เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ยอดพริกที่ปลูกไว้ เหี่ยวและแห้ง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมขอรบกวนคุณทองกวาว เกี่ยวกับการปลูกพริกจินดา ดังนี้
  1. อาการยอดพริกเหี่ยวแห้ง เกิดจากสาเหตุใด และมักเกิดในช่วงฝนตกชุก
  2. บางคืนน้ำค้างลงจัด แต่ต้นพริกยังเหี่ยว จะแก้ไขอย่างไร และเม็ดพริกที่ยังเขียวก็ยังแห้งและเป็นสีขาว
  3. ยอดและใบหงิกงอ เกิดจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร
  4. หนอนกัดกินเม็ดและใบพริก จะแก้ไขอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
  1. อาการยอดเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง การเข้าทำลายของเชื้อโรคจะเกิดเชื้อในช่วงที่ฝนตกชุกมีความชื้นในบรรยากาศสูง อาการที่พบส่วนยอด ใบอ่อนและดอกจะเหี่ยวและเน่ามีสีน้ำตาลเข้ม ต่อมาจะปรากฏเส้นใยของเชื้อราสีขาวให้เห็น ลักษณะเส้นใยสั้น ๆ หยาบจำนวนมากทำมุมฉากกับผิวใบพริก ปลายเส้นใยป่องมีก้อนสีดำขนาดเล็กที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า วิธีป้องกันและกำจัด ใส่ปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อปรับปรุงให้ดินมีความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 6-6.8 ปลูกพืชหมุนเวียนด้วยพืชชนิดอื่น เช่น พืชตระกูลถั่วเพื่อตัดวงจรของเชื้อโรค หากพบการระบาดเพียง 1-2 ต้น ให้ถอนและเผาทำลายทิ้งไป เมื่อพบว่ามีการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วย สารเคมีกำจัดเชื้อรา ตามอัตราแนะนำ ทุก 5-7 วัน 2-3 ครั้ง อาการของโรคจะลดความรุนแรงลงและหมดไปในที่สุด
  2. ในวันที่มีความชื้นสูงแต่ต้นยังเหี่ยว เรียกว่า โรคเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อราอีกชนิดหนึ่ง อาการที่พบ ใบที่อยู่ส่วนล่างของลำต้นเริ่มมีสีเหลืองและลุกลามขึ้นส่วนบน ต่อมาเชื้อโรคเข้าทำลายในท่อน้ำและท่ออาหาร โรคชนิดนี้มักเข้าทำลายต้นพริกในระยะออกดอกออกผลทำให้ดอกและผลร่วงหล่น อีก 1-2 สัปดาห์ ต้นพริกจะตายในที่สุด วิธีป้องกันกำจัด ใช้วิธีเดียวกับข้อที่ (1) แต่หากพบการระบาดรุนแรงให้ใช้เทอราคลอ เทอราโซล หรือเทอราคลอซูเปอร์เอ็กซ์ผสมน้ำตามอัตราแนะนำราดลงดินบริเวณโคนต้นพริก จะทำให้ความรุนแรงลดลง
  3. อาการยอดพริกหงิกงอ เกิดได้ทั้งจากเพลี้ยไฟ และ ไรขาว หรืออาจเกิดการเข้าทำลายพร้อมกันก็ได้ การระบาดของเพลี้ยไฟจะเข้าทำลายต้นพริกในระยะที่ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามซอกใบและยอดใบอ่อน จะดูดน้ำเลี้ยงทำให้ใบอ่อน ยอดอ่อน ตาดอก ใบจะห่อบิดม้วนขึ้นด้านบนทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วย เมซูโรลหรือโตกุไธออน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทุก 5 วัน 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน การทำลายของเพลี้ยไฟจะหมดไป การระบาดของไรขาว ไรขาวจัดอยู่ในประเภทเดียวกับแมงมุมแต่มีขนาดเล็กมาก เข้าทำลายต้นพริกขณะมีฝนตกชุก อากาศชื้นจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ตายอด และยอดอ่อนที่แตกใหม่ ต้นจะแคระแกร็น ใบพริกจะเล็กแหลม ก้านใบยาว ขอบใบม้วนลงด้านล่าง และส่วนยอดจะหงิกงอเป็นฝอย ป้องกันกำจัดด้วยกำมะถันผง ไดอาซีโนน หรือ บาซูดิน ตามอัตราแนะนำ ฉีดพ่นทุก 5 วัน 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน การระบาดของไรขาวจะหมดไปในที่สุด
  4. หนอนเจาะกินเมล็ดพริก ตัวหนอนชนิดนี้เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ไม่พบการระบาดรุนแรงในพริกบ่อยนัก วิธีการป้องกัน ก่อนเกิดการระบาดเป็นวิธีดีที่สุด ด้วยการทำความสะอาดบริเวณรอบแปลงปลูกพริกให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนและอาศัยของผีเสื้อกลางคืน หมั่นลงตรวจแปลงปลูกพริกอย่างสม่ำเสมอ หากพบผีเสื้อกลางคืนบินพลุกพล่าน ให้ฉีดพ่นด้วย ซูมิไซดิน หรือซูเปอร์ครอน อัตรา 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ทุก 5-7 วัน ตามความจำเป็นและก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 สัปดาห์ ให้งดใช้สารเคมีทุกชนิด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ปทุมธานี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 285
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM