เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การตัดแต่งกิ่งและการให้ปุ๋ยลองกอง เทคนิคการตัดต้นทุเรียนให้ต่ำเก็บผลง่าย การตัดแต่งกิ่งมะไฟ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีลองกองอยู่ประมาณ 300 ต้น อายุอยู่ระหว่าง 6-7 ปี เดิมมีต้นเงาะเป็นพืชให่ร่มเงา แต่เมื่อผมตัดต้นเงาะออกทั้งหมด ปรากฏว่า ลองกองสูงชลูดขึ้นไปและงอกงามดี หลายต้นเริ่มให้ผล นอกจากนี้ มีทุเรียนอยู่จำนวนหนึ่งและมะไฟอายุ 10 ปี ประมาณ 50 ต้น จึงขอเรียนถามปัญหาดังนี้
  1. ลองกอง ที่ดอกออกตามกิ่งและลำต้น จะมีวิธีตัดแต่งกิ่งแบบมะม่วงได้หรือไม่
  2. ลองกอง ควรใช้ปุ๋ยสูตรใด ผมใส่แต่ขี้ไก่ก็งอกงามดี 
  3. ผมเคยอ่านหนังสือ แต่จำชื่อไม่ได้ เขาบอกว่าสวนแห่งหนึ่งที่ระยอง มีการตัดยอดทุเรียนสูงไม่เกิน 3 เมตร แล้วโยงกิ่งให้ขนานกับพื้น และทากิ่งด้วยปูนขาวป้องกันแดดเผาจนไหม้ เขามีวิธีทำอย่างไร กรุณาอธิบายด้วยครับ 
  4. การตัดแต่งกิ่งมะไฟทำอย่างไร และควรใส่ปุ๋ยอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
  1. ลองกอง เป็นพืชที่ออกดอกติดผลตามกิ่งและต้น เช่นเดียวกับทุเรียน และมะไฟ ซึ่งแตกต่างจากมะม่วงอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากมะม่วงจะออกดอกติดผลที่ปลายสุดของกิ่ง ดังนั้น เทคนิคการตัดแต่งกิ่งจึงแตกต่างกัน การตัดแต่งกิ่งลองกองจะตัดเฉพาะกิ่งที่โรคหรือแมลงเข้าทำลาย กิ่งที่เกิดในทรงพุ่ม หากจำเป็นต้องตัดกิ่งขนาดใหญ่ก็ควรตัดออกให้สมดุลกับทรงต้นจึงจะได้ผลดี
  2. การใส่ปุ๋ยลองกอง ในแหล่งที่มีลมพัดแรง ควรปลูกพืชบังร่มเงาให้ต้นลองกองบ้าง อาจจะปลูกสะตอหรือไม้ผลอื่นๆ ก็ได้ เพราะนอกจากให้ร่มเงาแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นในสวนลองกองอีกด้วย หากสวนคุณดินอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยใดๆ แต่หากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ขอแนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 4-5 ปุ้งกี๋ ต่อต้น ใส่ด้วยวิธีหว่านรอบทรงพุ่ม โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ต้นฝนและปลายฝน หากต้องการให้ผลสวยและรสหวานขึ้น แนะนำให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น ระยะลองกองติดผล
  3. การตัดแต่งทุเรียนให้เตี้ย วัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บผลทุเรียนที่คิดเป็นต้นทุน แล้วค่อนข้างสูงมาก ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทางบริษัทเจ้าของสวนที่ซื้อสวนทุเรียนที่มีอายุเกิน 10 ปีมาแล้ว จึงนำเทคโนโลยีการตัดแต่งต้นแอปเปิ้ลมาใช้ โดยตัดลำต้นให้เตี้ยลง คงความสูงไว้ประมาณ 3 เมตร แต่กิ่งที่แตกออกจากลำต้น ทำมุม 45 องศา ทำให้ส่วนปลายยังสูงกว่า 3 เมตร อย่างไรก็ตาม ทางสวนได้ใช้ลวด ดึงกิ่งที่ตั้งขึ้นให้นอนราบลง ประโยชน์ที่ตามมาคือ แสงแดดส่องเข้าในทรงพุ่มได้มากขึ้น และเพื่อลดความรุนแรงของแสงแดดลง ทางสวนจึงทาปูนขาวด้านบนของกิ่งป้องกันกิ่งแตกเมื่อได้รับแสงแดดจ้ามากเกินความต้องการ เมื่อแสงแดดผ่านได้ดี ลมพัดผ่านได้สะดวก การระบาดของโรคและแมลงศัตรูย่อมลดน้อยลงไปด้วย แม้จะเป็นวิธีที่ดีก็ตาม แต่เกษตรกรรอบข้างก็ไม่ยอมเอาเทคโนโลยีดังกล่าวไปปรับใช้กันแต่อย่างใด ในสวนของบริษัทก็ยังคงเป็นงานวิจัยเท่านั้น ซึ่งยังหาบทสรุปไม่ได้ว่าจำนวนกิ่งที่หายไปนั่นหมายถึงว่าผลทุเรียนหายไปด้วย เมื่อนำมาคิดเปรียบเทียบกับการลดค่าใช้จ่ายลงจะคุ้มหรือไม่กับรายได้ที่ลดลง หากคุ้มค่าเทคโนโลยีดังกล่าวก็น่าจะมีการถ่ายทอดสู่เกษตรกรรายอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับ ดังนั้น จำเป็นต้องติดตามผลสรุปของบริษัทดังกล่าวต่อไป
  4. การตัดแต่งกิ่งมะไฟ ลักษณะการเกิดช่อดอกของมะไฟจะแทงออกจากกิ่งและลำต้นคล้ายกับการแทงช่อดอกของลองกอง ดังนั้น การตัดแต่งกิ่งก็ใช้วิธีเดียวกัน คือตัดกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งกระโดงขนาดเล็กที่เกิดอยู่ในทรงพุ่ม หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรตัดกิ่งใหญ่หรือกิ่งหลักทิ้ง อาจตัดปลายกิ่งที่อยู่สูงออกบางส่วน เพื่อให้แสงแดดส่องเข้าภายในทรงพุ่มได้จะยิ่งดี อย่าลืมครับว่า มะไฟจะให้ผลดีต้องมีดินที่อุดมสมบูรณ์สูง มีเศษไม้ใบหญ้าผุเน่าสลายมากมายก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย หากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 4-5 ปุ้งกี๋ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ต้นฤดูและปลายฤดูฝน ด้วยวิธีหว่านรอบทรงพุ่ม ในกรณีที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์รุนแรง ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ต้นฤดูฝน อัตราครึ่งกิโลกรัม ต่อต้น และใส่สูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 ในระยะติดผลอัตราครึ่งกิโลกรัม ต่อไร่ ด้วยวิธีหว่านรอบทรงพุ่มหรือเซาะร่องตื้นๆ เป็นวงห่างโคนต้น 75 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยแล้วกลบดินและให้น้ำตามทันที จะช่วยให้ต้นไม้นำปุ๋ยไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
หัวหมาก
อำเภอ / เขต :
บางกะปิ
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10240
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 347
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM