เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ธาตุแมกนีเซียม แมงกานีส และเหล็ก มีความสำคัญอย่างไรกับต้นพืช
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจเกี่ยวกับธาตุอาหารพืช เคยทราบบทบาทของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมมาแล้ว แต่บทบาทของธาตุแมกนีเซียม แมงกานีส และเหล็ก นั้นมีความสำคัญอย่างไรกับพืชที่ปลูก ด้วยความสงสัยจึงเขียนจดหมายมาสอบถามรายละเอียดจากคุณหมอทองกวาว และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
วิธีแก้ไข :
 
    ธาตุแมกนีเซียม แมงกานีส และธาตุเหล็ก จัดอยู่ในประเภทธาตุอาหารที่พืชต้องการน้อย แต่จะขาดเสียเลยพืชก็จะไม่เจริญเติบโตได้อย่างปกติ ธาตุแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ในพืช ทำให้ใบมีสีเขียวเข้ม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของพืช หากขาดธาตุนี้แล้วจะแสดงออกที่ใบแก่บริเวณขอบเส้นใบจะมีสีเหลือง หรือมีแผลไหม้เป็นจุดแก้ไขโดยการใส่ปูนโดโลไมต์ อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ ทุก ๆ 4-5 ปี อาการขาดแมกนีเซียมจะหมดไป ธาตุแมงกานีส เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด หรือบางคนนิยมเรียกว่า น้ำย่อย หากขาดธาตุแมงกานีสแล้ว ใบส่วนกลางของต้นไม้จะเกิดเป็นแผลขึ้นระหว่างเส้นใบ แต่โดยธรรมชาติแล้วต้นพืชขาดธาตุแมงกานีส เนื่องจากดินส่วนใหญ่จะมี pH ต่ำกว่า 7 ซึ่งจะแสดงการขาดธาตุแมงกานีสก็ต่อเมื่อดินปลูกมี pH เกิน 7 ขึ้นไป หรือดินมีฤทธิ์เป็นด่างนั่งเอง แต่ถ้าหากเกิดการขาดธาตุนี้ขึ้นแก้ไขด้วยการใส่ แมงกานีสซัลเฟต ในอัตรา 1-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อาการของการขาดธาตุมังกานีสก็จะหมดไป ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟีลล์อีกธาตุหนึ่ง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการหายใจของพืชอีกด้วย การขาดธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นในดินที่มีหินปูนเป็นองค์ประกอบคือ มีค่า pH เกิน 7.5 ขึ้นไป อาการที่พบ ใบและยอดอ่อนจะมีสีเหลือง แก้ไขได้โดยใส่เหล็กซัลเฟต อัตรา 2-6 กิโลกรัม ต่อไร่ อาการขาดธาตุเหล็กจะหมดไป ภายใน 1 สัปดาห์ ขอเพิ่มเติมอีก 2 ธาตุ คือ สังกะสี เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด แต่ต่างชนิดกับธาตุแมงกานีส เป็นส่วนประกอบของ ฮอร์โมน หรือ สารควบคุมการเจริญเติบโตของต้นพืชเป็นความหมายเดียวกัน การขาดธาตุสังกะสีจะพบว่า ใบอ่อนของพืชจะมีสีเหลืองซีดคล้ายกับการขาดธาตุเหล็ก ดินที่ใส่อินทรียวัตถุอย่างสม่ำเสมอหรือใส่หินฟอสเฟตมักจะไม่ขาดธาตุชนิดนี้ ธาตุโบรอน มีส่วนสำคัญในกระบวนการเคลื่อนย้ายน้ำตาลผ่านผนังเซลล์พืช ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แป้งและน้ำตาล พืชที่ขาดโบรอนส่วนยอดจะไม่พัฒนา ต้นจะเตี้ย มีข้อหรือปล้องสั้น ใบจะเขียวเข้มเปราะและฉีกขาดง่าย แก้ไขโดยฉีดพ่นด้วย บอแรกซ์ ที่ระดับความเข้มข้น 0-5-1.0% ที่ใบ 2-3 ครั้ง หรือใส่ลงดิน อัตรา 1-3 กิโลกรัม ต่อไร่ อาการขาดโบรอนจะหมดไปในที่สุด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
2
ตำบล / แขวง :
ท่าข้าม
อำเภอ / เขต :
บางปะกง
จังหวัด :
ฉะเชิงเทรา
รหัสไปรษณีย์ :
24130
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน :วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 289
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM