เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
หอยเชอรี่ระบาดรุนแรงมาก จะมีวิธีควบคุมอย่างไรให้หมดไปจากประเทศไทย
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเป็นเกษตรกรทำสวนและทำนาไปพร้อมกัน แต่ยังไปไม่ถึงไร่นาสวนผสม ขณะนี้ในนาข้าวของผมเกิดการระบาดของหอยเชอรี่ทำลายต้นข้าวเสียหายอย่างมาก ผมจะมีวิธีป้องกันและกำจัดอย่างไร เพื่อให้หอยชนิดนี้หมดไปจากนาของผม หวังว่าคงได้ข้อแนะนำที่ดีจากคุณหมอเกษตร
วิธีแก้ไข :
 
    หอยเชอรี่ เป็นหอยที่มีความสามารถในการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว หอยชนิดนี้มีผู้นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น พร้อมๆ กับนำมาจากไต้หวัน ระหว่างปี พ.ศ. 2525-2526 เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นหอยประดับในตู้ปลา โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้เพาะเลี้ยงเมื่อเห็นว่ามีปริมาณมากเกินความต้องการจึงนำไปทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองบางส่วน จึงยิ่งทำให้มีการขยายพันธุ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมบ้านเราอุดมสมบูรณ์มาก มีอาหารให้กินตลอดปีและไม่มีอากาศหนาวที่คอยทำลายประชากรของหอยชนิดนี้ การระบาดในนาข้าวเริ่มพบความรุนแรงครั้งแรกที่ตำบลศีรษะจระเข้น้อย อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ต่อมาในฤดูปลูกปี 2537-2538 เกิดน้ำท่วมครั้งสำคัญในหลายจังหวัด จึงเป็นการเร่งให้หอยเชอรี่ระบาดไปในแหล่งอื่นๆ อีก 60 จังหวัด ทำความเสียหายให้กับประเทศชาติ มีมูลค่ามหาศาล ลักษณะของหอยเชอรี่ มีรูปร่างคล้ายหอยโข่ง สีของเปลือกมีทั้งสีน้ำตาล และสีดำคล้ำ หอยจะเริ่มวางไข่เมื่อมีอายุเพียง 3 เดือน ตัวเต็มวัยวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 2.5 เซนติเมตร การวางไข่ เพศเมียจะวางไข่อยู่เหนือระดับน้ำเล็กน้อย ตามพงหญ้า ตามหลักเสาที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองหรือในนา วางไข่คราวละ 388-3,000 ฟอง ในฤดูฝนจะวางไข่ได้ 10-14 ครั้ง ในหนึ่งเดือน ส่วนในฤดูร้อน ความถี่ของการวางไข่จะลดลง ลูกหอยจะฟักออกเป็นตัว หลังจากวางไข่แล้ว 7-12 วัน ระยะแรกลูกหอยกินสาหร่ายในน้ำเป็นอาหาร เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเริ่มกัดกินต้นข้าวส่วนที่อยู่ใต้น้ำ กินเป็นอาหาร แต่ละวันมีความสามารถกินอาหารได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว สมมติว่าหอยมีน้ำหนัก 50 กรัม หอยจะกินอาหารได้มากถึง 25 กรัม วิธีป้องกันกำจัดหรือวิธีควบคุม การระบาดของหอยเชอรี่ทีได้ผล ขอแนะนำให้ทำหลายวิธีผสมผสานกันไป ควรเริ่มตั้งแต่ การใช้ตาข่ายไนลอนสีฟ้า กรองน้ำขณะสูบน้ำเข้าหรือระบายน้ำออกจากผืนนา ป้องกันหอยขนาดเล็กและไข่ของหอยเชอรี่ผ่านเข้าไปในนา หากจับได้ให้นำไปหมักหรือทำลายทิ้ง ให้ปักหลักเสาไม้รวก หลอกให้หอยขึ้นมาวางไข่ตามริมคันนาห่างกันทุกๆ 5-8 เมตร หลังพบเห็นไข่ให้นำไปทำลายทิ้ง ทำติดต่อกัน 4-6 สัปดาห์ หลังจากสูบหรือระบายน้ำเข้าสู่แปลงนา เมื่อพบเห็นตัวหอยและไข่ลอยอยู่ในน้ำ ให้ใช้สวิงตักขึ้นมาทำลาย การใช้สารฆ่าหอย เพื่อควบคุมปริมาณของหอยเชอรี่หากพบว่ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้ นิโคลซาไมด์ 70 เปอร์เซ็นต์ wp อัตรา 50 กรัม ต่อไร่ โดยวิธีนำมาละลายน้ำฉีดพ่นลงนา หรือใช้ เมทัลดีไฮด์ 5 เปอร์เซ็นต์ ชนิดเม็ด หว่านในอัตรา 0.5-1 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือใช้คอปเปอร์ซัลเฟต อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อไร่ ด้วยการละลายน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วแปลง ขณะฉีดพ่นหรือหว่านสารฆ่าหอย ต้องรักษาระดับน้ำในแปลงให้ลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร โดยเฉพาะในที่ลุ่มต่ำจะมีปริมาณหอยอาศัยอยู่มากที่สุด และให้ใช้สารฆ่าหอยทันทีหลังจากหว่านหรือปักดำข้าวเพื่อเป็นการกำจัดหอยที่ฝังตัวจำศีลหลังเก็บเกี่ยวข้าวรุ่นก่อน พร้อมกับหอยที่อาจแพร่กระจายเข้ามาพร้อมกับน้ำที่สูบหรือระบายเข้านา คำเตือนการใช้สารฆ่าหอย ให้ใช้เพียงครั้งเดียวต่อการปลูกข้าวหนึ่งฤดูเท่านั้น ต้องใช้สารฆ่าหอยขณะมีน้ำขังนาและใช้ในวันที่ไม่มีฝนตก และห้ามใช้สารเอนโดซัลแฟนอย่างเด็ดขาด เพราะมีผลต่อการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง ต้องการข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร บางเขน จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-4535 ต่อ 159 ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
วังทอง
จังหวัด :
พิษณุโลก
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 17 ฉบับที่ 350
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM