เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ท้อพืชเมืองหนาวที่น่าสนใจ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเดินทางไปที่เชียงใหม่และมีโอกาสแวะไปซื้อของที่ตลาดลำไย พบเห็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากท้อมากมายหลายชนิด อยากทราบว่าเป็นท้อที่ปลูกในประเทศไทย หรือนำผลมาจากประเทศจีน หากปลูกได้ในบ้านเราจะมีวิธีปลูก ดูแลรักษาอย่างไร และจะขอข้อมูลรายละเอียดพร้อมพันธุ์ท้อได้จากที่ไหนครับ ขอขอบคุณ
วิธีแก้ไข :
 
    ท้อ ปัจจุบันสามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ดีในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ที่คุณพบเห็นอยู่ในตลาดลำไยนั้น ส่วนใหญ่ผลิตได้จากบ้านเราเช่นเดียวกัน ท้อ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ต่อมามีผู้นำไปปลูกที่ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออก สำหรับในประเทศไทยนั้นมีปลูกกันมานานแล้ว เชื่อว่าชาวเขาที่อพยพมาจากประเทศจีนเป็นผู้นำเข้ามาปลูกในแถบภาคเหนือของไทย แต่ท้อพันธุ์ที่กล่าวมาคุณภาพยังไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณ 30 ปีเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นำท้อพันธุ์ดีจากประเทศอิสราเอลและไต้หวันเข้ามาทดสอบ และคัดเลือกพันธุ์จนได้พันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่ สีสวยสะดุดตา รสชาติหวานหอมกว่าพันธุ์ที่เคยปลูกกันมาก่อน ท้อ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงต้นเป็นพุ่มแจ้และลักษณะกิ่งจะลู่ลงดินเล็กน้อย เปลือกผลท้อจะมีขนมาก ท้อส่วนใหญ่เมื่อสุกแก่ผลจะมีสีเหลือง บางพันธุ์แต้มแก้มแดง และบางพันธุ์อาจมีสีเขียวก็มี ถ้าจำแนกจากเนื้อผลสามารถแบ่งออกเป็นชนิดเนื้อนุ่ม กับชนิดเนื้อแข็ง แม้ผลจะสุกแล้วก็ตาม ท้อที่ปลูกอยู่ทั่วไป มีอยู่ 4 ชนิด หรือสปีซี่ส์ (species) ชนิดแรก จีนใต้ ผลมีขนาดเล็กและมีจะงอย เนื้อในสีขาว เปลือกมีรสฝาด ผิวซีด เนื้อนุ่ม ต้องการอุณหภูมิต่ำปานกลาง ชนิดที่สอง จีนเหนือ สีผิวไม่สวย เนื้อในสีขาวหรือสีเหลือง ข้อเสียคือ เนื้อติดเมล็ด และมีใบใหญ่ ชนิดที่สาม สแปนิช มีผลขนาดเล็ก มีขนมาก และรสชาติไม่ดี ชนิดที่สี่ เปอร์เซียน เป็นท้อคุณภาพดี สีผลสวย จึงนิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุด ท้อ เจริญเติบโตและให้ผลได้ดีในดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ การระบายน้ำดี มีหน้าดินลึกชอบอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำสุดไม่น้อยกว่า 7.2 องศาเซลเซียส ดอกจะบานจากส่วนบนของต้นก่อนส่วนล่าง หลังจากผ่านอุณหภูมิหนาวเย็นหรือผ่านระยะฟักตัวแล้ว ท้อจะออกดอกสีชมพูทั้งต้น สวยงามน่าประทับใจกับผู้พบเห็น ตาดอกของท้อจะผลิออกจากกิ่งที่ผ่านการตัดแต่งกิ่งที่มีอายุครบหนึ่งปีแล้ว การขยายพันธุ์ วิธีที่ดีที่สุดคือ การติดตา ประการสำคัญควรใช้ต้นตอพันธุ์พื้นเมือง เนื่องจากมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้ดี การปลูก ใช้ระยะปลูก 6x6 เมตร เตรียมหลุมกว้าง และลึก 50 เซนติเมตร เท่ากัน ผสมดินที่ขุดจากหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าคลุกเคล้ากัน เกลี่ยดินกลับลงหลุม และปลูกเช่นเดียวกับมะคาเดเมีย เมื่อต้นท้อตั้งตัวได้ดีแล้ว เมื่อต้นมีความสูงเกิน 1 เมตร ให้ตัดเหลือเพียง 60 เซนติเมตร ก็พอ รักษากิ่งแขนงที่สมบูรณ์ไว้ 3 แขนง แต่งให้เป็นพุ่ม การตัดแต่งกิ่งควรทำในฤดูหนาว ขณะที่ท้อกำลังพักตัว ด้วยวิธีตัดส่วนยอดของทรงพุ่ม เพื่อให้แสงแดดส่องเข้าภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึง ท้อจะเริ่มให้ผลเมื่อมีอายุครบ 3 ปี และให้ผลผลิตอย่างคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจเมื่อมีอายุ 4-5 ปี ขึ้นไป เมื่อท้อมีอายุมากขึ้นจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ต้นแตกกิ่งก้านใหม่กลับมาเป็นหนุ่มสาว เนื่องจากตาดอกจะเจริญและพัฒนาที่กิ่งอายุน้อย ท้อมักติดผลดก จึงจำเป็นต้องเด็ดทิ้งบ้าง มิเช่นนั้นจะได้ผลที่มีขนาดเล็ก ระยะที่ควรปลิดผลทิ้งคือ หลังจากดอกบานแล้ว 6-8 สัปดาห์ ให้ไว้ผล 1 ผล ต่อใบท้อ 40 ใบ ศัตรูสำคัญของท้อ โรคที่ระบาดรุนแรงของท้อยังไม่เคยปรากฏ อาจพบโรคราสนิมและใบหงิกบ้างเป็นครั้งคราว แมลงศัตรูสำคัญ ได้แก่ หนอนแมลงวันทองเจาะผล วิธีป้องกันกำจัด แนะนำให้ห่อผลด้วยถุงพลาสติกใสเจาะรูที่ก้นถุง ตั้งแต่ผลมีขนาดเล็กจนถึงระยะเก็บผล หมั่นเก็บผลที่ร่วงอยู่โคนต้นเผาหรือฝังทำลายป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของแมลงวันทองต่อไป การใช้สารเคมีควรเป็นทางเลือกสุดท้ายครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
ดุสิต
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 357
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM