เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการโคลนนิ่งแกะ วัว และแมว แต่เนื้อหาบอกไม่ละเอียด ผมจึงขอเรียนถามว่า การโคลนนิ่งนั้นหมายความว่าอะไร และการทำโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงนั้นมีวิธีการอย่างไร ขอความกรุณาตอบให้กระจ่างด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    โคลนนิ่ง ภาษาอังกฤษเขียนว่า cloning หมายถึง การผลิตพืชหรือสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ ตัวอย่างการทำโคลนนิ่งที่ประสบความสำเร็จรายแรกของโลก คือ แกะดอลลี่ ซึ่งมีวิธีทำและขั้นตอนดังนี้ คัดเลือกพ่อแม่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ แล้วให้ผสมพันธุ์การกำเนิดชีวิตใหม่เกิดจากตัวอสุจิที่ได้จากเพศผู้เข้าผสมกับไข่ที่ได้จากเพศเมีย ในสภาวะปกติอสุจิเพียงหนึ่งตัวจะเข้าผสมกับไข่เพียงหนึ่งฟอง โดยทั้งตัวอสุจิและไข่จะแบ่งตัวออกมามีโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของพ่อและแม่ ทั้งนี้พ่อและแม่มีโครโมโซม 2 n นั่นหมายถึงตัวอสุจิกับไข่นั้นต่างมีโครโมโซมเพียง 1 n แต่ทางวิทยาศาสตร์เขียนสัญลักษณ์ n เพียงตัวเดียว ส่วนเลขหนึ่งละไว้ในฐานที่เข้าใจ เมื่ออสุจิกับไข่ผสมกันจะได้ตัวอ่อนที่มีโครโมโซม 2 n สรุปได้ง่ายๆ ว่าพันธุกรรมของลูกได้จากพ่อและแม่ฝ่ายละครึ่งหนึ่ง คราวนี้ขอกลับมาพูดถึงเรื่องโคลนนิ่งต่อ ในกรณีของการโคลนนิ่งแกะดอลลี่ มีวัตถุประสงค์ต้องการสร้างแกะดอลลี่ตัวใหม่ให้เหมือนกับแกะดอลลี่ต้นแบบ เริ่มจากการผสมพันธุ์แกะเพศผู้และเพศเมีย จนเกิดตัวอ่อนขึ้นในมดลูกแกะเพศเมีย ขอให้ท่านผู้อ่านลองหลับตานึกถึงไข่ไก่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ สังเกตได้จากในไข่แดงมีจุดสีแดงปรากฏให้เห็น นั่นหมายถึงมีการผสมพันธุ์เกิดขึ้นแล้ว ในแกะก็เช่นเดียวกัน ขั้นตอนต่อไป นำเอาตัวอ่อนออกจากไข่ภายในเวลา 48-36 ชั่วโมง แล้วนำเซลล์เต้านมเพียงเซลล์เดียวของแกะดอลลี่ต้นแบบ โดยใช้กระแสไฟฟ้าโวลเทจต่ำๆ เป็นตัวกระตุ้น ไข่ที่นำตัวอ่อนออกไป แม่แกะยังคิดว่าเซลล์ที่นำไปทดแทนเป็นตัวอ่อนแม่แกะจึงตั้งหน้าตั้งตาส่งอาหารและฮอร์โมนให้ลูกอ่อนที่อยู่ในไข่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการผิดพลาด นักวิจัยจึงนำไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ฝังไว้ที่ผนังมดลูกอีก 1 ฟอง เป็นการย้ำเตือนว่าแม่แกะจะต้องส่งอาหารและฮอร์โมนให้ลูกอ่อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ท่านไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำโคลนนิ่งจึงได้ลูกแกะ 2 ตัว เกิดขึ้นพร้อมกัน โดยตัวหนึ่งเป็นแกะโคลนนิ่ง แกะอีกตัวหนึ่งเป็นแกะที่เกิดจากการผสมพันธุ์ด้วยวิธีปกติ เซลล์เต้านมเมื่อได้รับอาหารและฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตทำให้มีการพัฒนาเป็นตัวอ่อน เป็นตัวสมบูรณ์และคลอดออกมา ลูกแกะที่ได้จากการโคลนนิ่งจึงมีลักษณะรูปร่างหน้าตาตลอดทั้งพันธุกรรม เหมือนกับแกะดอลลี่ต้นแบบทุกประการ ในประเทศไทยคณะสัตวแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยทำโคลนนิ่งวัวประสบความสำเร็จมาแล้วเช่นเดียวกัน โดยใช้เซลล์จากใบหูวัวต้นแบบมาทดลอง และที่ผ่านมามีข่าวการทำโคลนนิ่งแมวได้แล้ว ทั้งนี้ เกรงว่าจะมีการวิจัยโคลนนิ่งมนุษย์เกิดขึ้น ทำให้ประเทศที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชั้นสูงได้ร่วมกันออกกฎหมาย ไม่อนุญาตให้ตัวโคลนนิ่งของมนุษย์มีอายุไม่เกิน 48 ชั่วโมง เพื่อหมายความว่าคุณทดลองได้แต่ต้องทำลายตัวอ่อนโคลนนิ่งของมนุษย์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว เพื่อป้องกันความวุ่นวายโกลาหลเกิดขึ้นบนโลกมนุษย์ใบนี้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ท่าเรือ
อำเภอ / เขต :
ท่าเรือ
จังหวัด :
พระนครศรีอยุธยา
รหัสไปรษณีย์ :
13130
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 346
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM