เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการเพาะเห็ดแครง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมสนใจต้องการเพาะเห็ดแครง จึงขอเรียนถามคุณหมอเกษตรว่า มีวิธีเพาะอย่างไร และส่วนผสมของวัสดุเพาะ ประกอบด้วยอะไรบ้าง พร้อมกับแนะนำแหล่งพันธุ์ดีให้ด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    เห็ดแครง หรือเห็ดตีนตุ๊กแก ส่วนในแถบภาคเหนือนิยมเรียกว่า เห็ดแก้น ภาคใต้เรียกว่า เห็ดยาง เห็ดแครงต้องการอาหารประเภทโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง จะได้ผลผลิตระหว่าง 130-150 กรัม ต่อวัสดุเพาะ 1 กิโลกรัม และได้เนื้อเห็ดนุ่ม สะอาด กว่าได้จากเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น พบว่า มีสารไซโซฟีลลาน มีคุณสมบัติในการยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ในหนูทดลอง จึงน่าจะเป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมในอนาคต วิธีเพาะหรือปลูกเห็ดแครง การเตรียมเชื้อขยาย แช่เมล็ดข้าวฟ่างที่สะอาดปราศจากเมล็ดวัชพืช โรคและแมลงศัตรู แช่ในน้ำสะอาดไว้ 24 ชั่วโมง ครบกำหนดเวลานำไปต้มในน้ำร้อนจนเมล็ดข้าวฟ่างสุกดี ใช้ตะแกรงตักขึ้น ตั้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ ปล่อยไว้จนเย็น กรอกใส่ขวดแบนที่ล้างสะอาดดี เมื่อเขย่าขวดให้ปริมาณเมล็ดข้าวฟ่างอยู่ต่ำกว่าไหล่ขวดเล็กน้อย ปิดจุกขวดด้วยสำลีให้เรียบร้อย นำเข้าในหม้อนึ่งความดัน 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นลดอุณหภูมิและความดันลงช้าๆ จนอยู่ในสภาวะปกติ เมื่อเมล็ดข้าวฟ่างเย็นลงแล้วเปิดจุก เขี่ยเส้นใยจากอาหารวุ้นที่เตรียมไว้ลงบนเมล็ดข้าวฟ่างและปิดจุกโดยเร็ว บ่มเส้นใยในห้องอุณหภูมิปกติเป็นเวลา 7-10 วัน จึงนำไปถ่ายลงถุงเพาะเห็ดได้ สูตรอาหาร ประกอบด้วย ขี้เลื่อยสะอาดปราศจากสารเคมี 100 กิโลกรัม เมล็ดข้าวฟ่างต้มสุก 50 กิโลกรัม รำข้าว 3-5 กิโลกรัม และปูนขาว 1 กิโลกรัม วิธีการเตรียมอาหาร คลุกขี้เลื่อย ปูนขาว และรำข้าวให้เข้ากันดี เติมน้ำสะอาดคลุกเคล้ากันพอหมาด ระวังอย่าให้แฉะ จากนั้นจึงนำเมล็ดข้าวฟ่างต้มสุกผสมคลุกเคล้ากับวัสดุที่ผสมกันไว้ก่อนให้เข้ากันดีอีกครั้ง เติมน้ำให้ได้ความชื้น 60 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบด้วยวิธีกำวัสดุ บีบให้แน่น จะไม่มีน้ำหยดออกมาและเมื่อคลายมือออก วัสดุเพาะเห็ดยังคงเกาะเป็นก้อนไม่แตกออกจากกันถือว่าใช้ได้ นำบรรจุลงในถุงพลาสติกเพาะเห็ดขนาด 7x11 นิ้ว ประมาณ 3 ใน 4 ของถุง หรือน้ำหนัก 600 กรัม ต่อถุงอัด หรือเขย่าวัสดุเพาะพอแน่น สวมคอขวด พับปากถุงพลาสติกลง รัดด้วยยางหนังสติ๊กให้เป็นปากขวด ปิดจุกด้วยสำลี ปิดครอบด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่ง นำไปอบในหม้อนึ่ง มีฝาปิด ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดเวลา จึงลดอุณหภูมิลงจนเย็น นำไปเปิดจุกใส่เชื้อในห้องที่ระบายอากาศได้บ้าง และปลอดเชื้อโรค เขี่ยเชื้อที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละ 3-5 เมล็ด แล้วปิดจุกทันที การบ่มเส้นใย ให้บ่มในโรงเรือนที่ระบายอากาศได้ดี ภายในโรงเรือนควรพรางแสงให้ได้รับแสงเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการทดสอบด้วยวิธีนำหนังสือพิมพ์วางห่าง 1 ฟุต หากอ่านไม่ออกถือว่าใช้ได้ รักษาอุณหภูมิไว้ที่ 25-35 องศาเซลเซียส เส้นใยจะเดินเต็มถุงภายใน 15-20 วัน จากนี้จึงเพิ่มแสงให้เป็นปกติ แสงจะช่วยกระตุ้นการสร้างดอกเห็ด และเส้นใยเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาจะเกิดดอกเห็ด จากนั้นถอดคอพลาสติกออก รวบปากถุงรัดด้วยยางหนังสติ๊กให้แน่น แล้วกรีดข้างถุงด้วยมีดที่คมและสะอาด เอียง 45 องศา เป็นแนวทั้ง 4 ด้าน ของถุงเพาะเห็ด นำไปวางบนชั้นหรือแขวนในโรงเรือน การเปิดดอกในโรงเรือน เห็ดแครงต้องการความชื้นสูง จึงต้องให้น้ำเช้าเย็น โดยฉีดเป็นฝอยรอบๆ ก้อนเห็ด ให้ละอองน้ำสัมผัสกับดอกเห็ดน้อยที่สุด มิเช่นนั้นดอกเห็ดจะเน่าเสียหาย ภายใน 5 วัน จะเก็บดอกเห็ดรุ่นแรกได้ และอีก 5-7 วัน จะเก็บดอกได้อีก 2 รุ่น เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้ว นำวัสดุเพาะออกเพื่อพักโรงเรือน ปล่อยโรงเรือนให้แห้งเป็นเวลา 15 วัน ก่อนเพาะรุ่นต่อไป การเก็บดอก ให้เก็บขณะดอกมีสีขาวนวล ไม่ควรปล่อยไว้จนเห็ดสร้างสปอร์ สีของดอกจะไม่สวย ขายไม่ได้ราคา ต้องการข้อมูลรายละเอียดหรือแหล่งพันธุ์ดี สอบถามได้ที่ กลุ่มงานจุลชีวิทยาประยุกต์ กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-4857 ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
8
ตำบล / แขวง :
ท่ามะเขือ
อำเภอ / เขต :
ขลุง
จังหวัด :
กำแพงเพชร
รหัสไปรษณีย์ :
62120
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 359
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM