เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
น้ำสะอาดที่เหมาะสำหรับปลาสวยงาม และวิธีการลำเลียงและขนส่งปลาสวยงาม
   
ปัญหา :
 
 
    ผมกำลังเพาะเลี้ยงปลาสวยงามอยู่หลายชนิด แต่ปลาไม่ค่อยสวยงามเท่าที่ควร สอบถามจากผู้รู้หลายท่านพูดตรงกันว่า แหล่งน้ำที่นำมาเพาะเลี้ยงยังไม่เหมาะสม อาจมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม ผมจึงขอเรียนถามว่าน้ำที่ดีนั้นควรมีคุณสมบัติอย่างไร นอกจากนี้ วิธีการขนส่งปลาสวยงามไปยังตลาดควรปฏิบัติอย่างไร จึงจะไม่ทำให้ปลาบอบช้ำครับ และวิธีบำบัดน้ำที่ใช้แล้วให้เป็นน้ำดีด้วยวิธีง่ายๆ ควรทำอย่างไร ผมขอเรียนรบกวนถามเพียงเท่านี้ก่อน
วิธีแก้ไข :
 
     น้ำและแหล่งสำหรับเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ต้องมีปริมาณออกซิเจนในน้ำไม่น้อยกว่า 3 มิลลิกรัม ต่อลิตร ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต้องมีไม่เกิน 30 มิลลิกรัม ต่อลิตร มีค่าความเป็นกรดและด่าง 6-9 มีค่าความเป็นด่าง 90-200 มิลลิกรัม ต่อลิตร ความกระด้างของน้ำประมาณ 75 หรือ 300 มิลลิกรัม ต่อลิตร อุณหภูมิของน้ำอยู่ระหว่าง 23-32 องศาเซลเซียส มีความโปร่งใส 30-60 เซนติเมตร และมีสารแขวนลอยไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่อลิตร ไม่ควรมีก๊าซแอมโมเนียที่เป็นพิษกับปลาในปริมาณ 0.02 มิลลิกรัม ต่อลิตร และมีคลอรีนไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัม ต่อลิตร หากคุณมีแหล่งน้ำดังกล่าว การเลี้ยงปลาสวยงามก็จะประสบความสำเร็จด้วยดี การบรรจุและลำเลียงขนส่งปลาสวยงาม วิธีการขนส่งปลาต้องให้ปลาอยู่ในสภาพสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ประการแรกต้องบรรจุปลาลงในถุงพลาสติกที่มีจนพอเหมาะ มีปริมาณก๊าซออกซิเจนอย่างเพียงพอตลอดการเดินทาง น้ำต้องสะอาด ถุงบรรจุขณะขนส่งต้องคลุมหรือพรางแสงป้องกันแดดเผา หรืออาจบรรจุงถุงใส่ปลาลงในกล่องโฟมเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิของน้ำในถุงอีกทางหนึ่ง ให้แยกปลาตัวที่มีนิสัยดุร้ายออกจากถุงเพื่อป้องกันการตัดตัวอื่น ทำให้เกิดบาดแผลจนลดความสวยงามลงได้ ต้องใส่เกลือลงผสมน้ำในถุงบรรจุปลา ในปริมาณ 0.1-0.2 เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดความเป็นพิษของแอมโมเนียไนไตรต์และลดความเครียดของปลาในระหว่างการขนส่งไปพร้อมกัน และวัสดุที่นำมาใช้ในการขนส่งต้องสะอาดปราศจากการสะสมโรคชนิดต่างๆ วิธีบำบัดน้ำที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ทำได้ดังนี้ ควรมีบ่อพักอย่างน้อยหนึ่งบ่อ อาจเป็นบ่อซีเมนต์หรือบ่อดินก็ได้ ขุดให้ก้นบ่อต่ำกว่าบ่ออื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง นำน้ำที่ต้องการบำบัดลงในบ่อ และปลูกผักบุ้งหรือผักกระเฉดด้วยวิธีล้อมคอกไว้ ป้องกันไม่ให้กระจัดกระจายเต็มบ่อ เพราะจะไม่เป็นระเบียบและเกะกะไม่สะดวกในการจัดการ เพื่อให้พืชเหล่านี้ทำหน้าที่ดูดซับแอมโมเนียและไนเตรตไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพ และควรนำปลาตะเพียนลงเลี้ยงในบ่อ อัตรา 3 ตัว ต่อตารางเมตร ให้กินแพลงก์ตอนและตะกอนแขวนลอยต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ น้ำที่ผ่านการบำบัดมาแล้วสามารถปล่อยลงในแม่น้ำลำคลองได้ แต่หากจะนำน้ำกลับมาใช้เลี้ยงปลาอีกต้องใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในน้ำ อัตรา 11 มิลลิกรัม ต่อลิตร หรืออัตรา 7 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน และทิ้งให้คลอรีนระเหยไปในอากาศจนหมด หรือใช้เวลาประมาณ 4-7 วัน น้ำที่บำบัดแล้ว สามารถนำกลับไปเลี้ยงปลาได้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
5
ตำบล / แขวง :
วังกระแจะ
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ตราด
รหัสไปรษณีย์ :
23000
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 355
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM