เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การผลิตหม่อนผลสด
   
ปัญหา :
 
 
    ผมปลูกหม่อนไว้จำนวนหนึ่ง เป็นพันธุ์ที่ติดผลดีพอประมาณ แต่ไม่ถึงกับดก ขอเรียนถามว่า วิธีโน้มกิ่งบังคับให้ออกผลนอกฤดูนั้นมีวิธีทำอย่างไร และจะต้องดูแลเพื่อให้ได้ผลดีนั้น ควรปฏิบัติอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    หม่อนที่ติดผลดีที่สุดคือ พันธุ์เชียงใหม่ หรือนิยมเรียกว่า หม่อนผลสด หม่อนพันธุ์นี้จะให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 800-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ประโยชน์ของผลหม่อนใช้ทำแยม น้ำผลหม่อน และไวน์ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่มีผู้นำมาจากจีน และปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่มานานแล้ว การขยายพันธุ์นิยมใช้วิธีเพาะชำ หม่อนให้ผลเมื่อมีอายุครบ 3 ปี หม่อนพันธุ์เชียงใหม่มีดอกเพศผู้และเพศเมียในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้ ออกเป็นช่อ แต่ละดอกมีกลีบดอก 4 กลีบ หลังดอกบานก้านเกสรตัวผู้จะยืดยาวออกและขับละอองแตกปล่อยเกสรสีเหลืองไปผสมกับเกสรตัวเมีย ดอกตัวเมียจะออกเป็นช่อเช่นเดียวกับเกสรตัวผู้ กลีบดอกมี 4 กลีบ ห่อหุ้มรังไข่ ก้านเกสรตัวเมียและยอดเกสรตัวเมียไว้ ในรังไข่มีไข่อ่อน ส่วนปลายสุดคือ ยอดเกสรตัวเมีย ดอกที่ได้รับการผสมเกสรแล้วจะพัฒนาเป็นผลต่อไป ผลที่ได้เรียกว่า ผลรวม ลักษณะรูปร่างคล้ายผลสตรอว์เบอร์รี่ ผลอ่อนมีสีเขียว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีชมพู แดง และสีดำคล้ำ ในธรรมชาติหม่อนจะออกดอกต้นเดือนมกราคม ผลจะสุกแก่ในเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนเมษายน แต่ปัจจุบันมีการค้นพบวิธีโน้มกิ่ง ลิดใบให้หม่อนออกดอกนอกฤดูได้ การปลูกหม่อนผลสด ใช้วิธีเดียวกับการปลูกไม้พุ่มทั่วไป ระยะปลูกที่ให้ผลดีที่สุดคือ 0.75x2.0 เมตร การโน้มกิ่งเป็นวิธีบังคับให้หม่อนติดผลนอกฤดูเพื่อเพิ่มผลผลิต หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนเมษายน ตัดแต่งกิ่งให้เตี้ยลง มีความสูง 70-100 เซนติเมตร ต่อมาจะแตกกิ่งก้านใหม่ ปล่อยให้เจริญเติบโตพร้อมบำรุงให้สมบูรณ์จนครบ 6 เดือน กิ่งเกิดใหม่สูงประมาณ 1.50 เมตร จึงลิดใบและตัดยอดทิ้งประมาณ 30 เซนติเมตร รวบกิ่งของต้นตรงข้ามของแต่ละแถว ผูกมัดในลักษณะเป็นอุโมงค์ หรือกระโจมด้วยเชือกหรือลวด ภายใน 2 สัปดาห์ จะเริ่มให้ดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเวลา 60 วัน หลังจากออกดอกแล้ว จากนั้นสามารถเก็บผลได้อีกเป็นเวลา 30 วัน เมื่อดอกเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลดำ ให้เก็บผลด้วยมือบรรจุลงในภาชนะ ทับกันไม่เกิน 2 ชั้น นำเข้าเก็บในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หากเก็บที่อุณหภูมิ - 22 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 6 เดือน ก่อนเก็บในห้องเย็นควรบรรจุในถุงพลาสติกใส ขนาดบรรจุ 10 กิโลกรัม จะคงคุณภาพของผลได้ดี โรคสำคัญของหม่อนผลสด เช่น โรครากเน่า ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ทำความเสียหายให้หม่อนได้ทุกช่วงอายุ การระบาดรุนแรงจะทำให้ต้นหม่อนตายทั้งแปลง ระยะแรกใบจะเหี่ยวคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาใบจะเริ่มเหี่ยวจากส่วนยอดลงมา เมื่อขุดนำรากขึ้นมาพบว่า รากเน่าเปื่อย มีสีน้ำตาลปนดำ เปลือกรากและเปลือกบริเวณโคนต้นหลุดออกมีกลิ่นเหม็นรุนแรง วิธีป้องกันกำจัด เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้ขุดต้นทั้งรากขึ้นมาเผาทำลายทิ้งไป ใส่ปูนขาวลงบริเวณหลุม พร้อมตากดินทิ้งไว้ 1-2 เดือน ก่อนการปลูกซ่อม ระหว่างพรวนดิน หลังการใส่ปุ๋ยระวังอย่าให้ต้นหม่อนเกิดบาดแผล การตัดแต่งกิ่งควรใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ที่คมและสะอาด คือก่อนและหลังตัดกิ่งต้องทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งในเขตที่มีโรครากเน่าระบาด ให้ปลูกด้วยกิ่งพันธุ์ที่ใช้พันธุ์ บร.4/2 เป็นต้นตอ และติดตาด้วยพันธุ์เชียงใหม่ การระบาดของโรคจะหมดไปในที่สุด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
1
ตำบล / แขวง :
สะอาดสมบูรณ์
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ร้อยเอ็ด
รหัสไปรษณีย์ :
45000
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 338
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM