่อได้น้ำหวานหล่อเลี้ยงเชื้อราเหล่านั้น อายุ 60 วัน เริ่มผสมพันธุ์ แต่จะวางไข่เมื่ออายุ 126-140 วัน โดยวางไข่คราวละ 300 ฟอง ในสภาพปกติจะได้ลูกที่เป็นเพศผู้และเพศเมีย อัตรา 30 ต่อ 70 หลังจากฟักออกเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ วันที่ 2-3 จะเริ่มดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ที่อยู่อาศัยได้ เช่น จามจุรี สะแก และพุทราป่า ซึ่งให้ผลตอบแทนดีที่สุด วิธีเลี้ยงครั่ง เลือกต้นไม้ทั้ง 3 ชนิด ที่มีอายุอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป มีลักษณะเรือนยอดแผ่กว้างและโปร่ง อากาศระบายถ่ายเทได้ดี และไม่อับชื้นหลังฝนตก พันธุ์ครั่งที่นำไปเลี้ยง ต้องแก่เต็มที่และยังมีชีวิตอยู่ทั้งครั่งเพศผู้และเพศเมีย ตัดกิ่งไม้ที่มีครั่งเกาะอยู่ตัดเป็นท่อน ยาวท่อนละ 6-7 นิ้ว ห่อมัดด้วยฟางข้าวบาง ๆ ผูกรัดปลายทั้ง 2 ด้วยไม้ตอกหรือกระดาษฟาง จากนั้นนำท่อนพันธุ์ที่ห่อฟางข้าวแล้ว 2 ท่อน ผูกเชื่อมกันด้วยเชือกปอ เพื่อสะดวกในการแขวนบนกิ่งต้นพืชอาศัย แขวนให้กระจายทั่วทั้งทรงพุ่ม ต่อมาลูกครั่งจะคืบคลานออกมาดูดกินน้ำเลี้ยงกิ่งที่อวบสมบูรณ์ หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ ควรเก็บรังท่อนพันธุ์ออกจากทรงพุ่มต้นพืชอาศัย ฤดูปล่อยครั่ง ใน 1 ปี ทำได้ 2 ครั้ง ครั้งแรกปล่อยในเดือนพฤษภาคมต่อเนื่องถึงมิถุนายน ระยะเก็บผลผลิตได้ในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ครั้งที่ 2 ปล่อยครั่งระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม จะเก็บผลผลิตได้ในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน ข้อควรระวังก่อนการปล่อยครั่ง ต้องกำจัดมดให้หมดก่อนปล่อยครั่ง 7-15 วัน จากนั้นให้ใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องเก่าที่ใช้แล้วหรือน้ำมันขี้โล้ ผูกรอบโคนต้นพืชอาศัย ป้องกันมดจากแหล่งอื่นเข้าไปกัดทำลายลูกอ่อนของครั่ง วิธีเก็บครั่ง เมื่อครบกำหนด ตัดกิ่งที่มีครั่งอาศัยอยู่ พร้อมตัดแต่งกิ่งสำหรับใช้เลี้ยงครั่งในรุ่นต่อไป จากนั้นรีบกะเทาะครั่งออกจากกิ่งไม้ทันที ผึ่งบนลานที่สะอาดให้ได้รับแสงแดดไม่จัดเกินไป คราดกลับครั่งทุกวันจนแห้งสนิทดี รวบรวมไว้จำหน่ายต่อไป ประโยชน์ที่ได้จากครั่ง ใช้ผลิต เชลแล็ก ที่ได้จากครั่งที่แยกเอาสารที่ไม่หลอมละลายในแอลกอฮอล์ออกไปจนหมดแล้ว เชลแล็กมี 3 ประเภท คือ เชลแล็กทั่วไป เชลแล็กฟอกขาว และ เชลแล็กปรุงแต่ง นอกจากช่วยเคลือบเนื้อไม้ให้มันวาวสวยงามแล้ว ยังทำให้เนื้อไม้ทนทานมากขึ้น ด้านอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็ยังจำเป็นต้องใช้ครั่งอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมของหมึกพิมพ์ อุตสาหกรรมกระดาษ วัสดุฉนวนไฟฟ้า และเป็นส่วนผสมของสีอีกหลายชนิด ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ สถานีวิจัยผลิตผลของป่า ฝ่ายวิจัยของป่า กองวิจัยผลผลิตป่าไม้ กรมป่าไม้ จังหวัดนครราชสีมา
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
เถิน
จังหวัด :
ลำปาง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 287
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM