เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีกำจัดด้วงแรดเจาะยอดมะพร้าว
   
ปัญหา :
 
 
    ผมปลูกมะพร้าวได้ 4 ไร่ หลายปีผ่านมายังไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อต้นมะพร้าวเริ่มให้ผล กลับมีด้วงชนิดหนึ่งมักเข้ามากัดกินยอดทำให้ขาดวิ่น และบางต้นถูกด้วงเจาะยอดถึงตายก็มี จึงขอเรียนถามว่า ด้วงชนิดนี้เป็นชนิดใด มีวงจรชีวิตอย่างไร และจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร ผมขอรบกวนคุณหมอเกษตร ตอบคำถามให้ด่วนด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ด้วงที่กัดยอดมะพร้าว คือ ด้วงแรด เจาะยอดมะพร้าวและเจาะยอดปาล์มน้ำมัน มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก ชนิดนี้พบการกัดกินยอดมะพร้าวทั่วทุกภูมิภาค ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ ด้วงแรด ชนิดลำตัวมีขนาดใหญ่ พบการระบาดมากตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป เนื่องจากชอบเข้ากัดกินยอดปาล์มน้ำมัน ลักษณะการเข้าทำลาย โดยตัวเต็มวัยบินเข้าไปกัดเจาะโคนทางมะพร้าว หรือโคนทางปาล์มน้ำมัน เข้ากัดกินยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันยืนต้นตาย ส่วนต้นที่ไม่ถูกเจาะยอดหรือเจาะเฉียดยอด เมื่อรอดตายจะเจริญเติบโตเป็นยอดขาดวิ่น ใบมีรูปทรงแปลกตา วงจรชีวิต ของด้วงแรดทั้งสองชนิดคล้ายคลึงกัน คือตัวเต็มวัยมีปีกแข็งสีดำ ผิวมันวาว ใต้ท้องสีน้ำตาลแดง ด้วงแรดชนิดเล็ก มีขนาดลำตัวกว้าง 20 มิลลิเมตร และยาว 30 มิลลิเมตร ส่วนด้วงแรดชนิดตัวใหญ่ มีลำตัวกว้าง 25 มิลลิเมตร และยาว 50 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีอายุ 5-9 เดือน เพศผู้และเพศเมียจะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว และวางไข่ลงที่ซากเน่าเปื่อยของต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน หรือกองปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และกองขยะ อยู่ระดับลึกจากผิวดิน 5-15 เซนติเมตร ไข่รูปกลมรี สีขาวนวล ขนาดกว้าง 2-3 มิลลิเมตร และยาว 3-4 มิลลิเมตร ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 10-12 วัน ตัวหนอนมีสีขาว หัวกะโหลกสีน้ำตาลอ่อน ลำตัวยาว 7.5 มิลลิเมตร และกว้าง 2.5 มิลลิเมตร มีขาจริง 3 คู่ กินซากพืชที่ผุพังเป็นอาหาร ช่วงเวลาเป็นตัวหนอนประมาณ 80-150 วัน จากนั้นจึงเข้าระยะดักแด้ ลำตัวมีสีน้ำตาลแดง ขนาดลำตัวกว้าง 22 มิลลิเมตร ยาว 50 มิลลิเมตร ดักแด้ของเพศผู้จะมีรยางค์ขนาดเล็กคล้ายนอแรด ยื่นยาวให้เห็น ส่วนในเพศเมียไม่มีระยะดักแด้ ใช้เวลา 23-28 วัน จากนั้นเป็นช่วงตัวเต็มวัยอีก 90-180 วัน วิธีป้องกันกำจัด ให้หมั่นกำจัดกองขยะ ซากพืช กองมูลสัตว์ให้สะอาด หากไม่สามารถทำความสะอาดได้ แนะนำให้เกลี่ยของซากพืชให้กระจายต่ำลง หนาหรือลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร ทำความสะอาดบริเวณคอต้นมะพร้าว และปาล์มน้ำมัน หากพบเริ่มมีการเข้าทำลายจากด้วงแรด ให้นำทรายหยาบโรยรอบคอต้นมะพร้าว และปาล์มน้ำมันให้ทั่ว หากบริเวณดังกล่าวมีการระบาดรุนแรงให้ป้องกันด้วยเชื้อราเขียว อัตรา 200-400 กรัม คลุกกับซากเน่าเปื่อยของต้นพืชจำนวน 10 ปีบ กองสุมไว้ให้ด้วงแรดลงวางไข่ ภายในเวลา 2 สัปดาห์ ตัวหนอนหรือดักแด้ของด้วงแรดจะตายลงในที่สุด ต้องการรายละเอียด สอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7542 ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
สวี
จังหวัด :
ชุมพร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 337
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM