เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเลี้ยงสุกรขุนให้ได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
     ปัจจุบันผมเลี้ยงสุกรไว้คราวละ 20-30 ตัว โดยใช้อาหารเม็ดของ บริษัท ลีพัฒนา ผสมรำ ปลายข้าว ในระยะสุกรมีน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ต่อไปผมเกรงว่าถ้าใช้อาหารเม็ดต่อไปจะสู้ไม่ไหว จึงขอรบกวนถามปัญหาคุณหมอเกษตร ดังนี้
  1. อยากทราบว่าอาหารเม็ดบริษัทใดดีที่สุด
  2. ต้องการสูตรอาหารสุกรขุนและวิธีเลี้ยงสุกรขุนที่เหมาะสม
วิธีแก้ไข :
 
  1. อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงสุกร ทุกบริษัทมีคุณภาพไม่แตกต่างกัน
  2. สูตรอาหารของสุกรขุน ที่กรมปศุสัตว์ แนะนำมีส่วนผสม ดังนี้ อาหารโปรตีน ได้จากกากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ปลาป่น และหางนม อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ได้จากปลายข้าว รำละเอียด ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และมันสำปะหลัง อาหารไขมัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ และไขวัว อาหารแร่ธาตุและ วิตามิน ได้จากกระดูกป่นและไดแคลเซียมฟอสเฟต ทั้ง 2 จะให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสเป็นหลัก ส่วนเปลือกหอยบดจะให้แคลเซียมเพียงอย่างเดียว พรีมิกซ์ เป็นแหล่งวิตามินที่มีธาตุปลีกย่อยอื่น ๆ ที่สุกรต้องการ หลักการผสมอาหารสุกรใช้เองในฟาร์ม ต้องรู้จักเลือกวัตถุดิบที่ใช้ผสมอาหารเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพ และผสมในสัดส่วนที่ถูกต้องกับความต้องการของสุกรในแต่ละวัย ด้วยหลักการผสมจากปริมาณน้อยก่อน แล้วจึงผสมเข้ากับส่วนใหญ่และควรเลือกวัสดุที่มีราคาถูกหาได้ง่ายในท้องถิ่น จะเป็นวิธีลดต้นทุนการผลิตลงในระดับที่น่าพอใจ การเลี้ยงสุกรขุนให้ได้ผลดี โรงเรือน นับว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย จึงต้องเลือกสถานที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง ระบายน้ำได้ดีและอยู่ห่างไกลชุมชน โรงเรือนควรตั้งในแนวตะวันออก-ตะวันตก ระยะห่างแต่ละโรงเรือน 20-25 เมตร หลังคาสูงจากพื้น 5.8 เมตร ด้านหน้ากว้าง 4-8 เมตร ความยาวที่พอเหมาะ 20-100 เมตร ถ้าเลี้ยงสุกรขุนนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตอนกลาง มีรางอาหารอยู่ด้านหน้า ก๊อกน้ำอัตโนมัติติดตั้งด้านหลังคอก สูงจากพื้นคอก 50 เซนติเมตร ขนาดคอก 4x3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร จะขังสุกรขนาดน้ำหนักตัว 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว วิธีป้องกันกำจัดกลิ่นและของเสียจากมูลสุกร โดยการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ อาจใช้แบบจีน หรือเป็นถุงยางแบบยุโรปอย่างใดอย่างหนึ่ง ก๊าซที่ได้สามารถนำไปหุงต้มในครัวเรือน บ่อกำจัดของเสีย ควรจัดทำเมื่อเลี้ยงสุกรตั้งแต่ 2,000 ตัวขึ้นไป ประกอบด้วยบ่อดักตะกอน บ่อหมักและบ่อผึ่ง น้ำที่ได้จะสะอาดขึ้นและลดความรุนแรงของกลิ่นมูลสุกรลงได้ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการให้ วัคซีน 2 ชนิดคือ วัคซีนป้องกัน อหิวาต์สุกร และวัคซีนป้องกัน ปากและเท้าเปื่อย วัคซีนป้องกันอหิวาต์ฉีดเข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อ อัตรา 1 ซีซี ต่อ 1 ตัว เมื่อสุกรมีอายุครบ 6 สัปดาห์ จะคุ้มโรคได้นาน 6 เดือน วัคซีนที่ละลายในน้ำกลั่นแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง การให้วัคซีนป้องกันโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อัตรา 2 ซีซี ต่อ 1 ตัว จะคุ้มโรคได้นานถึง 4 เดือน
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
5
ตำบล / แขวง :
บางกุ้ง
อำเภอ / เขต :
ห้วยยอด
จังหวัด :
ตรัง
รหัสไปรษณีย์ :
92210
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 287
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM