เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีดูแลลูกสุกรหลังการคลอด
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเลี้ยงสุกรมาหลายรุ่นเพื่อผลิตลูกจำหน่าย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ คือหลังลูกสุกรคลอดออกมามักมีอัตราการรอดต่ำ ผมจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรเพื่อให้ได้อัตราการรอดตายสูงขึ้น และลูกสุกรมีความสมบูรณ์ดี หวังว่าคุณหมอเกษตรจะให้ข้อแนะนำที่ดีได้
วิธีแก้ไข :
 
    วิธีที่ผลิตลูกสุกรให้มีอัตราอยู่รอดสูง และสมบูรณ์แข็งแรงดี ต้องเริ่มต้นจากการคัดเลือกพ่อพันธุ์ที่สุขภาพแข็งแรง มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ให้กินอาหารที่มีปริมาณโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ วันละ 2 กิโลกรัม ไม่ผอมหรืออ้วนจนเกินไป ส่วนแม่สุกร ควรมีอายุ 7-8 เดือน มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก 100-120 กิโลกรัม ให้กินอาหารชนิดและปริมาณเท่ากับพ่อพันธุ์ หลังผสมติดแล้วควรลดอาหารลงให้เหลือ 1.5-2.0 กิโลกรัม และให้เพิ่มขึ้นเป็น 2.0-2.5 กิโลกรัม ขณะตั้งท้องได้ 90-108 วัน และในช่วงก่อนคลอดจึงลดปริมาณอาหารลงเหลือเพียง 1.0-1.5 กิโลกรัม ก่อนแม่สุกรจะคลอดลูก 24 ชั่วโมง มักมีน้ำนมไหลออกจากเต้าหลังคลอดออกจากแม่ ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดตัวลูกสุกรล้วงเอาน้ำเมือกออกจากปากและจมูกทันที ตัดสายสะดือ ใช้ด้ายที่สะอาดผูกสายสะดือห่างจากหน้าท้องครึ่งนิ้ว ส่วนที่ยื่นยาวให้ตัดทิ้งแล้วทารอยแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ตัดเขี้ยวฟันหน้าด้านบน 4 ซี่ และด้านล่างอีก 4 ซี่ ป้องกันไม่ให้ลูกกัดเต้านมจนเป็นแผลขณะดูดนม สิ่งสำคัญต้องให้ลูกสุกรดูดกินนม น้ำเหลือง จากเต้านมแม่สุกรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคกับลูกสุกร ระยะให้น้ำนมเหลืองมีเพียง 36 ชั่วโมงเท่านั้น จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมปกติ ลูกสุกรอายุ 15 วันแรก ต้องการความอบอุ่นมากกว่าลูกสุกรที่โตแล้ว จึงควรจัดหาเครื่องกกให้ความอบอุ่นหลัง 15 วัน ให้ใช้กล่องขนาด 35x35x80 เซนติเมตร ปูด้วยกระสอบแทนเครื่องกกไฟฟ้า ลูกสุกรอายุ 1-3 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็ก อัตราตัวละ 2 ซีซี ป้องกันโรคโลหิตจาง ครบ 10 วัน เริ่มให้อาหารหมูนมหรืออาหารเลียรางก็เรียกกัน หย่านมเมื่อลูกสุกรมีอายุ 28 วัน ระยะนี้ควรแยกแม่สุกรออกจากคอก ปล่อยลูกสุกรไว้ที่คอกเดิม 3-5 วัน จึงนำไปเลี้ยงในคอกอนุบาลและละลายยาปฏิชีวนะในน้ำให้กิน ครบ 6 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน จะคุ้มโรคได้ 6-12 เดือน ครบ 7 สัปดาห์ ให้วัคซีนป้องกันโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย และฉีดซ้ำทุก 4-6 เดือน จะคุ้มโรคได้นาน 4-6 เดือน จากนั้นให้ถ่ายพยาธิลูกสุกรเมื่อมีอายุครบ 2 เดือน และให้ซ้ำอีกหลังจากครั้งแรก 21 วัน อาหารนับว่ามีความสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาสำหรับสุกรวัยอ่อนหรือสุกรนมที่มีน้ำหนักไม่เกิน 6 กิโลกรัม มีส่วนผสมดังนี้ ปลายข้าวนึ่ง 44.50 กิโลกรัม หางนมผง 10.00 กิโลกรัม ถั่วเหลืองอบ 32.00 กิโลกรัม ปลาป่น 7.00 กิโลกรัม ไดแคลเซียมฟอสเฟต 2.00 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 3.00 กิโลกรัม ยาปฏิชีวนะ 1.00 กิโลกรัม และพรีมิกซ์สุกรเล็ก 0.50 กิโลกรัม รวม 100.00 กิโลกรัม การดูแลรักษาลูกสุกรตามคำแนะนำข้างต้น คุณจะสามารถผลิตลูกสุกรที่สมบูรณ์แข็งแรงและอัตราการรอดตายสูงได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
ท่าลาดยาว
อำเภอ / เขต :
โชคชัย
จังหวัด :
นครราชสีมา
รหัสไปรษณีย์ :
30190
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 346
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM