เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีปลูกองุ่นให้ได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
    ดิฉันมีความสนใจอยากทดลองปลูกองุ่น แต่ยังขาดข้อมูลหลายอย่าง ดิฉันจึงขอเรียนถามวิธีปลูก ดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวองุ่น นอกจากนี้ จะหาซื้อกิ่งพันธุ์ได้จากที่ไหนได้บ้างคะ หวังว่า คงจะได้รายละเอียดจากคุณหมอเกษตร-ทองกวาว ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
วิธีแก้ไข :
 
    องุ่น มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน นิยมปลูกกันมาตั้งแต่ยุคโรมันรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน การนำองุ่นมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องุ่นเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เมื่ออายุ 2 ปี ลำต้นจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร องุ่นที่ปลูกในประเทศไทยมีทั้งชนิดใช้ผลิตไวน์ และรับประทานผลสด พันธุ์รับประทานผลสดที่นิยมปลูกกันมาก คือ พันธุ์ไวท์มะละกา จะมีผลสีเขียว ส่วนพันธุ์คาร์ดินัล มีผลสีม่วง วิธีเตรียมแปลงปลูกจะแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ในที่ลุ่มจะมีการยกร่องสวน ส่วนสภาพที่ดอนไม่จำเป็นต้องยกร่องสวนแต่อย่างใด การเตรียมดิน ต้องทำให้ร่วนซุย มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำได้ดี ไถพลิกดินตากแดดไว้นาน 2-3 สัปดาห์ แล้วย่อยดิน กำจัดวัชพืชออกจนสะอาด ใส่ปุ๋ยคอกเก่าคลุกเคล้าให้เข้ากัน หว่านปูนขาวอัตรา 500-600 กิโลกรัม ต่อไร่ ในที่ลุ่มต้องยกร่องกว้าง 4-5 เมตร ส่วนร่องน้ำกว้าง 1-1.5 เมตร บนสันร่องจะปลูกกลางแถวเพียงแถวเดียว หรือจะปลูก 2 แถว สลับฟันปลาก็ได้ ใช้ระยะปลูก 2x2 หรือ 3x3 เมตร จากนั้นเตรียมหลุมกว้างลึก 30-50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าและปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 250 กรัม ต่อหลุม วางกิ่งพันธุ์ลงหลุมปลูกพร้อมฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะออก ระวังอย่าให้รากขาด กลบดินให้สูงกว่าผิวดินเล็กน้อย ส่วนปลูกที่ดอนการระบายน้ำดี กลบดินให้ต่ำกว่าระดับผิวดินเล็กน้อยแล้วรดน้ำตาม ช่วงปลูกที่ดีที่สุดคือ เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน ระยะแรกควรปักไม้เป็นหลักสูง 1.5 เมตร ผูกเถาองุ่นให้ติดกับหลักเตรียมให้ทอด หรือเลื้อยขึ้นค้าง การทำค้าง ค้างมีความจำเป็นเมื่อองุ่นมีอายุครบ 1 ปี ปัจจุบันนิยมทำเสาค้างแบบคู่ อาจใช้ไม้ ขนาด 2x4 นิ้ว หรือเสาไม้ไผ่รวก หรือเสาคอนกรีตก็ได้ ทั้งนี้เลือกได้ตามความเหมาะสม ปักเสาคู่ห่างกัน 2.5-3 เมตร วางทับคานบนให้ยื่นเกินหัวเสา ด้านละ 30-50 เซนติเมตร ให้เสาและคานแต่ละชุดห่างกันทุก ๆ 5-10 เมตร ความยาวของแต่ละแปลงอยู่ระหว่าง 20-30 เมตร ตั้งตามแนวทิศทางลมพัดผ่าน จากนั้นขึงลวดเบอร์ 11-14 พาดบนคาน 6-9 เส้น ตามความกว้างของคาน 2.5-3 เมตร แล้วขึงลวดให้ตึง รวบหัวท้ายผูกรั้งกับเสาเตี้ย ๆ ปักเอียงเล็กน้อยฝังลงดินให้แน่นป้องกันเส้นลวดหย่อนตกท้องช้าง การตัดแต่งกิ่ง 1. การตัดแต่งกิ่งระยะเลี้ยงเถา เมื่อครบ 1 ปี ต้นองุ่นจะเลื้อยสูงประมาณ 1.5 เมตร ระยะนี้ต้องปลิดตาข้างออกอย่าให้แตกกิ่งก้าน จนมีความสูง 1.5 เมตร ดังกล่าว จึงตัดยอดทิ้งเพื่อให้แตกตาด้านข้าง 2-3 ยอด ปล่อยให้กิ่งแตกใหม่ยาว 1 เมตร จึงตัดยอดอีกครั้งให้แตกยอดอีกกิ่งละ 2-3 ยอด ต่อไปให้ตัดกิ่งที่ยาวเกินไปทิ้ง ให้แถวองุ่นเลื้อยคลุมบนเส้นลวดทั่วกัน กิ่งชนิดนี้เรียกว่า เคน ที่จะให้ผลต่อไป 2. การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกดอกติดผล ครบ 1.5-2 ปี สามารถตัดแต่งได้ ก่อนตัดแต่ง 1 เดือน ควรกักน้ำให้ต้นองุ่นชะงักการเจริญเติบโต ด้วยการตัดแต่ละกิ่งให้เหลือตา 3-4 ตา อีก 10 วัน ตาจะเจริญเป็นกิ่งอ่อนพร้อมทั้งมีช่อดอกเกิดขึ้น ดอกจะบานเมื่อครบ 20 วัน ดอกจะเริ่มบานจากก้านช่อไปยังปลายช่อ ใช้เวลาเพียง 2 วัน ดอกจะบานทั้งช่อ การปลิดยอดอ่อน เมื่อพบยอดและช่ออ่อนไม่สมบูรณ์ให้เด็ดทิ้งไป หลังดอกบานแล้ว 20-30 วัน ให้ปลิดผลอ่อนทิ้งไปประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรที่มีความชำนาญจะใช้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิล ฉีดช่วยยืดช่อผล การให้ปัจจุบันนิยมใช้ระบบน้ำหยด ข้อดีนอกจากประหยัดน้ำแล้วยังไม่ทำให้แปลงปลูกชื้นเกินไป จะเกิดโรคระบาดได้ง่าย การให้ปุ๋ย แบ่งใส่ 3 ระยะ ระยะแรก ก่อนตัดแต่งกิ่ง 15 วัน ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา 200 กรัม ต่อต้น ระยะที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกันและอัตราเดียวกันหลังตัดแต่งกิ่ง 45 วัน ระยะที่ 3 ใช้ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 300 กรัม ต่อต้น พันธุ์คาร์ดินาล จะเก็บผลได้หลังดอกบาน 3.5 เดือน ส่วน พันธุ์ไวท์มะละกา เก็บเกี่ยวผลได้หลังดอกบาน 4.5 เดือน โรคสำคัญ ที่ทำความเสียหายให้องุ่นอยู่เสมอ คือโรค แอนแทรกโนส เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งทำลายได้ทั้งใบ ช่อดอกและที่ผล ระยะแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ ต่อมาขยายใหญ่ขึ้นมีสีน้ำตาลเข้ม ผลจะบุ๋มลงเล็กน้อย ขอบแผลมีสีเข้ม หากรุนแรงผลจะเหี่ยวแห้งในที่สุด ป้องกันและกำจัดด้วย แคปแทน หรือคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ ตามอัตราแนะนำแล้วเสริมด้วยเบนเลท อาการของโรคจะบรรเทาลง โรคราน้ำค้าง เชื้อโรคสามารถเข้าทำลายองุ่นได้ทุกระยะที่ใบจะเกิดจุดเหลืองขนาดเล็กที่ผิวใบด้านบน และจะมีเส้นใยสีขาวที่ใต้ใบ ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้นและร่วงหล่นในที่สุด อาการที่กิ่งอ่อนจะพบสีน้ำตาลอ่อน ถ้ามีความชื้นสูงเส้นใยสีขาวของเชื้อราจะปรากฏให้เห็น ทำให้กิ่งและยอดไม่เจริญเติบโต การระบาดที่ผลจะทำให้ผลลายมีสีน้ำตาลขายไม่ได้ราคา ควบคุมด้วยไดโฟลาแทน หรือคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ หรือแคปแทน ตามคำแนะนำในฉลาก แมลงศัตรู ที่สำคัญคือ เพลี้ยไฟ มักระบาดในช่วงแล้ง พบการระบาดรุนแรงในใบอ่อน อาการที่พบ ใบจะหดย่นและมีขนาดเล็กลง ป้องกันด้วยเมทโธมิล อัตรา 6-12 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 1 ปี๊บ อาการของการระบาดจะหมดไป ส่วนแหล่งพันธุ์ ติดต่อที่ ไร่องุ่นวังม่วง อ.วังม่วง จ.สระบุรี โทร. 0-3636-4504-5
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
14
ตำบล / แขวง :
ท่าเยี่ยม
อำเภอ / เขต :
โชคชัย
จังหวัด :
นครราชสีมา
รหัสไปรษณีย์ :
30190
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 282
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM