เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ใบปาล์มมีจุดเป็นหย่อม ๆ, ปุ๋ยที่จะทำให้ปาล์มแตกหน่อมาก, ต้นเงินเต็มบ้านใบหงิก
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีปัญหาขอเรียนถามเกี่ยวกับไม้ประดับ จำพวก ปาล์มชนิดต่าง ๆ และเงินเต็มบ้านอีกชนิดหนึ่ง ผมขอถามปัญหาดังต่อไปนี้
  1. ใบต้นหมากเหลืองที่ใบมีจุดสีน้ำตาลดำ เป็นหย่อม ๆ และมีแมลงรบกวนมาก ไม่ทราบว่าจะใช้ยาอะไรกำจัดดี ผมเคยได้รับฟังจากเพื่อน ๆ เล่าว่า การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดจะทำให้ยาเสื่อมคุณภาพจริงหรือไม่ และแยกกันใช้ควรใช้ห่างกันกี่วัน
  2. การใส่ปุ๋ยเคมีนอกจาก สูตร 16-16-16 มีสูตรอะไรบ้าง ที่ให้หน่อมากและให้กี่วันต่อครั้ง ต้นเงินเต็มบ้านของผมปลูกไว้มีปัญหามาก เนื่องจากเกิดอาการใบหงิก โดยเฉพาะนำลงปักชำในขี้เถ้าแกลบใบจะยิ่งหงิกมากขึ้น แม้ว่าผมจะใส่ปุ๋ยเคมีแล้วก็ตามจะแก้ไขอย่างไร ผมใช้สารเคมีบางชนิด แต่ใบยังเน่าเป็นวงกลม ๆ ต่อมาลุกลามและเน่าทั้งใบ เกิดจากการรดน้ำมากเกินไปหรือเปล่าครับ และการนำลงปักชำในขี้เถ้าแกลบ ทำไมต้นเน่ามาก เป็นเพราะอะไรครับ
วิธีแก้ไข :
 
  1. อาการที่พบเป็นจุดสีน้ำตาลดำบนใบต้นปาล์มนั้น เกิดจากแมลงมาตอมที่ใบแล้วถ่ายมูลออกมาทิ้งไว้ที่ใบ มูลเหล่านี้จะเป็นที่ชื่นชอบของเชื้อรา เมื่อเชื้อราได้รับอาหารพอเพียงจะเจริญเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป ชนิดที่เป็นศัตรูพืชก็จะทำลายใบปาล์มได้ การแก้ไข ให้ตัดใบปาล์มที่พบเชื้อราระบาดเผาไฟทิ้งไป แล้วสุมไฟไล่แมลงเป็นระยะ ๆ หรือใช้สารเคมีฉีดพ่นบ้างการระบาดของแมลงและเชื้อราจะหมดไป ที่สำคัญระยะดังกล่าวให้งดการใช้ปุ๋ยเคมีลงโดยเฉพาะปุ๋ยสูตรที่มีธาตุไนโตรเจนสูง การให้น้ำกับต้นไม้ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรให้มากจนชื้นแฉะ เพราะจะทำให้ใบฉ่ำน้ำ โรคเข้าทำลายได้ง่าย การผสมสารเคมีหลายชนิดเพื่อใช้ฉีดควบคุมโรคแมลงบางชนิดจะทำให้คุณภาพเสื่อมได้ก็มี เช่น สารเคมีบางชนิดละลายในน้ำ บางชนิดละลายในน้ำมัน เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแมลงต่ำลงได้ แต่ในทางตรงข้าม บางชนิดอาจผสมกันได้จะไม่เกิดผลเสียก็มี ดังนั้น เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 กรณี แต่ทางดีที่สุดไม่ควรใช้วิธีผสมกัน ควรใช้ครั้งและชนิดตามความเหมาะสม ระยะห่างกัน 2-3 วัน ก็พอเพียง
  2. การใส่ปุ๋ยเร่งการแตกหน่อ คุณใช้ สูตร 46-0-0 หรือปุ๋ยยูเรีย ละลายน้ำ อัตรา 2 กำมือ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง จะได้ผลดี เมื่อเห็นว่าแตกหน่อหรือแตกกอดีแล้วให้งดการใช้ปุ๋ยเคมี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การใส่ปุ๋ยคอกเก่า เพราะจะไม่เร่งการเจริญเติบโตมากเกินไป ทำให้รูปทรงสวยเป็นปกติ 
  3.  ต้นเงินเต็มบ้าน ใบหงิกงอ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัส อาการแสดงออกชัดเจนคือบริเวณที่หงิกจะมีสีเหลืองอ่อน โรคชนิดนี้ไม่มีสารเคมีใด ๆ รักษาได้ ต้องตัดทิ้งเพียงอย่างเดียว และป้องกันห้ามใช้มีดไปตัดต้นอื่น ๆ ทันที จำเป็นต้องเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคก่อนทุกครั้ง อาการใบหงิกและมีรอยไหม้ อาจเกิดจากสัมผัสปุ๋ยเคมีขณะใส่ลงในดิน อาการแบบนี้จะหมดไป แต่ใบอ่อนแตกขึ้นมาใหม่ อาการที่เกิดจากเพลี้ยไฟใบจะหงิกม้วนลงขอบใบมีสีม่วง แต่กรณีนี้ตัดทิ้งไปเนื่องจากเพลี้ยไฟจะระบาดเฉพาะในช่วงที่อากาศแห้งแล้งเท่านั้น ดังนั้น น่าจะสรุปได้ว่าเกิดการใช้สารเคมีที่เข้มข้นเกินไป ระยะนี้ขอแนะนำให้งดการฉีดพ่นสารเคมีไว้ก่อน พร้อมกับตัดแต่งใบให้โปร่ง ลมพัดผ่านได้บ้าง การใส่ปุ๋ยก็ให้งดเช่นเดียวกัน พร้อมกับปรุงแต่งวัสดุเพาะให้โปร่งซุย รดน้ำน้อยลง อย่าให้วัดสุชื้นแฉะเกินไป พรางแสงให้บ้าง ต้นไม้ของคุณก็จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในที่สุด อาการใบหงิกจะหมดไปเอง สาเหตุของการตายของต้นเงินเต็มบ้านเน่าตายหลังชำในวัสดุเพาะขี้เถ้าแกลบ เนื่องจากการระบายน้ำได้ไม่ดี การแก้ไขข้างต้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
6
ตำบล / แขวง :
บางรักพัฒนา
อำเภอ / เขต :
บางบัวทอง
จังหวัด :
นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
11110
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 280
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM