เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกสวนยางพาราที่สกลนครแล้วตายมาก การใช้วุ้นเกษตรรองก้นหลุมช่วยลดการตายได้จริงหรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
  1. ผมปลูกต้นยางพารา เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2547 ที่ผ่านมา ระยะแรกต้นก็สวยดี แต่พอย่างเข้าเดือนพฤศจิกายน ต้นยางพาราเริ่มแห้งตายร้อยกว่าต้น ผมลองใช้เล็บมือขูดเปลือกต้นยางพาราดู ปรากฏว่าแห้งสนิท สวนยางพาราของผมอยู่ที่เทือกเขาภูพาน จะเป็นไปได้หรือไม่ครับว่า ที่ตายมีสาเหตุเกิดจากการขาดน้ำเนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าทุกปี
  2. ในช่วงอากาศแห้งแล้ง รากยางพาราได้รับน้ำน้อย หากใช้ฮอร์โมนหรือปุ๋ยเกล็ด ฉีดพ่นทางใบ จะช่วยให้มีการรอดตายได้จริงหรือไม่
  3. ผมเคยอ่านหนังสือพบว่า เคยมีการโฆษณาขายวุ้นเกษตร เขาอธิบายไว้ว่า หากนำไปรองก้นหลุมก่อนปลูกต้นไม้ จะทำให้ต้นไม้รอดตายทุกต้น ผมเคยอ่านมาเมื่อ 6-7 ปีก่อน แต่จำไม่ได้ว่ามีขายอยู่ที่ไหน ในแถบภาคอีสาน ขอคุณหมอช่วยแนะนำแหล่งจำหน่วยด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
  1. การปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีวิธีการปลูกแตกต่างจากภาคใต้และภาคตะวันออก เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระยะฝนทิ้งช่วงค่อนข้างยาวนานกว่า วิธีการปลูกยางพารา ที่เปอร์เซ็นต์รอดตายสูง สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร แนะนำไว้ดังนี้ ให้ขุดหลุมกว้างและลึก 50 เซนติเมตรเท่ากัน นำดินชั้นบนกับดินชั้นล่างแยกจากกัน คลุกดินชั้นล่างด้วยปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 3-5 กิโลกรัม และใส่เศษใบไม้แห้งหรือฟางข้าวลงในหลุมปริมาณ 3 ใน 4 ของหลุม แล้วอัดพอแน่น เพื่อช่วยให้การดูดซับน้ำไว้ในดินได้นานขึ้น เมื่อเศษใบไม้เน่าสลายจะกลายเป็นอาหารของต้นยางพาราได้อีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ ควรรองก้นหลุมปลูกด้วยหินฟอสเฟตอัตรา 170-200 กรัม ต่อหลุม เพื่อกระตุ้นระบบรากของต้นยางพัฒนาได้เร็วขึ้นกว่าต้นที่ไม่ใช้หินฟอสเฟต ช่วงปลูกที่เหมาะสมแนะนำให้ปลูกช่วงต้นฤดูฝนและต้องปลูกให้เสร็จก่อน วันที่ 15 กรกฎาคม ต้นกล้าที่นำมาปลูกควรเป็นต้นยางพาราชำถุง ที่มีใบ 2 ฉัตร หรือสองชั้น การวางตำแหน่งลงในหลุมปลูก ต้องหันแผ่นตาไปแนวทางเหนือหรือใต้ป้องกันแสงแดดแผดเผา ให้ฉีกถุงเพาะชำออกเบาๆ อย่าให้วัสดุเพาะหลุดออกจากราก วางลงตอนกลางหลุมปลูก หากเกรงว่ารากจะฉีกขาด ให้ใช้วิธีเฉือนก้นถุงเพาะชำให้ขาดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง แล้ววางลงตอนกลางหลุมปลูก เกลี่ยดินที่ผสมไว้ก่อนให้แน่น รักษาระดับแผลของตาด้านล่างไว้เหนือระดับผิวดินเล็กน้อย จากนั้นใช้มือดึงถุงพลาสติกขึ้นตามแนวตั้ง ในที่สุดถุงพลาสติกเพาะชำจะหลุดออก พูนโคนให้สูงขึ้นเล็กน้อยเป็นหลังเต่าป้องกันน้ำท่วมขังหลังฝนตก พร้อมกับคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าว เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินอีกทางหนึ่ง สาเหตุที่ต้นยางพาราตายเป็นจำนวนมากเป็นไปได้สูงที่เกิดจากการขาดน้ำ ดังนั้น การปลูกซ่อมในครั้งต่อไปจำเป็นต้องรองก้นหลุม ตามที่ผมแนะนำมาแล้วข้างต้น
  2. ช่วงแล้งจัดการใช้ปุ๋ยเกล็ด ละลายในน้ำพร้อมผสมน้ำตาลเดกซ์โทรส ฮิวมิกแอซิด และสารเคมีกำจัดเชื้อรา สารละลายดังกล่าวช่วยฟื้นฟูสภาพของต้นไม้ที่ทรุดโทรมได้บ้าง แต่หากขาดน้ำอย่างสิ้นเชิง สารละลายดังกล่าวก็ไม่อาจช่วยได้แต่อย่างใด
  3. ถูกต้องแล้วครับ ที่เมื่อ 6-7 ปีก่อน มีการแนะนำให้ใช้วุ้นเกษตร ความจริงก็คือ วัสดุดังกล่าวคือ เป็นโพลิเมอร์ของแป้งชนิดหนึ่งหรือเป็นรูปหนึ่งของแป้งที่ได้จากพืชที่มีความสามารถพิเศษ ที่ดูดซับน้ำได้หลายสิบเท่าไปจนถึงสองร้อยเท่าของปริมาตรตัวเอง โดยการดูดน้ำจนบวมพอง เมื่อใช้เป็นวัสดุปลูกพืชก็จะปลดปล่อยน้ำให้อย่างช้าๆ หากใช้รองก้นหลุมปลูกพืชจะช่วยให้ต้นไม้ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่เนื่องจากวัสดุดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ปัจจุบันหาซื้อได้ตามร้านขายพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น ส่วนแหล่งจำหน่ายสำคัญต้องมาหาซื้อที่สวนจตุจักร กรุงเทพฯ ตามที่ผมอธิบายมาแล้วนั้นการรองก้นหลุมด้วยเศษไม้ ใบหญ้าแห้ง กับปุ๋ยคอกเก่า จะช่วยให้ต้นยางพาราทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ใกล้เคียงกับการใช้โพลิเมอร์ดังกล่าว
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
10
ตำบล / แขวง :
หนองลาด
อำเภอ / เขต :
วาริชภูมิ
จังหวัด :
สกลนคร
รหัสไปรษณีย์ :
47150
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 349
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM