เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการเพาะเห็ดโคนน้อย
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจอยากเพาะเห็ดโคนน้อย ซึ่งผมได้ดูจากรายการทีวีออกอากาศแห่งหนึ่ง แต่ดูแล้วไม่เข้าใจ จึงอยากให้คุณหมอกรุณาอธิบายในรายละเอียดให้ด้วย คิดว่าคงจะได้รับความอนุเคราะห์จากเทคโนโลยีชาวบ้าน จึงขอขอบคุณมาพร้อมนี้
วิธีแก้ไข :
 
    เห็ดโคนน้อย หรือ เห็ดถั่ว เป็นเห็ดที่ชอบขึ้นอยู่ตามซากต้นถั่วเหลือง ถั่วลิสง หรือถั่วเขียว ชาวเหนือจึงนิยมเรียกว่าเห็ดถั่ว นอกจากนี้ยังมีรสชาติคล้ายกับเห็ดโคนจึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งคือ เห็ดโคนน้อย แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นเห็ดคนละชนิดกัน จุดเด่นของเห็ดโคนน้อยอีกประการหนึ่งคือ ให้ดอกดกและให้ผลสม่ำเสมอ เห็ดโคนน้อยมีข้อเสียจะเก็บได้ไม่นาน จึงจำเป็นต้องถนอมไว้โดยการลวกน้ำร้อน วิธีเพาะเห็ดโคนน้อย 1. วัสดุสำหรับเพาะเห็ดใช้ได้ทั้งฟางข้าว ผักตบชวาสับ เปลือกมันสำปะหลัง ต้นกล้วย หรือใบตองแห้ง เปลือกและต้นถั่วชนิดต่าง ๆ กากทะลายปาล์ม และหญ้าแห้ง มัดฟ่อนวัสดุปลูกขนาดฟ่อนละ 3-5 กิโลกรัม 2. อัดฟ่อนวัสดุเพาะลงในแบบ ที่มีลักษณะคล้ายกันแบบทำอิฐเผา แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีด้านกว้างและสูง 30 เซนติเมตร เท่ากัน ด้านยาว 40-50 เซนติเมตร ด้านบนและด้านฐานเปิดโล่ง ให้ด้านบนแคบกว่าด้านฐานเล็กเล็กน้อย ขึ้นเหยียบและอัดให้แน่นและถอดแบบออก ตั้งกองที่ 2 ห่างจากกองแรก 30-50 เซนติเมตร ทำเช่นเดียวกันจนครบ 10 กอง หรือมากกว่าก็ได้ หากต้องการให้ดอกเห็ดสะอาด และไม่มีการปนเปื้อนจากเชื้ออื่น ๆ ควรปูพื้นด้วยพลาสติกใส 3. เตรียมอาหารเสริม ที่มีส่วนประกอบ - น้ำสะอาด 100 ลิตร - ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม - ส่าเหล้า 1 กิโลกรัม - กากน้ำตาล 1 ลิตร - ปูนโดโลไมต์ หรือปูนขาว 1 กิโลกรัม - ดีเกลือ 0.1 กิโลกรัม ต้มน้ำผสมอาหารให้ร้อนที่อุณหภูมิ 75-80 องศาเซลเซียส หม้อต้มนิยมใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ผ่าครึ่งตามยาว ใช้น้ำผสมอาหารขณะยังร้อนจัดราดลงบนกองวัสดุเพาะที่เตรียมไว้อย่างทั่วถึง และมั่นใจว่าน้ำผสมอาหารเสริมแทรกซึมเข้าไปทุกส่วนแล้ว ทิ้งให้เย็น 4. เตรียมหัวเชื้อ สับฟางและผักตบชวา อาจผสมกัน อัตรา 1:1 หรือใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ปริมาณ 100 กิโลกรัม ต่อเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง 10-20 ขวด คลุกเคล้าให้เข้ากัน เกลี่ยยกกองสูง 12 เซนติเมตร บ่มใต้พลาสติกและทับด้วยกระสอบป่านอีกชั้น นาน 3-4 วัน 5. นำหัวเชื้ออัดลงตอนกลางกองวัสดุเพาะแต่ละกองประมาณ 1 กำมือ และโรยหัวเชื้อบาง ๆ รอบกองวัสดุเพาะ คลุมด้วยพลาสติกใสทำแบบกระโจม อาจใช้ไม้ไผ่หรือลวดโค้งสำหรับเป็นโครงหลังคาและพรางแสงด้วยตับแฝก หรือตับหญ้าคา รักษาอุณหภูมิไว้ที่ 35-38 องศาเซลเซียส เส้นใยจะเจริญอย่างรวดเร็ว ภายในเวลา 5-6 วัน เชื้อจะเจริญทั่วทั้งกอง และสร้างดอกพร้อมเก็บดอกได้และจะให้ดอกนานถึง 30 วัน หากกองเพาะเห็ดแห้งเกินไปให้รดน้ำรอบกองแต่ระวังอย่าให้แฉะเพราะดอกเห็ดจะเน่า 6. วิธีเก็บเกี่ยวดอกเห็ด เห็ดชนิดนี้จะออกดอกในตอนเย็นเป็นส่วนใหญ่ การเก็บเกี่ยวจึงควรเก็บเกี่ยวในช่วงหัวค่ำ ใช้มือจับที่ฐานดอก บิดไปทางซ้ายและขวา 2-3 ครั้ง ดอกเห็ดจะหลุดติดมือออกมา หากเห็ดออกดอกเป็นกลุ่มต้องเก็บครั้งเดียวทั้งกลุ่ม ให้รีบนำเข้าเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส แต่ถ้าจะเก็บถนอมไว้ได้นานให้ลวกในน้ำร้อนอุณหภูมิ 95-100 องศาเซลเซียส หากเติมกรดน้ำส้ม 0.05-0.1 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ดอกเห็ดกรอบ และสวยงามยิ่งขึ้น แหล่งพันธุ์ติดต่อสอบถามที่ศูนย์ไบโอเทคฯ เลขที่ 19/7 หมู่ 11 ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร.0-2908-3010-3
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
1
ตำบล / แขวง :
นาทราย
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
นครพนม
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ปีที่ 14 ฉบับที่ 275
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM