เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แนวโน้มราคาและตลาดกุ้งกุลาดำของไทย
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีข้อสงสัยขอถามว่า กรณีที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและของโลกอยู่ในภาวะตกต่ำ การส่งออกสินค้าเกษตรด้านประมง ตัวอย่างเช่น กุ้งกุลาดำที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบกับอนาคตกุ้งกุลาดำอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องราคากุ้งกุลาดำ และยิ่งจีนเข้า WTO ด้วยแล้ว จะมีผลกระทบอย่างไร ในจีนมีเลี้ยงกุ้งกุลาดำหรือไม่ รวมทั้งจะมีผลกับการเลี้ยงกวางในประเทศไทยอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    สถานการณ์กุ้งกุลาดำของประเทศไทย ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตกุ้งกุลาดำใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในขณะนี้ มีปริมาณส่งเข้าที่แพกุ้งมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร วันละ 900 ตัน โดยเฉลี่ย แหล่งผลิตที่สำคัญ 90 เปอร์เซ็นต์ ยังอยู่แถบจังหวัดภาคใต้ ประเทศผู้นำเข้าอันดับหนึ่งคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ปัจจุบันและอนาคต กรมการค้าภายในคาดว่าราคาจะทรงอยู่และอาจจะอ่อนตัวลงในอนาคต เนื่องมาจากหลายสาเหตุ มิใช่เฉพาะปัญหาเศรษฐกิจโลกเท่านั้น เช่น ด้านคุณภาพของผลผลิตยังไม่ดีพอ เริ่มตั้งแต่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้ผู้ซื้อตรวจพบสารตกค้างในกุ้งอยู่เป็นประจำ ระยะทางขนส่งค่อนข้างห่างไกลจากจุดเริ่มต้นคือ แหล่งผลิตหรือบ่อเลี้ยงกุ้งจนถึงปลายทางคือ โรงงานแปรรูปสินค้าจึงไม่สด กระบวนการซื้อขายกุ้งที่แพกุ้งยังไม่เป็นสากล ใช้เวลานานและมีการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงยิ่งทำให้คุณภาพของกุ้งต่ำลง อีกปัจจัยหนึ่ง มีโรงงานแปรรูปหลายโรงงานนำเข้ากุ้งกุลาดำเข้าจากประเทศอินเดียและประเทศใกล้เคียง ทั้งนี้รัฐบาลยังเปิดให้นำเข้ากุ้งกุลาดำโดยเสรี จึงเป็นการดึงราคากุ้งไม่ให้สูงขึ้นมากเกินไป หรืออาจมีผลทำให้ราคากุ้งในประเทศตกต่ำลงก็เป็นไปได้ ทั้งนี้กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งได้เสนอให้รัฐบาลเก็บภาษีนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ขั้นต้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.5 นอกจากนี้ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าปริมาณกุ้งที่ผลิตในอนาคตอันใกล้นี้อาจจะมีปริมาณมากเกินความต้องการของตลาด จึงมีการเตรียมห้องเย็นเก็บสต๊อกกุ้งไว้เพื่อนำออกจำหน่ายในช่วงที่กุ้งมีราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ให้ตระหนักไว้เสมอว่า ต้นทุนการผลิตกุ้งเฉลี่ยประมาณ 200-220 บาท ต่อกิโลกรัม หากราคาซื้อขายใกล้เคียงกับราคาต้นทุนการผลิตก็ควรหันเหไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า ส่วนหลังจากประเทศจีนเข้า WTO แล้ว ผลกระทบเรื่องกุ้งน่าจะเป็นในทางบวกได้บ้าง แต่ก็คงไม่มาก เนื่องจากจีนยังสามารถจับกุ้งจากทะเลได้ในปริมาณพอเพียงบริโภคในประเทศ อีกทั้งกุ้งกุลาดำยังไม่เป็นอาหารจานโปรดของจีนเท่าใดนัก ปัญหาทางด้านนี้จึงมีน้อย ในจีนมีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำบ้างแต่ไม่เป็นธุรกิจใหญ่ ส่วนถามว่า การเลี้ยงกวางล่ะจะมีผลกระทบหรือไม่ ขอตอบว่า มีผลกระทบแน่นอน เนื่องจากประเทศจีนเป็นแหล่งเลี้ยงกวางที่สำคัญและมีเลี้ยงกันมานานแล้ว เมื่อสองปีก่อน ผมและเพื่อน ๆ เดินทางไปคุนหมิง ในร้านค้าแห่งหนึ่งโชว์ขาและสะโพกกวางรมควันบรรจุกล่องกระดาษ ด้านหน้าเปิดให้เห็นมีขนาดใกล้เคียงกับลูกวัว อายุ 6-12 เดือน เลยทีเดียว เขาขายเพียง 800 บาท เท่านั้น แน่นอนคนไทยจึงซื้อกันจนหมดร้าน กลับถึงเมืองไทยราคาคงเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าตัว ก็คงจะได้ แต่ไม่ต้องกลัวครับ เมืองไทยเรามีอะไรอีกหลายอย่างที่จะนำมาใช้ประกอบอาชีพได้ ขอให้มีจิตใจมุ่งมั่นจะทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จโดยไม่ย่อท้อ ชัยชนะจะมาถึงคุณในที่สุด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
5
ตำบล / แขวง :
บึงน้ำรักษ์
อำเภอ / เขต :
ธัญบุรี
จังหวัด :
ปทุมธานี
รหัสไปรษณีย์ :
12110
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ปีที่ 14 ฉบับที่ 276
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM