เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ความแตกต่างระหว่างน้ำบีเอ็มดับเบิลยู น้ำคอมโพซทที และอีเอ็ม
   
ปัญหา :
 
 
    ผมต้องการทราบความแตกต่างระหว่างน้ำบีเอ็มดับเบิลยู น้ำคอมโพซทที และอีเอ็ม ว่าทั้ง 3 ชนิด แตกต่างกันอย่างไร นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร และชนิดใดที่ใช้กับต้นไม้ได้ดีที่สุดครับ
วิธีแก้ไข :
 
    น้ำหรือของเหลวทั้งสามชนิดที่คุณกล่าวถึงล้วนมีจุลินทรีย์เป็นส่วนประกอบสำคัญทั้งสิ้น ผมขอพูดถึงทีละชนิดดังนี้ น้ำบีเอ็มดับเบิลยู (BMW - Bio Mineral Water) แปลให้ตรงตัวเลยก็คือ น้ำแร่จุลินทรีย์ พบโดยบังเอิญของชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่ง เป็นแผลเรื้อรังบริเวณเท้าและแข้ง ที่พยายามรักษาเยียวยาแต่ไม่ยอมหาย อยู่มาวันหนึ่งชายคนเดียวกันออกเดินทางไปพักผ่อนตามป่าเขาในสภาพธรรมชาติ และเดินท่องน้ำไปตามลำธารที่มีน้ำไหลมาจากยอดเขา ใช้เวลาอยู่นานหลายชั่วโมงจนเหนื่อยจึงเดินทางกลับ และปฏิบัติเช่นเดิม อีก 2-3 ครั้ง พบว่าบาดแผลเริ่มมีอาการดีขึ้น ทำให้ต้องกลับมาเดินท่องลำน้ำซ้ำอีกหลายครั้ง จนในที่สุดแผลเรื้อรังที่น่ารำคาญมาหลายปีกลับหายไปอย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยความสงสัย ชายผู้นั้นได้ย้อนกลับไปที่เดิม เพื่อค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ ในที่สุดพบว่า ต้นลำธารสายนั้นมีเศษใบไม้กำลังเน่าเปื่อยจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในธรรมชาติกองทับถมกันอยู่ตามซอกหินภูเขาไฟที่บริเวณชายน้ำ ทำให้มีน้ำเป็นสีชา จึงนำตัวอย่างน้ำและหินภูเขาไฟจากบริเวณดังกล่าวไปศึกษาอย่างละเอียด ทำให้ทราบว่าในน้ำมีจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายใบไม้นั้นเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แทบทั้งสิ้น อีกทั้งหินภูเขาไฟยังเป็นแหล่งปลดปล่อยธาตุอาหารและเป็นที่ยึดเกาะอาศัยของจุลินทรีย์เหล่านั้นด้วย เมื่อค้นพบผลที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงนำเอาหลักการที่ได้มาปรับใช้กับการเกษตร โดยการนำน้ำแร่จุลินทรีย์มาใช้ควบคุมศัตรูพืช และนำมาย่อยสลายอินทรียวัตถุให้อยู่ในรูปที่ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ ปัจจุบันในญี่ปุ่นเริ่มนำมาใช้กันมากแล้ว ส่วนในประเทศไทยได้นำมาทดลองใช้อยู่ที่ สหกรณ์บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ผลิตพืชอินทรีย์ น้ำคอมโพซทที (compost tea) นิยมใช้กันมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรป การเตรียมคอมโพซททีทำได้จาก นำปุ๋ยคอกบรรจุลงในกระสอบป่าน ผูกปากให้แน่นแล้วแช่ลงในน้ำสะอาด ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ น้ำเข้าละลายอินทรียวัตถุที่มีอยู่ในปุ๋ยคอกออกมา เป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เมื่อน้ำมีปริมาณจุลินทรีย์มากพอให้สังเกตจากสีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีชา นับว่าใช้ได้ ให้นำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยวิธีเดียวกับน้ำบีเอ็มดับเบิลยู ทั้งนี้ไม่พบรายงานว่ามีการนำมาใช้ในบ้านเรา แต่นำวิธีดังกล่าวมาใช้เลี้ยงแพลงก์ตอนเท่านั้น ส่วน อีเอ็ม (EM - Effective Micro-oganism) เจ้าของผู้ผลิตให้คำจำกัดความว่า จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ นี่ก็ค้นพบโดยบังเอิญจาก ดร.โทรุโอะ ฮิหงะ อาจารย์ผู้สอนวิชาจุลชีววิทยา ของมหาวิทยาลัยกิวชิว เกาะกิวชิว ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาต้องมีงานวิจัยไปพร้อมกับการสอนนักศึกษา ดร.ฮิหงะ มีงานวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราและแบคทีเรีย หลังเสร็จสิ้นการทดลองได้นำจุลินทรีย์หลายชนิดล้างรวมในภาชนะเดียวกันและนำไปเทราดลงที่โคนต้นไม้ ต่อมาไม่นานประมาณ 2 สัปดาห์ พบว่าต้นไม้ต้นดังกล่าวเจริญเติบโตดีกว่าต้นไม้ต้นอื่น ทำให้เกิดความสงสัย จึงย้อนรอยกลับไปค้นหาเชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดพบว่ามีจุลินทรีย์หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มย่อยสลายอินทรียวัตถุจากรูปที่ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้กลับทำให้อยู่ในรูปที่ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ บางกลุ่มทำหน้าที่กำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค และบางกลุ่มช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นไม้ เมื่อเข้าใจถึงบทบาทของจุลินทรีย์เหล่านั้นอย่างดีแล้ว จึงนำไปพัฒนาด้วยวิธีรวบรวมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จากแหล่งน้ำกว่า 200 แห่ง นำมารวมกันไว้ในสารละลายที่เรียกว่า น้ำพาย (T Water) ที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ให้จุลินทรีย์ 80 ชนิด อาศัยอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้ประเทศไทยยังอยู่ห่างไกลจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกามากมายหลายขุม อีเอ็ม นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้ดี รวมทั้งใช้กำจัดน้ำเสียที่มีกลิ่นเหม็นได้ดี ไม่แพ้กัน หลายปีก่อนผมเคยไปศึกษาดูงาน เกษตรธรรมชาติ คิวเซ ที่สระบุรี ศูนย์แห่งนี้นำจุลินทรีย์ อีเอ็ม มาใช้กับการเกษตรอย่างจริงจัง ผมได้ตัวอย่าง อีเอ็ม มาหนึ่งขวด วางทิ้งไว้หลายเดือน คิดว่าคงเสื่อมคุณภาพแล้ว จึงนำไปเทลงโถส้วมที่อุดตันมานาน ปล่อยทิ้งไว้ 2-3 วัน พบว่าต้องซ่อมส้วมใหม่หมดเพราะพี่แกย่อยสลายตามบริเวณอุดตัน จนท่อยาวจากชั้นบนทะลุหลายแห่งสุดที่จะเยียวยาได้ จึงทำให้พบอิทธิฤทธิ์ของ อีเอ็ม ตัวนี้ แต่ทั้งนี้มิใช่ว่า อีเอ็ม จะดีไปหมด ทุกสิ่งย่อมมีจุดเด่นของตัวเอง การใช้ อีเอ็ม ทางเจ้าหน้าที่จะแนะนำให้ใช้อินทรียวัตถุ ทั้งแกลบดิน ฟางข้าว และปุ๋ยคอก ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อต้นไม้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม จุลินทรีย์ในธรรมชาติที่มีประโยชน์นั้นย่อมมีอยู่ดาษดื่นมากมาย แต่สำคัญที่ว่าเราจะรู้วิธีการนำเขามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ขอให้ท่านย้อนคิดไปถึงเรื่องน้ำบีเอ็มดับเบิลยู ดูซิครับ จุลินทรีย์จากธรรมชาติล้วนๆ ก็ทำประโยชน์ให้กับมวลมนุษย์ได้ เพียงแต่ปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับจุลินทรีย์เพียงเท่านั้นเอง ใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกกับการเกษตร ซึ่งล้วนเป็นแหล่งอาหารที่สามารถเชิญชวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยดีเสมอมา กรณีของการใช้ เชื้อ พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน และไมคอไรซ่า ของกรมวิชาการเกษตร ที่สามารถนำมาใช้กับต้นไม้ได้ ชนิดแรกใช้เป็นหัวเชื้อผลิตปุ๋ยหมัก ชนิดที่สองอาศัยในรากพืชแล้วดูดซับธาตุไนโตรเจนในอากาศให้กับต้นพืชเป็นการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทำให้ผลผลิตของต้นไม้เพิ่มขึ้นได้ จุลินทรีย์ทั้ง 2 ชนิด ล้วนมีอยู่อย่างดาษดื่นในธรรมชาติเช่นเดียวกัน ถามว่าจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดนั้น ชนิดใดใช้ดีที่สุด ผมขอตอบใช้ได้ดีทั้ง 3 ชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าจะนำไปใช้ในแง่ใดเท่านั้นครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จตุจักร
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10900
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 335
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM