เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มีอะไรในน้ำหมักชีวภาพ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมใช้น้ำหมักชีวภาพมาได้ระยะหนึ่งเห็นว่า ได้ผลดีพอสมควร เมื่อนำไปฉีดพ่นต้นไม้จะทำให้ต้นไม้แตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น เพื่อนผมคนหนึ่งเล่าว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพกับทุเรียนจะช่วยให้การเกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ จึงขอเรียนถามว่า ในน้ำหมักชีวภาพนั้นมีสารและจุลินทรีย์อะไรอยู่ในนั้น
วิธีแก้ไข :
 
    ผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร โดยการนำน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ รวม 117 สูตร มาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ผลการวิเคราะห์พบว่า 1. ธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มีปริมาณน้อยมากไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช 2. พบสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจิบเบอเรลลิน ที่มีผลต่อการยืดตัวทางยาวของเซลล์พืช ทำให้ช่อดอกฝืดยาว และเร่งการออกดอก ไซโตโคนิน ช่วยในการขยายตัวด้านข้างของลำต้น และกระตุ้นให้แตกตาด้านข้างของลำต้นพืชเช่นเดียวกัน และ ออกซิน ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ เร่งการเจริญเติบโตของรากและเร่งการเจริญเติบโตของใบพืช 3. พบสารควบคุมแมลง อีก 4 กลุ่มได้แก่ แอลกอฮอล์ เบนซีนไดออน ฟีนอลและเอสเชอ ซึ่งล้วนมีคุณสมบัติการไล่แมลงทั้งสิ้น 4. ความสามารถในการควบคุมโรคพืช สามารถควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ลองกอง ลำไย และมะละกอ ได้สูงถึง 90-100 เปอร์เซ็นต์ (ในสภาพห้องปฏิบัติการ) 5. ในน้ำหมักชีวภาพบางสูตรส่งเสริมให้มีความสามารถสนับสนุนการเจริญเติบโตของเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนได้ โดยเฉพาะน้ำหมักมีอายุเกิน 60 วันไปแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าเชื้อสนับสนุนทำให้เกิดโรคดังกล่าวปลิวตกลงในน้ำหมัก และอาจไม่ได้เกิดจากกระบวนการหมักแต่อย่างใด บทสรุปของงานวิจัย แนะนำว่า ไม่ควรใช้น้ำหมักชีวภาพเพียงอย่างเดียวในการทดแทนปุ๋ย แต่จะมีสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในระดับหนึ่ง และอาจเกิดประโยชน์ได้ ส่วนสารไล่แมลงจะมีในน้ำหมักที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน เท่านั้น การใช้น้ำหมักชีวภาพป้องกันโรคได้ แต่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ เมื่อเกิดการระบาดที่รุนแรงแล้ว และไม่ควรใช้น้ำหมักชีวภาพในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะจะทำให้ผลไม้เน่าเสียหาย เนื่องจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด สำหรับรายละเอียดอื่นๆ นั้นมีอีกมากมาย หลายแง่หลายมุม ในเอกสารวิชาการที่ผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นเอกสารวิชาการเล่มแรกที่เสนอผลงานวิจัยเรื่อง น้ำหมักชีวภาพ ท่านที่ต้องการเอกสารเล่มดังกล่าว โปรดเขียนจดหมายถึง หมอเกษตร ทองกวาว มายังบ้านเลขที่ 95/13 ซอยบุญเปี่ยม ถนนงามวงศ์วาน เขตหลักสี่ กทม. 10210 พร้อมสอดแสตมป์ 12 บาท มาพร้อม ท่านที่ส่งมาก่อนจะได้รับก่อน รีบส่งด่วนครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
วังหงษ์
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
แพร่
รหัสไปรษณีย์ :
54000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 355
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM