เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการผลิตต้นไหลของสตรอว์เบอร์รี่เพื่อใช้ขยายพันธุ์
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีที่อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทิวทัศน์สวยงาม มีน้ำสมบูรณ์ ผมมีความสนใจจะปลูกสตรอว์เบอร์รี่ไว้ประดับสวน แต่ยังขาดความเข้าใจในการผลิตต้นไหลของสตรอว์เบอร์รี่เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ ผมจึงขอรบกวนคุณหมอเกษตร-ทองกวาว ช่วยกรุณาอธิบายวิธีผลิตต้นไหลให้ทราบด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    สตรอว์เบอร์รี่ เป็นพืชที่มีอายุข้ามปีหรือพูดง่ายๆ ก็คือ มีอายุหลายปี แต่โดยทั่วไปเกษตรกรจะปลูกเพียงปีเดียวก็จะรื้อแปลงปลูกใหม่ทุกปี ลักษณะของต้นสตรอว์เบอร์รี่ จะแตกกอเป็นพุ่มเตี้ย ต้นสูง 20 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มเฉลี่ย 25 เซนติเมตร แต่จะมีระบบรากลึกลงไปในดินประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นจริงสูงเพียง 1 นิ้ว แต่จะมีก้านใบ แตกออกจากลำต้นค่อนข้างยาว ใบจะมีใบย่อย 3 ใบ ตาที่เกิดบริเวณโคนใบติดกับลำต้นจะพัฒนาเป็นตาดอก ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีขาว หรือชมพู ส่วนเกสรตัวผู้มีสีเหลือง ฐานรองดอกจะพัฒนาเป็นเนื้อผลที่มีเมล็ด ติดอยู่กับผิวนอกของผล ลักษณะของผลมีหลายรูปทรง ผลมีทั้งทรงกลม กลมแป้น หรือแหลมยาว ส่วนขยายพันธุ์เรียกว่า ไหล การปลูกสตรอว์เบอร์รี่เพื่อผลิตต้นไหล ประการแรก ต้องคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ปราศจากโรคและแมลงเข้าทำลาย พื้นที่ปลูกเพื่อผลิตต้นไหล ต้องเป็นแหล่งที่ไม่มีโรคและแมลงศัตรูระบาดมาก่อน ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำอย่างพอเพียง ดังนั้น แหล่งผลิตต้นไหลได้ดี ควรเป็นพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,000 เมตร เนื่องจากมีอากาศเย็นและมีโรคระบาดน้อยกว่าในพื้นที่ราบ จากนั้นจึงนำลงมาปลูกในที่ราบก็จะได้ผลดี การเตรียมแปลงปลูก เตรียมดิน ด้วยการไถดะไถแปรพร้อมใส่ปูนขาว อัตรา 60-80 กิโลกรัม ต่อไร่ ไถกลบ เก็บวัชพืชออกให้สะอาด ตากดินไว้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกและหว่านให้ทั่วแปลงอัตรา 2 ตัน ต่อไร่ พร้อมไถพรวนอีกครั้ง แล้วจึงยกร่อง กว้าง 75 เซนติเมตร เกลี่ยหน้าแปลงสูงจากเดิม 20-30 เซนติเมตร ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ หากเป็นที่ลาดเอียงให้วางแนวร่องปลูกแนวลาดเอียง ปลูกต้นแม่แถวเดียวส่วนกลางของแปลง ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 80-90 เซนติเมตร พร้อมกับตัดไหลที่ติดออกมาด้วยทิ้งไป บำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรง ช่วงปลูกที่ดีที่สุดควรปลูกต้นเดือนพฤษภาคม ปล่อยให้ต้นแม่แตกกอ 4-5 ต้น จากนั้นต้นแม่จะเริ่มสร้างไหลออกรอบต้นไหล เป็นลำต้นใต้ดินชนิดหนึ่งมีลักษณะกลมยาว เจริญเติบโตทอดยาวขนานไปกับผิวดิน และมีลำต้นแทงขึ้นเหนือดิน ส่วนรากจะแทงลงในดินเกิดเป็นต้นลูกเกิดขึ้น ทั้งนี้ ต้นแม่พันธุ์ 1 กอ สามารถสร้างไหลได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 15-20 สาย แต่ละสายมีต้นไหลเกิดขึ้นประมาณ 10 ต้น แต่หนึ่งกอจะคัดเลือกต้นไหลที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้เพียง 40-60 ต้น เท่านั้น เมื่อพบว่าไหลที่เกิดจากต้นแม่เริ่มเกิดเป็นต้นบนสายไหลและมีการแทงปุ่มรากออกมา ให้นำถุงพลาสติกเพาะชำ ขนาด 3x5 นิ้ว ที่มีวัสดุปลูกบรรจุอยู่ รองรับส่วนใต้ปุ่มราก หาวัสดุมีน้ำหนักกดทับสายไหลให้สัมผัสกับวัสดุปลูก รดน้ำให้ชุ่ม ในไม่ช้ารากและต้นจะพัฒนาจนสมบูรณ์ ปล่อยไว้จนถึงเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายน ให้ตัดต้นไหลออกจากต้นแม่ให้เหลือความยาวจากต้นไหลประมาณ 3 เซนติเมตร ป้องกันการเน่าของต้นใหม่ นำเก็บบำรุงในเรือนเพาะชำ จนต้นไหลฟื้นตัวแข็งแรงดี จึงนำไปปลูกในแปลงปลูกได้ตามต้องการ น่ารู้เกี่ยวกับลำต้นใต้ดิน (Underground Stem) เหง้า (rhizome หรือ root stock) หมายถึง ลำต้นใต้ดินที่เจริญเติบโตในแนวขนานกับผิวดิน มีลักษณะกลมยาวหรือแตกเป็นแง่ง และมีข้อปล้องสั้นๆ เช่น ขมิ้น ขิง ข่า และพุทธรักษา ทูเบอร์ (tuber) หมายถึง ลำต้นใต้ดินที่มีขนาดสั้น ประกอบด้วย ข้อและปล้อง 3-4 ปล้อง มีการสะสมอาหารจนอวบกลม มีตาอยู่รอบ และตามักบุ๋มเข้าไปในหัว เช่น หัวมันฝรั่ง และมันหัวเสือ บัลบ์ (bulb) หมายถึง ลำต้นใต้ดินที่มีลักษณะตั้งตรง มีข้อปล้องสั้น ตามปล้องมีเกล็ด ทำหน้าที่สะสมอาหาร มีกาบบางๆ ห่อหุ้มลำต้นไว้หลายชั้น จนมีลักษณะเป็นหัวกลม ส่วนล่างมีรากเป็นกระจุก เช่น ต้นหอม กระเทียม พลับพลึง และว่านสี่ทิศ คอร์ม (Corm) หมายถึง ลำต้นใต้ดินที่มีลำต้นตรง มีลักษณะกลมยาว หรือกลมแบน มีข้อปล้องเห็นชัดเจน ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆ หุ้มไว้วาง ทำให้ดูอวบกลม ตาตามข้อสามารถงอกเป็นใบได้ ด้านล่างมีรากฝอยเป็นจำนวนมาก เช่น เผือก แห้ว บัวสวรรค์ และซ่อนกลิ่น ไหล (stolon หรือ runner) หมายถึง ลำต้นใต้ดินที่เลื้อยตามผิวดินหรือผิวน้ำ มีข้อและปล้องชัดเจน ที่ข้อมีรากแทงลงดินเพื่อช่วยยึดลำต้น นอกจากนี้ บริเวณข้อจะมีตาที่พัฒนาไปเป็นแขนงยาวขนานไปกับพื้นดินหรือผิวน้ำ และจะงอกรากและลำต้นเกิดขึ้นมาใหม่ ที่สามารถตัดแยกไปปลูกขยายพันธุ์ได้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ บัวบก ผักบุ้ง แว่นแก้ว และหญ้านวลน้อย
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ดุสิต
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 354
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM