เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกสะละที่จังหวัดร้อยเอ็ดได้ผลหรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเคยไปดูเขาปลูกสะละที่จังหวัดจันทบุรี เห็นแล้วได้ผลดี คิดอยากลองปลูกดูบ้าง จึงขอเรียนถามว่า จังหวัดร้อยเอ็ดที่สภาพอากาศมีความชื้นต่ำกว่าจังหวัดจันทบุรี จะปลูกสะละได้ผลหรือไม่ ขอคำชี้แจงด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    สะละ เป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงทั้งในดินและในบรรยากาศ ขณะเดียวกันสะละก็ไม่ชอบน้ำขังแฉะ จังหวัดชัยภูมิ เป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตอับฝน ปริมาณน้ำฝนจึงน้อยกว่าจังหวัดที่อยู่ตามชายแม่น้ำโขง ดังนั้น การจะปลูกสะละให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับลักษณะนิสัยของสะละ แต่อาจจะต้องเพิ่มทุนสูงขึ้น โดยเลือกสภาพพื้นที่สำหรับปลูกสะละให้อยู่ใกล้กับแม่น้ำลำคลอง ที่มีน้ำไหลรินให้ความชื้นตลอดปี และใช้ซาแรนสีดำล้อมแปลงปลูก หากแปลงปลูกมีขนาดใหญ่ควรกั้นด้วยซาแรนในแนวตั้งทุกๆ 3-4 แถว เพื่อช่วยรักษาความชื้นในแปลง ในช่วงที่อากาศร้อนจัด จำเป็นต้องให้น้ำด้วยระบบมินิสปริงเกลอร์ ดินที่มีความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.0 ต้องใส่ปูนขาวอัตรา 500-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ทุก 3 ปี พันธุ์ นับว่ามีความสำคัญไม่น้อย พันธุ์สะละเนินวง เป็นสะละที่มีเนื้อผลหวานหอมน่ารับประทาน จึงเป็นที่นิยมปลูกในแถบภาคตะวันออก ส่วนพันธุ์สะละหม้อ นั้นให้ผลดก แม้รสชาติและรูปร่างของผลจะสวยสู้สะละเนินวงไม่ได้ก็ตาม ไร่กำนันจุล ได้เลือกใช้พันธุ์สะละหม้อ ด้วยสามารถปรับตัวได้ดีในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว แต่จะร้อนและแห้งแล้งในฤดูร้อน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปรับสภาพแวดล้อมบางส่วนแล้ว ความสำเร็จในการปลูกสะละที่ไร่กำนันจุลก็บังเกิดขึ้น จุดเด่นของไร่กำนันจุลคือ ก่อนจะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์รวมทั้งไหม จะมีกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปประเภทเชื่องช้าแต่มั่นคง เมื่อล้มแล้วไม่มีเจ็บ ผมขอเล่าถึงความเป็นมาเกี่ยวกับการปลูกสะละที่ไร่กำนันจุลให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ เพื่อเป็นความรู้รอบตัว เมื่อย้อนหลังไปประมาณยี่สิบปีเศษมาแล้ว มีผู้นำสะละไปรับประทานในไร่ ไม่ทราบแน่ชัดว่า มีการโยนเมล็ดทิ้งหรือตั้งใจนำเมล็ดไปปลูกไว้ 2-3 ต้น ต่อมาเจริญเติบโตเป็นต้นสมบูรณ์ จนมีอายุ 7-8 ปี แม้จะออกดอกหลายครั้งแต่ไม่ยอมติดผล จึงมีการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ปลูกในแถบจังหวัดจันทบุรี ทำให้ทราบว่าต้นสะละมีต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น ทำให้ทราบว่าสะละที่ปลูกไว้ 2-3 ต้น นั้น เป็นต้นตัวผู้ทั้งหมด เมื่อทราบดังนั้นแล้วจึงนำต้นตัวเมียพันธุ์เดียวกันคือ พันธุ์หม้อที่ได้จากวิธีตัดชำ ทดลองปลูกอยู่ระยะหนึ่ง แน่นอนการช่วยผสมเกสรจะเป็นวิธีทำให้การติดผลดีขึ้น แม้ว่าไร่กำนันจุลจะปลูกสะละได้ผลดีก็ตาม แต่จะไม่เน้นการขายผลสดเพียงอย่างเดียว ผลผลิตที่เหลือหรือผลที่มีขนาดเล็กเกรดต่ำ มีการนำมาแปรรูป ทั้งสะละลอยแก้ว และน้ำสะละพร้อมดื่ม ทำให้ไม่สนใจว่าผลสดจะขายหมดหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ปลาส้ม ปลาจ่อม และปลาแดดเดียว รวมส้มโชกุน ฝรั่งแป้นสีทอง น้ำหม่อนผลสด แม้แต่ดักแด้ไหมก็มีขาย ดังนั้น จะเห็นว่าถึงแม้ไร่กำนันจุลประสบความสำเร็จในการผลิตไหมเส้นผืนแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ สนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนและสมบูรณ์ ไร่กำนันจุลจึงเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาการเกษตร ที่สามารถนำไปปรับใช้ในไร่นาของท่านได้เป็นอย่างดีครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ชัยภูมิ
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 339
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM