เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการใช้บ่อกุ้งเก่าเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีบ่อกุ้งกุลาดำเก่าที่เลิกเพาะเลี้ยงอยู่ 3-4 บ่อ ต้องการนำมาใช้ประโยชน์แต่ไม่ทราบจะทำอะไรดี จึงขอเรียนถามว่า ผมจะใช้ทำอะไรจึงจะได้ผลคุ้มค่า ขอคำแนะนำจากคุณหมอด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    กรมประมง เคยทำการศึกษาเรื่องการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อกุ้งกุลาดำร้างได้ผลดีและเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ บ่อกุ้งที่เหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงปลากะพงขาว ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำกร่อย มีน้ำขึ้นและน้ำลงที่ระบายน้ำได้สะดวก ดินและน้ำมีค่าเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 7-8.5 ขนาดบ่อลึก 1.80-2.0 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ลึก 1.2-1.5 เมตร ทำความสะอาดบ่อเก่าอย่าให้มีศัตรูอาศัยอยู่ แล้วจึงสูบน้ำเข้าบ่อและพักน้ำไว้ 5-7 วัน ปรับน้ำให้มีความเค็ม 10-30 พีพีที (10-30 ส่วนในพันส่วน) นำลูกปลาที่มีขนาดความยาว 5-7 เซนติเมตร อัตรา 1,600-2,400 ตัว ต่อไร่ แต่ถ้ามีระหัดตีน้ำให้เพิ่มอัตราเป็น 3,000-4,500 ตัว ต่อไร่ ปรับความเค็มของน้ำในบ่อให้ใกล้เคียงกับน้ำภายในถุงลูกปลา นำถุงลูกปลาแช่ในบ่อที่มีระดับน้ำลึก 1-1.20 เมตร ให้มีอุณหภูมิเท่ากัน แล้วจึงเปิดปากถุงและปล่อยลูกปลาออกอย่างช้า ๆ โอกาสรอดตายของลูกปลาจะมีเปอร์เซ็นต์สูง ระยะแรกควรกั้นคอกในบ่อด้วยอวนตาถี่ขนาด 1-1.5 ตารางเซนติเมตร ขนาดคอกอาจใช้ 3x3 เมตร หรือ 4x4 เมตร ความสูงให้สูงเหนือระดับผิวน้ำ 1 ฟุต เลี้ยงในคอกนาน 1-2 สัปดาห์ จนลูกปลาปรับตัวได้จึงปล่อยออกสู่บ่อกว้าง เนื่องจากปลากะพงเป็นปลากินเนื้อ อาหาร ที่ให้คือ ปลาเป็ดบดหรือปลาเป็ดสับ หรืออาหารผสมเปียก ปลาขนาดเล็กให้วันละ 2 มื้อ แต่เมื่ออายุครบ 60 วัน หรือ 2 เดือน เปลี่ยนมาให้วันละ 1 เวลา หรือ 1 มื้อ ก็พอ ปริมาณอาหารที่ให้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ปลาที่กินอาหารอิ่มแล้วจะไม่ว่ายน้ำมากินอีก วิธีให้โดยหว่านรอบบ่อ หรือหว่านอาหารลงบนแคร่ไม้ไผ่ หรือสังกะสีที่แช่ในน้ำลึก ประมาณ 15 เซนติเมตร จะได้ผลดี เมื่อเห็นว่าน้ำเริ่มสกปรกควรถ่ายน้ำทุก ๆ 5-7 วัน แต่ละครั้งควรถ่ายออกเพียง 1 ใน 3 ของระดับน้ำในบ่อเท่านั้น การเพิ่มหรือสูบน้ำเข้าบ่อในตอนเช้ามืดระหว่าง 3-4 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น ขณะระบายน้ำออกและสูบน้ำเข้าบ่ออย่าทำให้ปลาตกใจเพราะปลาจะไม่ยอมกินอาหารเป็นเวลาหลายวัน การเลี้ยงและดูแลอย่างถูกวิธีอายุครบ 6-7 เดือน จะได้ปลาขนาด 400-600 กรัม ต่อตัว หรืออัตราแลกเนื้อเท่ากับ 4.23 นั่นคือ เมื่อใช้อาหารเลี้ยงปลา 4.23 กิโลกรัม จะได้น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ต่อตัว โรคสำคัญของปลากะพง ที่พบในบ่อเลี้ยง ได้แก่ พยาธิภายนอก เช่น เห็บระฆัง ปลิงใสและเห็บก้ามปู พยาธิเหล่านี้จะดูดกินเลือดปลาเป็นอาหาร ขณะเดียวกันจะทำความรำคาญให้กับปลา ปลาจึงกินอาหารได้น้อยลง การเจริญเติบโตอยู่ในอัตราต่ำกว่าปกติ วิธีรักษาให้เติมฟอร์มาลินอัตรา 20 ลิตร ลงในบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ ระดับน้ำลึก 0.5 เมตร อาการระบาดของพยาธิจะหมดไป โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย มักเกิดขึ้นเนื่องจากความสกปรกในบ่อเพาะเลี้ยง หรือปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นเกินไป อาการที่พบคือ เกิดแผลตามลำตัวลึกเข้าไปในกล้ามเนื้อ หากเกิดรุนแรงจะทำให้ปลาตายได้ ป้องกันและกำจัดโรคได้โดยวิธีผสมยาปฏิชีวนะ เตตราซัยคลิน หรือออกซีเตตราซัยคลิน อัตรา 2.5-3.0 กรัม ลงในอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 7 วัน อาการของโรคจะทุเลาลง ต้องการรายละเอียดสอบถามได้ที่ กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง เกษตรกลาง จตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2579-0256, 0-2561-4759 ในวันเวลาราชการ ส่วนการตลาดและราคา สอบถามที่ องค์การสะพานปลาและสะพานปลากรุงเทพฯ โทร. 0-2211-0300, 0-2211-4394 ในวันเวลาราชการเช่นเดียวกัน
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 287
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM