เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจจะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม อยากทราบข้อมูลการเลี้ยงอย่างไร จึงจะได้ผลดี และแหล่งพันธุ์กุ้งผมจะหาซื้อได้จากที่ไหนครับ
วิธีแก้ไข :
 
    กุ้งก้ามกราม มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง และกุ้งใหญ่ ส่วนภาคใต้เรียกว่า แม่กุ้ง กุ้งก้ามกรามสามารถดำรงชีพได้ทั้งในน้ำกร่อยและน้ำจืด อดีตเคยมีชุกชุมอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง ท่าจีน แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี และในทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันกุ้งก้ามกรามตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณลดลง สาเหตุเนื่องจากมีการจับกุ้งก้ามกรามมากเกินควร ที่สำคัญคือ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมโทรมลง วิธีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อให้ได้ผลดี จึงควรเลือกสถานที่เลี้ยง ดังนี้ ดินควรเป็นดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียว สามารถเก็บกักน้ำได้ดีและดินไม่พังทลายลงได้ง่าย ไม่ควรเป็นดินกรดจัด มีแหล่งน้ำสะอาดอย่างพอเพียงและปราศจากสารพิษ บ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามไม่ควรอยู่ห่างไกลจากตลาดมากเกินไป อีกทั้งอยู่ใกล้กับแหล่งพันธุ์ มีการคมนาคมที่สะดวกและมีระบบไฟฟ้าใช้ในฟาร์มกุ้งได้ บ่อเลี้ยงกุ้ง รูปทรงของบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 25 เมตร ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับพื้นที่ แต่ไม่ควรยาวเกิน 50 เมตร โดยให้แนวยาวตามทิศทางลมพัดผ่าน เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับน้ำในบ่อ สำหรับบ่ออนุบาลมีขนาด 1-5 ไร่ ก็พอ พื้นบ่อต้องอัดแน่นให้เอียงไปทางใดทางหนึ่งของบ่อ หรือลาดเทตามยาวไปพบกันที่ตอนกลางของบ่อ และให้มีระบบระบายน้ำได้อย่างสะดวก ความลึกของบ่อให้เก็บกักน้ำได้ลึก 0.80-1.20 เมตร และต้องเสริมคันบ่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงฝนตกหนัก ท่อระบายน้ำเข้าและออกต้องแยกกันคนละด้านของบ่อ หากเป็นบ่อใหม่ต้องหว่านปูนขาว อัตรา 60-100 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อลดความเป็นกรดของดิน แต่ในบ่อเก่าที่จับกุ้งแล้ว ให้สูบน้ำออกจนแห้งพร้อมกำจัดศัตรูพืช เช่น ปลาช่อน และงู ออกให้หมด หรืออาจใช้โล่ติ๊นหรือกากชากำจัดศัตรูก็ได้เช่นกัน พร้อมกำจัดวัชพืชในบ่อให้สะอาด หว่านปูนขาวในอัตราเดียวกับบ่อใหม่และตากบ่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อยเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงสูบน้ำเข้าบ่อรักษาระดับน้ำลึกที่ 60-80 เซนติเมตร ทั้งนี้ ต้องมีตาข่ายไนลอนสีฟ้ากรองที่ปลายท่อสูบน้ำ เพื่อป้องกันศัตรูกุ้งติดเข้าไปในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและกักน้ำไว้ 2-3 วัน ก่อนนำลูกกุ้งปล่อยลงในบ่อ ลูกกุ้งที่ใช้เลี้ยงต้องแข็งแรงปราดเปรียว ลำตัวไม่ขาวขุ่น การเคลื่อนย้ายลูกกุ้งต้องบรรจุในถุงพลาสติกที่มีน้ำสะอาด และอัดก๊าซออกซิเจน สิ่งสำคัญก่อนปล่อยลูกกุ้งออกจากถุง ให้นำถุงบรรจุลูกกุ้งวางแช่ลงน้ำในบ่อเลี้ยงเพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำภายในถุงกับน้ำในบ่อเลี้ยงให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน หรือใช้เวลาประมาณ 20 นาที แล้วเปิดจากถุงช้าๆ ปล่อยน้ำภายนอกไหลเข้าภายในถุงและปล่อยลูกกุ้งออกจากถุงพลาสติกจนหมด ลูกกุ้งขนาด 1-2 เซนติเมตร อัตรา 5-10 ตัว ต่อหนึ่งตารางเมตร เวลาปล่อยลูกกุ้งควรเป็นเวลาเช้าหรือเวลาเย็น นับว่าดีที่สุด เนื่องจากกุ้งมีกระเพาะลำไส้สั้น จึงให้อาหารแต่น้อย และบ่อยครั้ง 2-4 ครั้ง อาหารที่เหมาะกับการเลี้ยงกุ้งควรให้แทะกินในรูปอาหารเม็ดหรือแท่งสั้นๆ ที่คงสภาพเม็ดอยู่ในน้ำได้นาน 6-12 ชั่วโมง วิธีให้อาหารกุ้งด้วยวิธีหว่านหรือโปรยรอบบ่อ และห่างจากขอบบ่อ 1-3 เมตร ปริมาณที่ให้ช่วงเช้า 3 ส่วน ช่วงเย็นอีก 7 ส่วน รวมแล้วปริมาณที่ให้ 3 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว ในช่วงฝนตกหรือมีอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น มีอากาศหนาวเย็นหรือหมอกลงจัด ควรลดปริมาณการให้อาหารลง สำหรับสูตรอาหารกุ้งที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้ การตรวจวัดการเจริญเติบโตของกุ้ง ทำได้ด้วยวิธีส่องไฟฉายลงบริเวณขอบบ่อ เวลา 04.00-05.00 น. แล้ว คำนวณด้วยสายตาหรือใช้วิธีทอดแหจับขึ้นมาวัดขนาดก็ได้เช่นเดียวกัน เมื่อพบว่าตัวกุ้งมีคราบสีดำตามลำตัวเนื่องจากตะไคร่น้ำจับ จำเป็นต้องรีบถ่ายน้ำออกจากบ่อจะช่วยลดอาการดังกล่าวลงได้ การถ่ายน้ำควรเริ่มครั้งแรก เมื่อเลี้ยงกุ้งไปแล้ว 3 เดือน วิธีถ่ายน้ำด้วยการระบายน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน ของปริมาณน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง เดือนต่อไปควรถ่ายน้ำเดือนละ 2 ครั้ง เมื่อเลี้ยงกุ้งเป็นเวลา 4-5 เดือน ควรดูดขี้เลนออกจากก้นบ่อเลี้ยงกุ้ง เมื่อกุ้งได้น้ำใหม่จึงเริ่มลอกคราบ ระยะนี้ควรลดปริมาณอาหารลงบ้าง การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอย่างถูกวิธี เมื่อเลี้ยงครบ 6 เดือน เริ่มจับกุ้งจำหน่ายได้ โดยจับเฉพาะกุ้งเพศเมีย และกุ้งจิ๊กโก๋หรือกุ้งที่แคระแกร็นจำหน่ายก่อน จากนั้นเลี้ยงกุ้งเพศผู้อีก 1-2 เดือน จึงจับทั้งบ่อด้วยวิธีลากอวน ขนาดตา 4x4 เซนติเมตร ในตอนเช้า ก่อนลากอวนให้ลดระดับน้ำลงให้เหลือ 50 เซนติเมตร จะช่วยให้จับกุ้งได้สะดวกขึ้น การคัดขนาดและแยกประเภทกุ้ง ผลผลิตเฉลี่ยของกุ้งประมาณ 200 กิโลกรัม ต่อไร่ ขนาดกุ้งที่จัดชั้นไว้ ดังนี้ ตัวผู้ใหญ่ ขนาด 10 ตัว ต่อกิโลกรัม ตัวผู้รอง ขนาด 15 ตัว ต่อกิโลกรัม และตัวผู้ขนาดเล็ก ขนาด 20 ตัว ต่อกิโลกรัม ตัวผู้ขายาว ราคาถูกกว่ากุ้งเพศผู้ปกติ กุ้งเพศเมียมีไข่ราคาจะถูกกว่ากุ้งเพศเมียไม่มีไข่ การเก็บรักษาและเตรียมขนส่ง ให้ใช้น้ำแข็งบด 4 ลูก ต่อกุ้ง 100 กิโลกรัม บรรจุลงในเข่งบุด้วยถุงปุ๋ยที่สะอาด แล้วส่งเข้าสู่ตลาดหรือแหล่งรวมผลผลิตทันที แหล่งจำหน่ายกุ้งก้ามกรามส่วนใหญ่มีการเพาะเลี้ยงอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา ต้องการพันธุ์กุ้ง ติดต่อได้ที่ สำนักงานประมงอำเภอ ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประมงจังหวัดสุพรรณบุรี โทร. (035) 555-458 ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
15
ตำบล / แขวง :
สระนกแก้ว
อำเภอ / เขต :
โพนทอง
จังหวัด :
ร้อยเอ็ด
รหัสไปรษณีย์ :
45110
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 351
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM