เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มูลค้างคาว มีคุณสมบัติ และการนำไปทำเป็นปุ๋ย
   
ปัญหา :
 
 
    มูลค้างคาวมีสมบัติอย่างไร และนำไปใช้เป็นปุ๋ยควรทำอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    มูลค้างคาว โดยธรรมชาติมักมีธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่ามูลสัตว์ชนิดอื่น แต่ทั้งนี้ค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับต้นไม้เมื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ย มักมีความแปรปรวนสูง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นและฤดูกาล อย่างไรก็ตาม ค่าวิเคราะห์หาธาตุอาหารในมูลค้างคาวที่มีความชื้น 9 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 3.1 12.2 และ 0.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารของมูลสัตว์หลายชนิดพบว่า มูลค้างคาวให้ธาตุฟอสฟอรัสสูงจึงมีบทบาทในการเร่งพัฒนารากพืชและเร่งให้ติดดอกผลเร็วขึ้น ส่วนธาตุไนโตรเจนที่จะช่วยบำรุงต้นและใบนั้นอยู่ในระดับต่ำ และโพแทสเซียมมีปริมาณน้อยมาก จึงไม่สามารถช่วยการเพิ่มความหวานและสีของผลไม้ได้ หากย้อนหลังไปเมื่อ 30-40 ปีก่อน ป่าไม้ยังมีมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง การใส่ปุ๋ยมูลค้างคาวให้กับต้นไม้โดยเฉพาะไม้ผลเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ ในทางกลับกัน ปัจจุบันดินของบ้านเราซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น ฝนตกชุกป่าไม้ถูกทำลายไปมาก หน้าดินถูกชะล้างอย่างรุนแรง ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ หากต้องการเพิ่มผลผลิตพืชในระยะสั้น ปุ๋ยเคมียังมีความจำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ตาม จึงจะได้ผลดี หากถามว่าจะใช้มูลค้างคาวอัตรากี่กิโลกรัมต่อต้น เมื่ออดีตเกษตรกรนิยมใช้ อัตรา 1 ใน 4 ของปี๊บ ต่อไม้ผลที่ให้ผลผลิตแล้ว 1 ต้น ปัจจุบันหากต้องการให้ได้ผลดี ต้องนำมูลค้างคาวและดินที่ปลูกต้นไม้มาวิเคราะห์หาธาตุอาหารก่อน หลังจากได้ค่าวิเคราะห์แล้ว นักวิชาการ กลุ่มปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร หรือกรมพัฒนาที่ดินจะสามารถให้คำตอบได้อย่างชัดเจนและถูกต้องแม่นยำครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
มหาสารคาม
รหัสไปรษณีย์ :
44000
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 353
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM