เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีควบคุมโรคแคงเกอร์และหนอนชอนใบในส้มโอ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมปลูกส้มโอไว้หลายต้นในสวน ระยะนี้พบว่ามีการระบาดของโรคขี้กลากค่อนข้างรุนแรง และเมื่อระบาดที่ผลส้มโอจะทำให้ผลไม่สวย ขายได้ราคาต่ำ นอกจากนี้ หนอนชอนใบก็มักระบาดเป็นครั้งคราว ในระยะแตกใบอ่อน ผมจะมีวิธีป้องกันและกำจัดอย่างไร เพื่อให้การระบาดหมดไปครับ
วิธีแก้ไข :
 
    โรคขี้กลาก หรือแคงเกอร์ เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาการของโรคเมื่อเข้าทำลายจะปรากฏผลแตกสะเก็ดบนที่ใบ กิ่ง หรือผลส้มโอ แต่การเกิดที่ใบจะมีลักษณะกลมและมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ แต่หากเกิดที่กิ่งมักมีขนาดไม่แน่นอน การระบาดรุนแรงจะทำให้กิ่งแห้งและใบจะร่วงตามมา ส่วนการเกิดโรคที่ผล แผลจะตกสะเก็ดนูนและมียางไหลออกมา เชื้อโรคจะแพร่ระบาดด้วยการพัดพาของน้ำและลม การระบาดของโรคจะรุนแรงที่สุดในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีความชื้นสูงในบรรยากาศและในดิน วิธีป้องกันกำจัดที่ได้ผลดี เมื่อพบการระบาดระยะแรกให้ตัดกิ่งหรือส่วนอื่นๆ ที่เกิดโรคเผาทำลายทิ้งไป หากเกิดการระบาดรุนแรง จำเป็นต้องใช้สารเคมีแนะนำให้ฉีดพ่นด้วยคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ 85 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 40-60 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ทุก 7-10 วัน จนอาการของโรคหมดไป และต้องเลิกฉีดพ่นก่อนเก็บผลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือใช้บอโดมิกเจอร์ ที่ได้จากส่วนผสมของจุนสีกับปูนขาว อัตรา 1:1 โดยน้ำหนัก อัตรา 300+300 กรัม ทำได้ด้วยการละลายในน้ำ ชนิดละ 2 ลิตร กวนหรือเขย่าให้ละลายจนหมด แล้วเทผสมกันลงในน้ำสะอาดอีก 16 ลิตร เขย่าให้เข้ากันอีกครั้ง ใช้พ่นทุก 7-14 วัน จนกว่าการระบาดจะหมดไปจึงให้หยุดฉีดพ่นทันที หนอนชอนใบส้มโอ เกิดจากการเข้าทำลายใบอ่อนของส้มโอจากตัวอ่อน ผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ขนาดโตเต็มวัยเมื่อกางปีกออก 2 ทั้ง 8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเทา ปีกสีเทาเงินสะท้อนแสงแวววาวขอบปีกมีขนยาวปุย มีจุดสีดำข้างละจุด ตัวเมียมักวางไข่ไว้บริเวณใต้ใบของส้มโอ ต่อมาเมื่อฟักออกเป็นตัวระยะแรกมีสีเหลืองอ่อน แล้วเจาะไชเข้าไประหว่างใบส้มโอ ทำให้เกิดเป็นรอยสีขาวเป็นทางคดเคี้ยวไปมา ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ ต่อมาใบจะบิดเบี้ยว ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงจะลดลง นอกจากนี้ รอยแผลที่เกิดจากการเจาะที่ใบ ยังทำให้เป็นช่องทางการเข้าทำลายของโรคแคงเกอร์ได้สะดวกขึ้น การระบาดของโรคจะรุนแรงในฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงต้นเดือนตุลาคม วิธีป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี ให้ตัดใบอ่อนที่มีแมลงเจาะเข้ากัดกินภายใน เผาทำลายทิ้งไปเพื่อลดแหล่งขยายพันธุ์ของแมลงลง แต่เมื่อพบว่ามีการระบาดรุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วยปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9 เปอร์เซ็นต์ อีซี อัตรา 50-100 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ในระยะแตกใบอ่อน ฉีดพ่นห่างกันทุกๆ 10 วัน จนพบว่าการระบาดลดความรุนแรงลงหรือการระบาดหมดไป และให้หยุดฉีดพ่น 1 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวผล
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
มโนรมย์
จังหวัด :
ชัยนาท
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 355
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM