เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีเลี้ยงเป็ดเชอรี่ และเทคนิคการเพาะเลี้ยงเขียด
   
ปัญหา :
 
 
  1. ผมมีความสนใจจะเลี้ยงเป็ดเชอรี่ จะมีวิธีเลี้ยงและแหล่งจำหน่ายพันธุ์อยู่ที่ไหน
  2. การเลี้ยงเขียดในบ่อ ควรทำอย่างไร กรุณาอธิบายวิธีเลี้ยงให้ด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
  1. เป็ดพันธุ์ เชอรี่ หรือ เชอรี่วอลเลย์ เป็นเป็ดลูกผสมพันธุ์เนื้อที่มีเลือดเป็ดปักกิ่งอยู่ นำเข้าจากต่างประเทศโดยภาคเอกชน ลักษณะเด่นเป็นเป็ดที่มีรูปร่างใหญ่ ลำตัวกว้างและหนา ขนสีขาว ปากสีเหลืองส้ม แข้งและเท้าสีหมากสุก ผิวหนังสีส้ม ใบหน้ามีสีเหลือง ตัวโตเต็มวัยเพศผู้ให้น้ำหนักตัว 4 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียให้น้ำหนัก 3.5 กิโลกรัม การเตรียมโรงเรือนก่อนนำลูกเป็ดเข้าเลี้ยงต้องทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง พร้อมฆ่าเชื้อโรค ปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เป็นอย่างน้อย รองพื้นด้วยแกลบดิบหนา 4 นิ้ว จัดวางเครื่องกกให้ความอบอุ่น แหล่งความร้อนอาจใช้ตะเกียงรั้วหรือหลอดไฟฟ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแผงล้อมเครื่องกก เตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะให้กินตลอดเวลา บริเวณให้อาหารควรปูกระสอบป่านสะอาดแล้วโรยอาหารให้กิน ไม่ควรปูด้วยกระดาษเพราะลูกเป็ดอาจลื่นทำให้บาดเจ็บที่ขาได้ง่าย อัตราเลี้ยงเป็ดเล็กใช้อัตรา 6-8 ตัว ต่อหนึ่งตารางเมตร วิธีเลี้ยง ลูกเป็ดเล็กอายุระหว่าง 1 วัน ถึง 3 สัปดาห์ ต้องกกให้ความอบอุ่น ระวังอย่าให้ลูกเป็ดลงเล่นน้ำ จะทำให้ลูกเป็ดหนาวและเป็นปอดบวมตาย อายุลูกเป็ด 1 วัน ให้อาหารเปียกที่ได้จากข้าวสุกบดละเอียด หรือข้าวโพดป่น อายุ 2-6 วัน ให้ข้าวสุก 2 ส่วน ผสมอาหารถุงลูกไก่ 1 ส่วน คลุกน้ำพอเปียกโรยใส่ถาดให้กิน ลูกเป็ดอายุ 1-4 สัปดาห์ หั่นผักสดหรือหญ้าขนให้กินเพิ่มเติม หรือต้มรำละเอียดผสมผักให้กิน เมื่ออายุครบ 4 เดือน ให้อาหารโปรตีนสูง ด้วยผสมปลาเป็ด รำหยาบ และใบกระถินแห้งให้เป็ดกิน ควรระลึกไว้เสมอว่า เป็ดเชอรี่เป็นเป็ดที่โตเร็ว จำเป็นต้องให้แร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินเพิ่มเติม สูตรอาหารสำหรับเป็ดวัยต่างๆ ควรมีส่วนผสมของวัตถุดิบดังนี้ โรคสำคัญของเป็ดที่ควรระวัง คือ โรคเพล็ก เกิดจากเชื้อไวรัส เป็ดที่เป็นโรคจะมีอาการขาไม่มีแรง นอนหมอบ ตัวสั่น และเป็นอัมพาต กระหายน้ำจัด ตาและปากสกปรก ท้องเดินหายใจไม่สะดวก อุจจาระสีขาวและตายภายใน 24 ชั่วโมง ป้องกันโรคโดยให้วัคซีน เมื่อลูกเป็ดมีอายุ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน อัตราตัวละ 1 ซีซี และให้ซ้ำอีกทุก 6 เดือน โรคอหิวาต์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรค เป็ดจะเบื่ออาหาร กระหายน้ำ ไข้สูง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกสีขาวหรือมีสีเขียวอ่อนปะปนออกมาก อัตราการตายประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หากตัวที่อมโรคจะมีใบหน้าคล้ำ เข่าและข้อเท้าบวม พบมากในเป็ดอายุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ประการสำคัญที่เป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จคือ ต้องทำความสะอาดในโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ มีน้ำสะอาด อาหารมีคุณภาพดี ส่วนแหล่งพันธุ์ให้สอบถามได้ที่กลุ่มงานสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ โทร. (02) 653-4550 ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ
  2. การเลี้ยงเขียด จากผลงานวิจัยของกรมประมงพบว่า เขียดสายพันธุ์ที่มีโอกาสเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้พบว่ามี 2 สายพันธุ์ คือ เขียดแลวหรือเขียดแรว และเขียดหลังขาว เขียดแรว เป็นเขียดที่มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับกบนา มีลำตัวยาววัดจากปลายจมูกถึงปลายเท้ายาวประมาณ 22 เซนติเมตร ตัวโตเต็มวัยเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 200 กรัม ผิวสีเทานวลเหลือบชมพูอมม่วง ส่วน เขียดหลังขาว ก็มีขนาดใกล้เคียงกับกบนาเช่นเดียวกัน รูปร่าง หน้าตา และสีสันก็ละม้ายคล้ายคลึงกัน แต่อย่างไรก็ตาม เขียดแรวยังมีภาษีเหนือกว่า เนื่องจากเลี้ยงง่ายและโตเร็ว วิธีการผสมพันธุ์ของเขียดแรว เมื่อย่างเข้าฤดูฝน เพศผู้จะขุดบ่อบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นๆ ลึกไม่เกิน 2-5 เซนติเมตร โดยเฉพาะแหล่งที่มีพื้นเป็นทรายและหินกรวด ด้วยการใช้เท้าดีดหรือตะกุยเปิดหลุมตื้นๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-25 เซนติเมตร จากนั้นจะคัดเลือกเพศเมียที่มีไข่เต็มท้อง และเชิญชวนให้เข้ามาอยู่ใจกลางของบ่อน้ำ เขียดเพศผู้เข้ากอดรัดเขียดเพศเมีย ในที่สุดจึงวางไข่ขณะเดียวกันเพศผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ เพศเมียวางไข่คราวละ 3,000-4,000 ฟอง ลักษณะของไข่ด้านบนมีสีเข้ม ส่วนด้านล่างสีนวลมีวุ้นหุ้ม ช่วงที่เขียดวางไข่อยู่ระหว่างเวลา 04.00-08.00 น. จากนั้นเพศผู้จะกลบไข่ด้วยก้อนกรวดให้จมลงใต้ผิวน้ำ และไข่จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 5-7 วัน ตัวอ่อนแรกเกิดมีสีขาวครีม ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร การนำไปเลี้ยง ให้นำกรวดที่ทับไข่เขียดไว้ออก ไข่จะลอยขึ้นบนผิวน้ำ ใช้สวิงตาถี่ช้อนตักขึ้น ใส่กะละมังพลาสติกหรือโลหะเคลือบก็ได้ นำไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.0 เมตร ระดับน้ำลึก 5-10 เซนติเมตร ต้องล้างและแช่ให้หมดน้ำปูน จนสะอาด หลังจากฟักออกเป็นตัว ใน 5-7 วันแรก ลูกเขียดจะไม่กินอาหาร จนย่างเข้าวันที่ 8 จึงให้อาหารด้วยตะไคร่น้ำ และผักกาดขาวต้มสุก ครบ 1 สัปดาห์ ให้ต้มรำผสมปลาป่น ปลายข้าว ให้กิน 2 เวลา เช้าและเย็น จากวัยลูกออกไปเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลา 45-60 วัน ระยะนี้เริ่มให้ปลาเป็ดสับเป็นอาหาร โดยธรรมชาติกบและเขียดและกินอาหารที่มีการเคลื่อนไหวได้เท่านั้น ระยะแรกต้องใส่หนอน แมลงวันหรือปลวก ผสมลงในปลาสับเพื่อหลอกให้ลูกเขียดกินปลาสับ ในที่สุดเมื่อได้ลิ้มรสปลาบดแล้ว ต่อไปไม่จำเป็นต้องให้ตัวหนอน แมลงวันหรือปลวกทุกครั้ง ลูกเขียดก็จะกินเนื้อปลาได้ สำหรับบ่อเลี้ยงเขียดใช้แบบเดียวกับเลี้ยงกบทั่วไป แต่ควรล้อมด้วยตาข่ายไนลอนให้สูงขึ้น น้ำในบ่อต้องสะอาดกว่าบ่อเลี้ยงกบ หมั่นดูแลให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ ภายใน 4-6 เดือน จับขายได้ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประมงอำเภอใกล้บ้าน ในวันเวลาทำการครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
เคหะมหาชัย
ตำบล / แขวง :
นาดี
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
สมุทรสาคร
รหัสไปรษณีย์ :
74000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 347
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM