เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แตนเบียน หนอนห่อใบข้าว เพื่อนของชาวนา
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเคยดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ในรายการได้พูดถึงศัตรูธรรมชาติที่เข้าทำลายหนอนห่อใบข้าว ที่เรียกว่า แตนเบียน แต่ผมไม่สามารถติดตามรายละเอียดได้ จึงขอให้คุณหมอเกษตรอธิบายให้เข้าใจมากกว่ารายการโทรทัศน์ที่บอกเนื้อหาเพียงคร่าวๆ เท่านั้น และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมผมจะติดต่อได้จากที่ไหน ขอเรียนถามเพียงเท่านี้ก่อน
วิธีแก้ไข :
 
    ก่อนอื่นเพื่อทำความเข้าใจ ผมขอพูดถึง หนอนห่อใบข้าว ก่อนเป็นอันดับแรก หนอนห่อใบข้าวทำความเสียหายกับนาข้าวของเกษตรกร เป็นอันดับสองรองจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ลุ่มภาคกลางของประเทศ หนอนห่อใบข้าวเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยของผีเสื้อ มีสีน้ำตาลอมเหลืองฟางข้าว และมีเส้นสีดำ 2 เส้น พาดผ่านปีกทั้งสองตามแนวขวางลำตัว จากส่วนหัวถึงปลายสุดของปีกยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร เพศเมียมักวางไข่ไว้ที่ใบอ่อนของต้นข้าวบริเวณร่มเงา ไข่สีขาวขุ่น เพศเมียวางไข่คราวละ 200-400 ฟอง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 มิลลิเมตร หลังจากฟักออกเป็นตัวจะแทะกินผิวใบข้าว ต่อมาจึงชักใยดึงขอบใบทั้งสองเข้าหากันเป็นที่อาศัย ตัวหนอนโตเต็มที่มีลำตัวยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร การระบาดรุนแรงใบจะขาวเป็นทางและแห้ง ทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงลดลง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงตามไปด้วย แตนเบียนหนอนห่อใบข้าว มีหลายชนิด แต่ละชนิดที่มีความสำคัญในการทำลายหนอนห่อใบข้าว คือ โกนอยซัส สปีซี่ ที่จะเข้าทำลายเฉพาะหนอนห่อใบข้าวเท่านั้น ตัวเต็มวัยมีสีดำ เพศเมียมีขนาดลำตัวยาว 2.8-3.0 มิลลิเมตร หนวดสีน้ำตาล ปีกยาว คลุมไปถึงส่วนปลายลำตัว ก้นแหลม ขาทั้ง 3 คู่ มีสีน้ำตาล เพศเมียจะวางไข่บนลำตัวของหนอนห่อใบข้าวและหลังจากฟักออกเป็นตัวจะดูดกินน้ำเลี้ยงของตัวหนอนจนตายในที่สุด ดังนั้น การใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชมากเกินความจำเป็น จะทำให้ปริมาณแตนเบียนลดลง จนขาดความสมดุลในธรรมชาติ การระบาดของแมลงศัตรูจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อทราบถึงประโยชน์ของแตนเบียนหนอนห่อใบข้าวแล้วจึงควรถนอมไว้ ให้มันทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ในไร่นาของเกษตรกรต่อไปเถอะครับ แหล่งข้อมูลติดต่อได้ที่ กลุ่มวิจัยกีฏและสัตววิทยา สำนักอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-4128 ต่อ 120 ในวันและเวลาทำการ ดังนั้น การจะใช้สารเคมีใดๆ เพื่อกำจัดศัตรูพืชต้องใช้อย่างถูกชนิด ถูกวิธี และถูกเวลา จึงควรหมั่นออกสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้สารเคมี เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังทำลายสุขภาพของผู้ใช้ ประการสำคัญ สารเคมีจะไปทำลายตัวห้ำและตัวเบียนที่เป็นเพื่อนที่แสนดีของชาวนาอีกด้วย หากมีข้อสงสัยประการใด ขอให้ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ใกล้บ้านท่านได้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
บางตลาด
อำเภอ / เขต :
ปากเกร็ด
จังหวัด :
นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
11120
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 348
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM