เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการเลี้ยงปลาไหล และการลดปริมาณโปรตีนในอาหารสุกร
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีปัญหาขอเรียนถามคุณหมอเกษตรดังนี้ 
  1.  วิธีเพาะเลี้ยงปลาไหลอย่างละเอียดทำอย่างไร
  2.  การลดปริมาณโปรตีนในอาหารสุกร จาก 18 เปอร์เซ็นต์ ลงเหลือ 16 เปอร์เซ็นต์ นั้นจะลดส่วนใดลง 3. ในฤดูหนาว สุกรเจริญเติบโตช้าลง เนื่องจากกินอาหารได้น้อยลง จริงหรือไม่ และจะแก้ไขอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
  1. วิธีการเพาะเลี้ยงปลาไหล ปลาไหลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีแพร่กระจายอยู่ทั่วประเทศ กินอาหารได้ทั้งยังมีชีวิตและซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นๆ ส่วนฤดูแล้งจะขุดรูเข้าอาศัยอยู่ลึกลงดินประมาณ 1.0-1.5 เมตร ปลาไหล เป็นปลาที่มีนิสัยออกหากินในเวลากลางคืน และสามารถเปลี่ยนเพศได้ เมื่อมีน้ำหนักตัว 100-300 กรัม จะเป็นเพศเมีย หากมีน้ำหนัก 400 กรัมขึ้นไป จะเป็นเพศผู้ทั้งหมด ปลาไหลจะเริ่มวางไข่ขณะมีลำตัวยาว 65 เซนติเมตร หรือมีอายุประมาณ 1 ปี และวางไข่คราวละ 400-450 ฟอง ฤดูวางไข่อยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายน ในแหล่งน้ำตื้นๆ ใกล้ผิวน้ำ ด้วยการก่อหวอดเป็นวงกลม คล้ายขนมโดนัท ลักษณะของไข่มีสีเหลืองอ่อนทึบแสง ผนังหนา มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 2 มิลลิเมตร ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 6-10 วัน การเพาะเลี้ยงปลาไหล ปัจจุบันยังไม่สามารถผสมเทียมได้ จึงจำเป็นต้องเก็บรวบรวมลูกปลามาจากแหล่งน้ำจืดที่อยู่ใกล้เคียงมาเพาะเลี้ยงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ส่วนวิธีเลี้ยงเพื่อให้ผสมพันธุ์และวางไข่ที่ไม่ใช้สภาพธรรมชาติ ไข่ปลาไหลมักมีเชื้อราเข้าทำลายเป็นส่วนใหญ่ เมื่อรวบรวมหรือรับซื้อลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวที่มีความยาว 2.5 เซนติเมตร จึงนำไปอนุบาลในกะละมังพลาสติก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร ที่ล้างให้สะอาดแล้วเติมน้ำให้มีระดับลึก 20 เซนติเมตร อัตรา 500 ตัว ต่อกะละมังหนึ่งใบ ระยะนี้ให้ไรแดงกินเป็นอาหาร เลี้ยงต่อไปอีก 3 สัปดาห์ ลูกปลาจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ระยะนี้ให้ใช้อาหารปลาดุกเล็กปั้นเป็นก้อนให้กินสลับกับไรแดง หมั่นถ่ายน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ อนุบาลต่อจนลูกปลามีลำตัวยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เพิ่มอาหารปลาเป็ดสดที่สับละเอียด ปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 มื้อ เวลาเช้าและเย็น จากนั้นนำท่อพีวีซีชนิดทำท่อประปาทั่วไป ตัดให้มีความยาว 20 เซนติเมตร ให้เป็นที่หลบซ่อนตัว กะละมังละ 3-4 ท่อน ครบ 6 สัปดาห์ คัดเลือกลูกปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เลี้ยงในท่อซีเมนต์กลม หรือถังส้วม ฉาบพื้นด้วยปูนซีเมนต์ป้องกันน้ำรั่วซึมออกจากบ่อหรือถังส้วม ล้างน้ำปูนออกจนสะอาด หมดฤทธิ์ปูน อาจใช้วิธีแช่ขังด้วยน้ำส้มสายชูเจือจาง 2-3 ครั้ง จะช่วยให้หมดฤทธิ์ปูนเร็วขึ้น วางท่อระบายน้ำทิ้ง พร้อมอุปกรณ์บังคับเปิดและปิดได้ ปูทับด้วยฟางข้าวแห้งหนา 30 เซนติเมตร และทับด้วยดินเหนียวอีก 10 เซนติเมตร เติมน้ำให้มีระดับลึก 10 เซนติเมตร เหนือผิวดิน หมักไว้เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ จนเกิดไรแดงหรือหนอนแดง จึงนำลูกปลาขนาดลำตัวยาว 8-10 เซนติเมตร ปล่อยลงบ่อซีเมนต์ อัตรา 30 ตัว ต่อตารางเมตร หรือขนาดบ่อซีเมนต์ที่ทำจากถังส้วมให้ใช้อัตราปล่อย 100 ตัว ต่อหนึ่งบ่อ พร้อมให้ปลาเป็ดสับเป็นชิ้นทุบจนแตกแช่น้ำไว้ 10-15 นาที กินเป็นอาหารเวลา 15.00-16.00 น. เมื่อปลาไหลมีขนาดใหญ่ขึ้นต้องเสริมถังส้วมกลมอีกหนึ่งอัน ป้องกันปลาไหลกระโดดหนีเมื่อได้น้ำ หมั่นถ่ายน้ำพร้อมให้อาหาร 1-3 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวปลาโดยรวมใช้เวลา 6-8 เดือน จะได้น้ำหนัก 3-5 ตัว ต่อกิโลกรัม หรือให้ผลผลิต 20-30 กิโลกรัม ต่อบ่อ มีอัตราแลกเนื้อ 1:4:5 ขนาดดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาด หากมีการเลี้ยงในบ่อขนาดใหญ่ ให้ใช้วิธีเดียวกัน แต่วิธีให้อาหารควรให้เป็นจุดๆ จนทั่วบ่อ ผลการวิจัยของกรมประมงพบว่ามีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58 บาท รายละเอียดอื่นๆ ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยประมงปัตตานี โทร. (07) 343-9123 และ (07) 343-9125 ในวันเวลาทำการ 
  2.  การลดปริมาณโปรตีนในอาหารสุกร จาก 18 เปอร์เซ็นต์ ให้เหลือเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ ก่อนอื่นขออธิบายว่า แหล่งอาหารโปรตีน ได้จากปลาป่น มีโปรตีน 50-60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหางนมผง ปลายข้าว รำละเอียด ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และมันสำปะหลัง มีโปรตีน 30-40, 8, 12, 8, 11 และ 2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ความต้องการโปรตีนของสุกรแต่ละวัยนั้น มีความแตกต่างกัน เช่น สุกรระยะที่มีน้ำหนัก 20-35 กิโลกรัม ต้องการโปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสุกรระยะน้ำหนัก 35-60 กิโลกรัม ต้องการโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ สูตรอาหารสุกรที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ มีส่วนประกอบของวัตถุดิบดังนี้ ปลายข้าว รำละเอียด กากถั่วเหลือง ปลาป่น ไดแคลเซียมฟอสเฟต เกลือป่น และพรีมิกซ์ 60.0, 20.0, 13.0, 4.0, 2.0, 0.5 และ 0.5 กิโลกรัม ส่วนสูตรอาหารที่มีปริมาณโปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์ จะมีส่วนประกอบของวัตถุดิบดังนี้ ปลายข้าว รำละเอียด กากถั่วเหลือง ปลาป่น ไดแคลเซียมฟอสเฟต เกลือป่น ไลซีน และพรีมิกซ์ 50.4, 15.0, 22.0, 5.0, 4.0, 2.0, 0.5, 0.1 และ 0.5 กิโลกรัม ตามลำดับ จากข้อมูลตัวเลขข้างต้นพบว่า สูตรอาหารโปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์นั้น มีปริมาณกากถั่วเหลือง และปลาป่น สูงกว่าสูตรอาหารโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ 9 และ 1 กิโลกรัม ตามลำดับ วัตถุดิบทั้งสองชนิดเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของสูตรอาหารสัตว์ในปัจจุบัน 3. ในฤดูหนาว มีอากาศหนาวเย็น จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของสุกรน้อยมาก ซึ่งตรงกันข้ามกับในช่วงอากาศร้อนจะมีผลมากกว่า ในช่วงอากาศร้อนจัด ฟาร์มขนาดใหญ่ต้องฉีดพ่นน้ำให้เป็นละอองเพื่อลดอุณหภูมิทั้งสภาพแวดล้อมและในตัวสุกรเองด้วย ความร้อนดังกล่าวจะทำให้สุกรกินอาหารได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม แม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรให้อาหารดีมีคุณภาพ โรงเรือนเลี้ยงที่ดี การจัดการและการป้องกันโรคที่ดี ก็จะทำให้สุกรสมบูรณ์และแข็งแรงเป็นปกติครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
อุตรดิตถ์
รหัสไปรษณีย์ :
53000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 350
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM