เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเตรียมน้ำในบ่อก่อนปล่อยลูกปลา , การเตรียมน้ำในบ่อก่อนปล่อยลูกปลา, การป้องกันกำจัดสาหร่ายขนแมวในบ่อเลี้ยงปลา
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเลี้ยงปลาสวยงามเป็นอาชีพมาแล้วหลายปี แต่มีปัญหาในการเตรียมบ่อและการกำจัดสาหร่ายขนแมว จึงขอความกรุณาช่วยอธิบายรายละเอียดให้ทราบด้วย พื้นที่บ่อขนาด 1 ไร่ ระดับน้ำลึก 1.5 เมตร โดยสูบน้ำจากคลองธรรมชาติพักไว้ในบ่อ 3-5 วัน จึงปล่อยลูกปลา
  1. วิธีการเตรียมน้ำในบ่อก่อนจะปล่อยลูกปลาควรทำอย่างไร
  2. สาเหตุที่เกิดสาหร่ายขนแมวในบ่อปลา และวิธีป้องกันกำจัด ก่อนและหลังปล่อยปลาแล้ว 1-2 เดือน ควรทำอย่างไร
  3. อาหารสำหรับบำรุงแม่ปลากำลังท้อง
  4. การขยายพันธุ์ปลาจะละเม็ดน้ำจืด หรือ เปคูแดง และสูตรฮอร์โมนที่ใช้ผสมเทียมด้วย
วิธีแก้ไข :
 
  1. การเตรียมน้ำในบ่อเลี้ยงปลา หากเป็นบ่อใหม่ หลังจากขุดแต่งบ่อเรียบร้อยแล้ว ควรหว่านปูนขาว อัตรา 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่ถ้าเป็นบ่อเก่า ต้องกำจัดวัชพืชออกจนสะอาด บ่อที่ตื้นเขินให้ขุดลอกเลนออกและแต่งขอบบ่อให้แข็งแรง ตากบ่อไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงสูบน้ำเข้าบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลา เช่น ปลาช่อน และศัตรูอื่น ๆ รวมทั้งสาหร่ายชนิดต่าง ๆ ติดเข้าไปในบ่อจึงควรใช้ตาข่ายไนลอนกรองที่ปลายท่อขณะสูบน้ำเข้าบ่อ เพิ่มระดับน้ำลึก 10-20 เซนติเมตร แล้วหว่านปุ๋ยคอก อัตรา 100 กิโลกรัม ต่อไร่ ทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงเพิ่มระดับน้ำลึก 80-100 เซนติเมตร ต่อมาจะมีตะไคร่น้ำเกิดขึ้นเหมาะสำหรับเป็นอาหารปลาได้ทุกวัย จากนั้นปล่อยลูกปลาที่แข็งแรงลงในบ่อ ด้วยวิธีนำถุงพลาสติกบรรจุลูกปลาแช่ลงในน้ำทิ้งไว้จนอุณหภูมิของน้ำในถุงพลาสติกเท่ากับอุณหภูมิของน้ำในบ่อ เปิดปากถุงให้ลูกปลาว่ายออกจากถุงอย่างช้า ๆ เวลาปล่อยปลาที่ดีที่สุดควรปล่อยตอนเย็นขณะพระอาทิตย์ใกล้ตกดินแล้ว โอกาสรอดของลูกปลาจะมีอัตราสูง
  2. สาเหตุของการระบาดของสาหร่ายขนแมวในบ่อปลา เกิดได้ทั้งจากมีชิ้นส่วนหรือแหล่งพันธุ์ของสาหร่ายมีอยู่ในบ่อก่อนใช้เลี้ยงปลา หรือขณะสูบน้ำจากคลองจะมีสาหร่ายติดเข้ามาด้วย เมื่อน้ำในบ่อมีการใส่ปุ๋ยคอก สาหร่ายได้ธาตุอาหารที่สมบูรณ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชในน้ำขึ้น วิธีป้องกันทำได้ตามวิธีที่ผมแนะนำแล้วตามข้อ 1 การกำจัดหลังปล่อยปลาแล้ว 1-2 เดือน ให้ใช้มือกำจัดจะสะดวกที่สุด โดยใช้เรือพายขนาดเล็กและใช้สวิงช้อนเก็บในเรือนำไปเลี้ยงสุกร หรือทำปุ๋ยหมักก็ได้ผลดี ดังนั้น การป้องกันตั้งแต่ระยะแรกจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดครับ
  3. อาหารสำหรับบำรุงแม่ปลา (ปลากินเนื้อ)
  4. การขยายพันธุ์ปลาเปคูแดง ปัจจุบันยังคงใช้วิธีธรรมชาติ คือคัดเลือกพ่อแม่ที่สมบูรณ์ ปล่อยลงในบ่อให้ผสมพันธุ์แล้วจึงแยกพ่อ-แม่ออกไป แล้วนำลูกปลาไปอนุบาลจนได้ขนาดเพื่อปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป ส่วนวิธีผสมเทียมยังไม่มีรายละเอียดครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
2
ตำบล / แขวง :
สามเรือน
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ราชบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
70000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 282
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM