เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ฝนนี้ระวังเห็ดพิษ กินถึงตาย
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเป็นคนชอบรับประทานเห็ดโดยเฉพาะเห็ดโคน ในช่วงฤดูฝนของทุกปี ชาวบ้านจะนำเห็ดออกจากป่ามาขายในตลาดเป็นจำนวนมาก บางชนิดผมไม่เคยรู้จักแต่ชาวบ้านบอกว่ากินได้ ใจหนึ่งก็อยากลอง อีกใจหนึ่งก็ไม่กล้าจะลอง เนื่องจากเห็ดบางชนิดที่มีพิษกินแล้วถึงตายก็มี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเห็ดพิษนั้นมีลักษณะอย่างไร และจะมีวิธีตรวจสอบว่าเห็ดเหล่านั้นมีพิษหรือไม่ควรปฏิบัติอย่างไร ขอทราบรายละเอียด และขอขอบคุณมาในโอกาสเดียวกันครับ
วิธีแก้ไข :
 
    เห็ดพิษ ที่สำรวจพบในปัจจุบัน มีอยู่ 7 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นเห็ดที่มีสารพิษ อะมาท็อกซิน และฟาโลท็อกซิน สารพิษทั้งสองชนิดจะทำลายเซลล์ของตับไต ระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด ระบบทางเดินหายใจและสมอง เมื่อบริโภคแล้วผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในเวลา 4-10 ชั่วโมง เห็ดที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น เห็ดระโงกหิน หรือเห็ดไข่ตายซาก ลักษณะของดอกเห็ดมีสีขาวล้วน ดอกขณะยังเล็กอยู่จะมีเปลือกหุ้มคล้ายเปลือกไข่ เมื่อโตเต็มที่ส่วนที่หุ้มจะฉีกขาดออก หมวกเห็ด เป็นรูปกระทะคว่ำ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-12 เซนติเมตร ที่ผิวมีเศษของเปลือกที่หุ้มปริแตก ติดเป็นชิ้นบาง ๆ ด้านล่างมีครีบขาวเรียงรอบก้านดอก ก้านดอก ยาว 5-12 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ผิวเรียบ โคนก้านเป็นกระเปาะใหญ่ ที่โคนล่างมีเปลือกคล้ายรูปถ้วยหงายหุ้มไว้ ตอนบนของก้านดอกมีวงแหวนแผ่นบางสีขาวแต่หลุดออกได้ง่าย เห็ดกลุ่มนี้พบได้ในทุกภูมิภาคของประเทศ กลุ่มที่ 2 สารพิษของเห็ดกลุ่มนี้จะทำลายระบบทางเดินอาหาร เซลล์ตับและระบบประสาท เช่น เห็ดสมองวัว หมวกดอกมีลักษณะคล้ายอานม้า สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม หมวกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-10 เซนติเมตร ผิวหมวกหยักเป็นลอนคลื่น ก้านดอกยาว 2-5 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผิวเรียบ ภายในกลวง เห็ดกลุ่มนี้พบมากที่ภาคเหนือของประเทศ กลุ่มที่ 3 พิษของเห็ดในกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาท จะออกฤทธิ์รุนแรงเมื่อรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เห็ดหิ่งห้อย หรือเห็ดน้ำหมึก หมวกเห็ดเป็นรูประฆังคว่ำ สีขาวนวลถึงสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 เซนติเมตร หมวกมีเนื้อหนา ขอบมีสีเทาดำ ดอกแก่มีรอยฉีกขาดเป็นแห่ง ๆ ครีบใต้หมวกสีขาว ต่อมาจะย่อยสลายตัวเองเป็นของเหลวสีดำ ก้านดอก หรือก้านหมวกมีรูปทรงกระบอก ยาว 5-11 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร ผิวเรียบ สีขาว เป็นมัน มักขึ้นอยู่ตามกองซากเปลือกถั่วเหลือง สารพิษทำให้มึนเมาหมดสติ แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต และจะหายเป็นปกติ ภายในเวลา 3-4 ชั่วโมง กลุ่มที่ 4 มีพิษทำลายระบบประสาท ผู้ที่บริโภคจะเกิดอาการเพ้อคลั่ง เคลิบเคลิ้ม และหมดสติ แต่ไม่เสียชีวิต เห็ดในกลุ่มนี้ เช่น เห็ดเกล็ดตอ หมวกเห็ดเป็นรูปกระทะคว่ำ สีน้ำตาลอมเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-8 เซนติเมตร ผิวมีเกล็ดบาง ๆ ก้านโคนเป็นกระเปาะ มีเปลือกหุ้มดอกอ่อนหลงเหลือให้เห็นเป็นแถบวงกลมซ้อนกัน 2 ชั้น ตอนบนของก้านหมวก มีวงแหวนสีขาวปรากฏให้เห็นและมักหลุดง่าย เห็ดกลุ่มนี้พบมากในป่าสนภาคเหนือ กลุ่มที่ 5 สารพิษของเห็ดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง เคลิบเคลิ้มและหมดสติ แต่ไม่เสียชีวิต เห็ดกลุ่มนี้ไม่พบในประเทศไทย กลุ่มที่ 6 พิษของเห็ดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน อาจถึงวิกลจริต และเสียชีวิตได้ หากบริโภคแต่น้อยจะออกฤทธิ์คล้ายการเสพกัญชา เช่น เห็ดขี้ควาย หมวกเห็ดทรงกระทะคว่ำและแบน เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร สีเหลืองฟางอมเหลือง มีเกล็ดขนาดเล็ก กระจายอยู่ตามขอบหมวก ครีบมีสีน้ำตาลดำ ก้านหมวกยาว 5-8 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร ส่วนโคนใหญ่กว่าส่วนบนเล็กน้อย มีสีฟางข้าว ผิวและเนื้อเห็ดหากถูกทำให้ช้ำหรือเป็นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน เห็ดขี้ควาย จะออกดอกเป็นอิสระกลุ่มละ 4-5 ดอก มักขึ้นอยู่ตามมูลสัตว์ และ กลุ่มที่ 7 สารออกฤทธิ์มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อบริโภคเห็ดชนิดนี้แล้วจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง มีรายงานว่า เคยพบเด็กเสียชีวิตหลังจากบริโภคเห็ดชนิดนี้ พิษของเห็ดจะลดลงเมื่อทำให้สุก เห็ดในกลุ่มนี้ เช่น เห็ดไข่เน่า มีหมวกเห็ดทรงกระทะคว่ำสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-15 เซนติเมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลอ่อน ส่วนชายหมวกงอนขึ้น ครีบมีสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนอมน้ำตาลเมื่อดอกแก่ ก้านหมวกเห็ดทรงกระบอก ผิวเรียบ ยาว 9-12 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-2 เซนติเมตร ตอนบนของก้านมีวงแหวนสีขาวหลงเหลือให้เห็น เนื้อในสีขาว เห็ดไข่เน่าพบขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 ดอก ตามพื้นดินริมทาง หรือสนามหญ้า เห็ดกลุ่มนี้มีพิษทำให้เสียชีวิตได้ พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ วิธีทดสอบเห็ด ว่าจะเป็นเห็ดพิษหรือไม่ ให้ใช้ช้อน หรือปิ่นปักผมที่ทำจากเงินบริสุทธิ์ จุ่มลงในน้ำต้มเห็ด หากเป็นเห็ดพิษร้อน หรือปิ่นปักผมจะเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำทันที แต่ถ้าเป็นเห็ดที่บริโภคได้สีเงินจะไม่เปลี่ยนสี นอกจากนี้แล้วให้สังเกตว่าเห็ดพิษส่วนใหญ่มักมีสีสดใส และฉูดฉาด การปฐมพยาบาล ผู้ป่วยที่บริโภคเห็ดพิษและแสดงอาการชัดเจน ให้ล้วงคอ อาเจียน หรือละลายเกลือ 3 ช้อนชา ในน้ำสะอาด 1 แก้ว ให้ผู้ป่วยดื่ม จะทำให้อาเจียนได้เช่นเดียวกัน แล้วรีบนำส่งตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
อุตรดิตถ์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 337
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM