เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เยอรมนียังไม่ห้ามนำเข้าฟรุตสลัด ที่มีส่วนผสมมะละกอจากไทยเข้าประเทศ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับมะละกอ จีเอ็มโอ ว่า ประเทศแถบยุโรปโดยเฉพาะสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีห้ามนำเข้าฟรุตสลัดที่มีส่วนผสมของมะละกอจากประเทศไทย หลังมีข่าวการปนเปื้อนมะละกอ จีเอ็มโอ ในแปลงของเกษตรกรจริงหรือไม่ เพียงใด และขอถามเพิ่มเติมว่ามีประเทศใดบ้างที่มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ ในเชิงพาณิชย์ ขอความกระจ่างในเรื่องดังกล่าวด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    เหตุการณ์ที่ผ่านมา บ้านเราได้มีการออกข่าวเกี่ยวกับเรื่องมะละกอ จีเอ็มโอ อย่างต่อเนื่อง จนอาจเกิดผลกระทบในการส่งออกฟรุตสลัดกระป๋องที่มีส่วนผสมมะละกอ แต่นับว่าโชคดีที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไม่ได้ห้ามนำเข้าฟรุตสลัดจากประเทศไทยดังที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ตามหลักฐานหนังสือด่วน ที่ ก.ต.0502 / ว.1678 กระทรวงการต่างประเทศ ลงวันที่ 14 กันยายน 2547 ส่งถึงประธานสมาพันธ์อาหารและเกษตรอินทรีย์ไทย เรื่องตามที่สื่อมวลชนลงข่าวว่าทางเยอรมนีห้ามนำเข้าฟรุตสลัดที่มีส่วนผสมของมะละกอจากไทย เพราะเกรงว่ามีการปนเปื้อนมะละกอดัดแปรพันธุกรรม ที่ลงนามโดย นางชัชฌา ทวีติยานนท์ อธิบดีกรมยุโรป ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า ทางเยอรมนีไม่มีการห้ามนำเข้าฟรุตสลัดที่มีส่วนผสมของมะละกอจากประเทศไทยแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีการอนุญาตให้มีการนำสินค้า จีเอ็มโอ เข้าประเทศได้ โดยมีข้อแม้ว่า ต้องมีการติดฉลากที่ผลิตภัณฑ์ จีเอ็มโอ ดังนี้ 1. สินค้าทุกประเภทที่มีการดัดแปรหรือตัดต่อพันธุกรรม 2. ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้วัถตุดิบที่มีการดัดแปรพันธุกรรม 3. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมจากวัตถุดิบที่มีการดัดแปรพันธุกรรมมากกว่า 0.9 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป สุดท้าย เอกอัครราชทูตไทยประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่า ในอนาคตหากมีการเผยแพร่ข่าวว่าประเทศไทยผลิตสินค้า จีเอ็มโอ โดยไม่ได้รับอนุญาต จะทำให้ทางเยอรมนีเคลือบแคลงสงสัย เกิดความไม่มั่นใจ อาจส่งผลให้เยอรมนี รวมถึงกลุ่มประเทศยุโรปตรวจเข้มสินค้านำเข้าจากประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ ในเชิงพาณิชย์ เพียงแต่ให้นำมาใช้เฉพาะงานวิจัยเท่านั้น โดยมี 3 หน่วยงาน ทำหน้าที่กำกับดูแล คือ 1. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น หากจะให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ ในประเทศได้ จำเป็นต้องมีการแก้กฎหมายหลายฉบับ ขณะนี้ประเทศที่ปลูกพืช จีเอ็มโอ จากสถิติปี พ.ศ. 2546 มี 18 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา แคนาดา จีน ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ เม็กซิโก บัลแกเรีย โรมาเนีย สเปน เยอรมนี อุรุกวัย อินโดนีเซีย บราซิล อินเดีย ฟิลิปปินส์ โคลัมเบีย และฮอนดูรัส รวมพื้นที่ปลูกทั้งหมด 418.24 ล้านไร่ ที่มาของข้อมูล คลิฟ เจมส์ ปี 2546 สาเหตุหนึ่งที่มีการต่อต้านการปลูกพืช จีเอ็มโอ ในประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะสหภาพยุโรป เนื่องจากศาสตร์ด้าน จีเอ็มโอ ยังล้าหลังกว่าสหรัฐอเมริกาหลายช่วงตัว อย่างไรก็ตาม อนาคตคงไม่อาจต้านกระแส จีเอ็มโอ ได้ ทั้งนี้ นอกจากมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ในการเกษตรแล้ว ยังต้องนำมาใช้ในการแพทย์อีกด้วย ผมขอยกตัวอย่าง การค้นพบจีโนม หรือแผนที่พันธุกรรมของมนุษย์ที่มียีนประมาณ 30,000 ยีน ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม ตั้งแต่สีผิว ความสูง ต่ำ ดำ ขาว ความอ่อนแอและความต้านทานต่อโรค ซึ่งในแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน เมื่อตรวจพบว่า ตระกูลหนึ่งมีการถ่ายทอดพันธุกรรมของโรคลมชัก แต่ถ้าหากต้องการให้สมาชิกในครอบครัวสืบทอดหาญาติให้ปราศจากโรคลมชัก จำเป็นต้องกำจัดยีนที่ถ่ายทอดอาการของโรคทิ้งไป แล้วนำยีนที่สมบูรณ์เข้ามาทดแทน นั่นเป็นทางเลือกหนึ่งของตระกูลดังกล่าว สิ่งสำคัญการดัดแปร หรือการตัดแต่ง หรือการตัดต่อพันธุกรรม ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการนำยีนของสิ่งมีชีวิตที่มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมอย่างสิ้นเชิง เช่น การนำยีนของลิงมาถ่ายให้มนุษย์ เพื่อสร้างให้มนุษย์ปีนป่ายได้เหมือนลิง หรือนำยีนของช้างมาถ่ายให้มนุษย์เพื่อให้ทำงานหนักได้เหมือนช้างสาร กรณีดังกล่าวข้างต้นนี่ซิน่ากลัว กฎหมายต้องเข้ามาคุมเข้ม มิเช่นนั้นแล้วโลกเราคงจะเข้าสู่ยุควิบัติเป็นแน่แท้ เห็นหรือยังครับว่า จีเอ็มโอ นั้นมีทั้งโทษอย่างมหันต์และประโยชน์อย่างอนันต์ เพียงแต่เราจะหยิบส่วนใดมาใช้ประโยชน์เท่านั้นเอง
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ในเมือง
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
พิษณุโลก
รหัสไปรษณีย์ :
65000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 17 ฉบับที่ 345
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM