เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
หนอนปลอกทำลายใบมะพร้าว
   
ปัญหา :
 
 
    ที่บ้านผมปลูกมะพร้าวไว้หลายต้น ในแต่ละปีพบว่า มีหนอนปลอกระบาด แม้ไม่รุนแรงแต่ก็ทำให้เกิดความรำคาญ จึงขอถามว่าวงจรชีวิตของหนอนปลอกนั้นเป็นอย่างไร และจะควบคุมการระบาดของหนอนชนิดนี้ได้อย่างไรครับ
วิธีแก้ไข :
 
    หนอนปลอก มี 2 ชนิด คือ ชนิดตัวใหญ่ และชนิดตัวเล็ก เข้ากัดกินทำลายใบพืชได้หลายชนิด โดยเฉพาะมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ลักษณะการทำลายของหนอนปลอก ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่จะสาวใยปล่อยตัวห้อยลงและแกว่งไปมาตามกระแสลม เมื่อตัวไปสัมผัสกับใบพืชมันจะเกาะไว้และเริ่มกัดกินเป็นอาหารทันที พร้อมกับกัดใบพืชเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาหุ้มลำตัว ต่อมาใบพืชจะแห้งติดกับตัวหนอน การเข้าทำลายรุนแรงใบพืชจะเหลือแต่ก้านใบ วงจรชีวิตของหนอนปลอก หนอนที่ฟักออกจากไข่ระยะแรกมีสีขาวนวล หัวสีน้ำตาล ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร หลังจาก 30 นาทีไปแล้ว หนอนจะเริ่มกัดใบมะพร้าวหรือใบปาล์มน้ำมันแห้งที่ติดอยู่กับตัวแม่ มาปะติดตัวด้วยเส้นใยเหนียว ที่ขับออกมาทางปากตัวหนอน โดยทำช่องเปิดด้านบนสำหรับโผล่ส่วนหัวออกมากัดกินใบพืชและส่วนล่างสุดสำหรับเป็นช่องขับถ่าย ในระยะตัวหนอนใช้เวลา 92-124 วัน วัยที่เป็นตัวหนอนจะเป็นวัยที่ทำอันตรายให้กับต้นพืชได้มาก จากนั้นจะเข้าดักแด้ โดยตัวหนอนจะกลับส่วนบนลงล่าง ดักแด้เพศผู้มีสีน้ำตาลแดง ส่วนดักแด้เพศเมียมีรูปร่างยาวรี ผิวเรียบ และยาวกว่าเพศผู้ ระยะดักแด้ใช้เวลา 6-23 วัน ตัวเต็มวัยหรือตัวผีเสื้อกลางคืน เพศผู้มีสีน้ำตาลไหม้ มีหนวดแบบฟันหวี ปีกยาว เมื่อกางออกวัดได้ 24 มิลลิเมตร ยาว 13 มิลลิเมตร ส่วนตัวเต็มวัยเพศเมียมีลำตัวคล้ายหนอนและไม่มีปีก ลำตัวสีขาวปนเหลือง ส่วนหัวมีขนาดเล็กกว่าลำตัว ไม่มีหนวด มีขา 3 คู่ ขนาดเล็กและสั้น อาศัยอยู่ในดักแด้เดิมของมันเอง รอรับการผสมพันธุ์จากเพศผู้เพียงอย่างเดียว หลังการผสมพันธุ์แล้วจึงวางไข่ไว้ที่ซากดักแด้ที่อาศัย ต่อมาเพศเมียจะตกจากซากดักแด้ลงมาตายในที่สุด ระยะเป็นตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุ 5-7 วัน ส่วนเพศเมียมีอายุเพียง 2-3 วัน หนอนปลอกมักระบาดรุนแรงในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง ระหว่างเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป วิธีป้องกันและกำจัด การระบาดระยะแรกยังไม่รุนแรงให้ตัดทางมะพร้าวหรือทางปาล์มเผาทำลายไม่ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์และแพร่พันธุ์ของหนอนปลอกต่อไปได้อีก หรือใช้ เชื้อ บีที ชนิดผงอัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ผสมให้เข้ากันแล้วฉีดพ่น ในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น ให้สัมผัสกับตัวหนอนปลอกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ฉีดติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์ หรือเมื่อมีการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85% อัตรา 25-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง การระบาดของหนอนปลอกจะหมดไปในที่สุด ข้อดีของ บีที คือปลอดภัยต่อผู้ใช้และไม่เป็นพิษกับสภาพแวดล้อม ข้อเสีย อาจหาซื้อได้ยากกว่าสารเคมีทั่วไป ต้องการรายละเอียดการใช้เชื้อ บีที ติดต่อสอบถามที่ สำนักอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลาง บางเขน จตุจักร กทม. 10900 ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
3
ตำบล / แขวง :
หนองไข่น้ำ
อำเภอ / เขต :
หนองแค
จังหวัด :
สระบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 341
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM